คนทุ่งกุลาร้องไห้ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด แนะการป้องกันกำจัดหนูนา

คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ท้องทุ่งกุลาร้องไห้เพื่อตรวจติดตามการปลูกข้าวนาปี 2560 ฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้แปลงนาที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง ส่วนแปลงนาในที่ดอน ความชุ่มชื้นจะพอเหมาะพอดี  ชาวนาส่วนใหญ่จะทำนาหว่านสำรวยหรือ นาหว่านข้าวแห้ง โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำตำบล ออกรณรงค์การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พอเหมาะพอดี จากอัตราที่เกษตรกรเคยใช้ 25-30 ก.ก./ไร่ เหลือ 12-15 ก.ก./ไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและให้รวมกลุ่มกันจัดจ้างรถแทรกเตอร์ไถหว่าน เพื่อการลดต้นทุนลง หลังหว่านข้าวแห้ง เรียบร้อยแล้ว “ศัตรูพืช” ที่สำคัญคือ “หนูนา” เป็นปัญหาหลักของเริ่มต้นฤดูกาลทำนา

เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ชาวนาควรป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน  ใช้กับดัก  บ่วง แร้ว  ทำความสะอาดคันนาให้โล่งเตียน ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของหนูได้ หรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือศัตรูธรรมชาติ เช่น งู นกฮูก เหยี่ยว ที่เป็นมิตรแท้ของชาวนา คอยจับกินหนูทั้งกลางวัน กลางคืน สุดท้ายคือการใช้สารเคมี

ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ คุณอภิฉัตร ภูสนาม ผญบ.หมู่ที่ 5 ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ บอกว่า มีวิธีหลอกให้หนูขุดคุ้ยหาเหยื่อพิษ โดยชาวนานำข้าวสารคลุกกับ “สารเคมีฆ่าหนู” ยาดำหรือซิงฟอสไฟด์ ผสมกับข้าวสาร หากวางบนพื้นที่ทั่วไป หนูไม่ยอมกินเหยื่อพิษ วิธีการคือ นำข้าวสารที่ผสมเหยื่อพิษแล้ว ขุดเป็นหลุมฝังกลบลึกประมาณ 1-2 ข้อมือ จากนั้นนำแกลบดิน มาโรยบางๆบนผิวดิน หนูเป็นสัตว์ศัตรูพืชที่ชอบขุดคุ้ย  พอมาพบ “แกลบ” ไม่สมารถกินได้  จะขุดคุ้ยหาอาหารใต้ผิวดินทันที พบข้าวสารที่ผสมเหยื่อพิษ  จะพากันกินและ หนูจะตายในที่สุด สาเคมีที่ใช้ให้เป็นประเภท “ออกฤทธิ์ช้า เมื่อกินสารพิษ เกิดอาการ้อนวูบวาบ วิ่งไปกินน้ำ สารออกฤทธิ์ รุนแรง หนูจะตายทันที หากเดินทางรอบคันนา ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เห็นแกลบวางเป็นหย่อม นั่นคือ จุด “ฆ่าหนูครับ”