ประธานคณะผู้บริหาร ซีพี ยก Food security ฝ่าพายุความเปลี่ยนแปลง

งานสัมมนา PRACHACHAT BUSINESS FORUM #ฝ่าพายุความเปลี่ยนแปลง เวทีสัมมนาที่เปิดโอกาสให้บุคคลผู้มีบทบาทในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ มาร่วมแสดงความคิดเห็น แบ่งปันวิธีคิด กลยุทธ์ ประสบการณ์การดำเนินงาน ตลอดจนมุมมองเพื่อประเทศไทย

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

จากงานสัมนาครั้งนี้มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ The new chapter ธุรกิจไทย (ในวันที่โลกไม่เหมือนเดิม) 

จากยุคเศรษฐกิจ 4.0 ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ 5.0 ซึ่งเป็นความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่น้อย ในช่วงปี 2023-2030 โดยมีความเปลี่ยนแปลงระดับโลก ทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้

  1. ความเหลื่อมล้ำ Inclusive capital ทุกการขับเคลื่อนความเสมอภาค ขับเคลื่อนเศรษฐกิจกระจายรายได้ และการเข้าถึงปัจจัย 4+4
  1. ปฏิรูปดิจิทัล Digital Transformation อาชีพและอุตสาหกรรมใหม่ถูกทดแทน
  1. ความผันผวนภูมิอากาศ Climate Change เป้า Net Zero โลกปี 2050
  1. ขั้วอำนาจเศรษฐกิจ การเกาะกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจและกำลังทหาร การสู้รบ
  1. พฤติกรรมผู้บริโภค อีคอมเมิร์ซจีน 33% เกาหลี 25% ไทย 11%
  2. สุขภาพมนุษย์ วิกฤตโรคระบาด การเข้าสู่สุขภาพเชิงป้องกันทั่วทุกบ้าน

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวถึง วิวัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมสู่ยุค 5.0 “เรารู้ถึงปัญหาถึงการเชื่อมโยงของความยั่งยืน ดังนั้น ถ้าเราสามารถที่จะผนวกเอา 3 เรื่องนี้เข้าด้วยกัน ที่เป็น agenda ของโลก เรื่องความยั่งยืน เรื่องทรัพยากรมนุษย์ เรื่องของเทคโนโลยี ก็จะสามารถเข้าสู่ยุค 5.0 ได้” 

ต่อมาอีกหัวข้อที่น่าสนใจคือ การขับเคลื่อนประเทศและธุรกิจยุค 5.0 ซึ่งมีหัวข้อย่อยทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้

  1. ท่องเที่ยง และ Soft Power 
  2. เกษตร Food security
  3. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตและการส่งออก
  4. Tech Education Hub & Smart city

ซึ่งหนึ่งในนั้นมีหัวข้อเรื่อง เกษตร Food security  ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายๆ คน ให้ความสนใจเพื่อฝ่าพายุความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก่อนอื่นจะพาไปทำความรู้จักว่า Food security คือ ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางอาหารตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดความหมายว่า “สภาวะที่คนทุกคนและทุกขณะเวลามีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจที่สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารเพื่อให้เกิดชีวิตที่มีพลังและมีสุขภาพ” แบ่งความหมายด้านความมั่นคงออกเป็น 4 ด้าน

  1. ความพอเพียง ของปริมาณอาหารที่อาจได้มาจากการผลิตภายในประเทศ หรือ การนำเข้า รวมถึงความช่วยเหลือด้านอาหาร 
  2. การเข้าถึง ทรัพยากรที่พอเพียงของบุคคล เพื่อได้มาซึ่งอาหารที่เหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการ 
  3. การใช้ประโยชน์ ด้านอาหารผ่านอาหารที่เพียงพอ น้ำสะอาด และการรักษาสุขภาพ และสุขอนามัย เพื่อที่จะเข้าถึงภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทางโภชนาการ 
  4. เสถียรภาพ ประชาชน ครัวเรือน และบุคคลจะต้องเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ตลอดเวลา ไม่ต้องเสี่ยงกับการไม่สามารถเข้าถึงอาหารอันเป็นผลมาจากวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน

ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนานาประเทศอย่างมาก จุดมุ่งหมายที่จะให้ ความสำคัญแก่ประเด็นที่ว่าจะผลิตอาหารให้เพียงพอต่อผู้บริโภคได้อย่างไร มีการทำเกษตรแผนใหม่เข้ามาปรับใช้กับการพัฒนาด้านเกษตร ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากการเกษตรแบบยั่งยืนไปเป็นการทำเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม

Advertisement

มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พันธุ์พืชใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง การ ชลประทาน เพื่อให้ปลูกพืชได้ในฤดูแล้ง หรือสามารถผลิตได้ในทุกช่วงเวลาและมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้ สารเคมีทางการเกษตร สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาช่วยในการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ในปริมาณมาก

อีกทั้ง ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยึดมั่นในปรัชญาสามประโยชน์สู่ความยั่งยืน ตามดำริของประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ มองประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท เป็นแนวทางขับเคลื่อนองค์กร มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีโภชนาการ และรสชาติอร่อย ให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก 

Advertisement

#สัมมนา #สัมมนาประชาชาติ  #PRACHACHATBUSINESSFORUM #Foodsecurity

ขอบคุณข้อมูล : กรมปศุสัตว์