เผยแพร่ |
---|
กรมประมง…เปิดเว็บไซต์สำหรั บสืบค้นหมายเลขไมโครชิปปลาตะพั ดที่ได้จากการนำเข้าและเพาะ พั นธุ์ได้ในประเทศไทยอย่างถูกต้ องตามกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ ประกอบการและ ประชาชนทั่ วไปในการสืบค้นข้อมูลปลาตะพัดที่ ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ผู้แทนสหกรณ์ปลาสวยงามแห่งสยาม จำกัด ได้เสนอให้กรมประมงจัดทำฐานข้ อมูลการนำเข้าปลาตะพัดในรู ปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ เพื่อการตรวจสอบว่าเป็นปลาตะพั ดที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำ อย่างผิดกฎหมายอีกทางหนึ่งด้วย

เนื่องจากปลาตะพัด (Scleropages formosus) หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่ าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่ อนประวัติศาสตร์เป็นปลาน้ำจื ดในยุคโบราณมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ ได้รับความนิยมอย่างสูงของนั กเลี้ยงปลาสวยงาม และเป็นปลาสวยงาม – ราคาแพง มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ในปัจจุบันเป็นปลาที่ใกล้สูญพั นธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถู กทำลายไป นอกจากนี้ ปลาตะพัดยังเป็นสัตว์น้ำที่อยู่ ในบัญชี 1 (Appendix I) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่ างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่ าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยระเบียบในการค้าต้องเข้ มงวดเป็นพิเศษ และอนุญาตเฉพาะบางกรณี อีกทั้งปลาตะพัดถูกกำหนดให้เป็ นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพั นธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้ มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโดยมิ ได้รับอนุญาต ดังนี้
1. ห้ามล่า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
2. ห้ามเพาะพันธุ์ (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
3. ห้ามค้า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
4. ห้ามครอบครอง (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
5. ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่าน โดยปลาตะพัดที่จะส่งออกไปต่ างประเทศจะต้องได้มาจากฟาร์มที่ ขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ CITES และต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสั ตว์น้ำ ซึ่งโดยทั่วไปนิยมเครื่ องหมายประจำตัวปลาตะพัดโดยการฝั งไมโครชิป (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

โดยปัจจุบันตลาดค้าปลาตะพัดมี แนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจึงมี การนำเข้าปลาตะพัดจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุ มปลาตะพัดและสามารถตรวจสอบได้ กรมประมงได้มีการจัดประชุมหารื อแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ าปลาตะพัด ในประเด็นการจัดทำฐานข้อมู ลออนไลน์ ซึ่งกรมประมงได้จัดเตรียมข้อมู ลหมายเลขไมโครชิปปลาตะพัดที่ได้ จากการนำเข้า และเพาะพันธุ์ในประเทศไทยตั้ งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน และดำเนินการหาแนวทางการจั ดทำฐานข้อมูลปลาตะพัดนำเข้ าแบบออนไลน์ โดยในการพัฒนาเว็บไซต์ในครั้งนี้ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่ างกรมประมง ผู้แทนสหกรณ์ปลาสวยงามแห่งสยาม จำกัด และผู้แทนผู้ค้าปลาตะพัดมาอย่ างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน เว็บไซต์ฐานข้อมูลดั งกล่าวได้เปิดให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบ และประชาชนที่สนใจสามารถเข้ าไปสืบค้นข้อมูลหมายเลขไมโครชิ ปปลาตะพัดนำเข้า และเพาะพันธุ์ในประเทศที่ได้ มาถูกต้องตามกฎหมาย บนเว็บไซต์ https://arowana.fisheries.go. th กรมประมง หรือสามารถสแกน QR code ตามที่ปรากฏด้านล่างนี้