เผยแพร่ |
---|
นายชาญณรงค์กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน บ้านหนองจิก ตั้งอยู่บนพื้นที่ 20 ไร่ ภายในสวนมีการปลูกพืชเศรษฐกิจประเภทไม้ยืนต้น ไม้ประดับ และพืชผลทางการเกษตรกว่า 10 ชนิด ประกอบด้วย จันทร์ผา ยางนา มะค่าโมง ประดู่ มะปราง สัก พริกไทย มะนาวแป้นลำไพ ผักกูด ผักเหลียง เป็นต้น ทำเป็นเกษตรอินทรีย์มานานกว่า 10 ปีแล้ว
“การเกษตรที่นี่เริ่มด้วยการปลูกมะละกอ เนื่องจากเป็นไม้ล้มลุกในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและมีความนิยม เน้นใช้สารเคมีเป็นหลัก แต่ไม่นานก็เกิดปัญหาสารตกค้างในผลผลิต ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน จากนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ จึงได้นำทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงดัดแปลงในไร่ ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์จากฟาร์มที่ไม่ใช้สารเคมี ส่วนแหล่งน้ำใช้มีการกักเก็บน้ำขึ้นมาเอง ไม่มีสารปนเปื้อน ผลผลิตจึงมีคุณภาพเกิดความปลอดภัย ไร้สารตกค้าง มีความสมบูรณ์ และมีสมดุลทางชีวภาพ พร้อมจัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของชุมชนภายในท้องถิ่น” นายชาญณรงค์กล่าว
ด้านนางยุวดีกล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีนโยบายด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดโครงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ในทฤษฎีเกษตรอินทรีย์และเกษตรแบบผสมผสาน นำไปสู่การลดใช้สารเคมีในพื้นที่ของตนเอง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพจนเกิดการเลิกใช้สารเคมีในที่สุด
นายพานิชย์กล่าวว่า จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ในฐานะสื่อเทคโนโลยีชาวบ้าน ตนจะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ทฤษฎีการเกษตรอินทรีย์และการเกษตรแบบผสมผสาน รวมถึงการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานปราศจากสารเคมี และเกิดความปลอดภัยสู่ผลิตและผู้บริโภคต่อไป