ที่มา | เก็บมาเล่า |
---|---|
ผู้เขียน | เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
เผยแพร่ |
ในช่วงฤดูร้อน สภาพอากาศร้อนแล้งและมีภาวะอากาศแปรปรวน ส่งผลโดยตรงต่อสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ปีก สัตว์กีบคู่ และสัตว์น้ำ หากดูแลไม่ดีและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สัตว์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้อย่างกะทันหันส่งผลให้สัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงเกิดเจ็บป่วยและล้มตาย เกษตรกรจึงควรเตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
สัตว์ปีก โรคระบาดในสัตว์ที่มักจะพบบ่อยในช่วงฤดูร้อน ได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ โรคบิด และโรคที่เกิดจากสารพิษจากเชื้อราในอาหาร
สัตว์กีบคู่ โรคระบาดที่พบ ได้แก่ โรคอหิวาต์ในสุกร โรคท้องเสียติดต่อ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
สัตว์น้ำ “ฤดูร้อน” มักเกิดความเสียหายขึ้นในกับสัตว์น้ำได้ง่ายและรุนแรง ด้วยปัจจัยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงกลางวัน แต่อาจมีพายุฝนในช่วงบ่าย น้ำในแม่น้ำไม่มีการไหลเวียน เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดต่างๆ ได้ง่าย เช่น ปลานิล เกษตรกรควรเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำเปิดหลีกเลี่ยงการเลี้ยงในแหล่งน้ำตื้น อัตราการไหลของน้ำมีน้อย หรือเป็นจุดตกตะกอน แหล่งน้ำที่ใช้วางกระชังปลาต้องเป็นน้ำสะอาดมีกระแสน้ำไหลดีตลอดเวลาไม่ต่ำกว่า 15 เมตรต่อนาที และต้องลดปริมาณปลาที่เลี้ยงลงเหลือ ร้อยละ 60-70 จากภาวะปกติ เพื่อให้ปลาอยู่สบายไม่แออัด ช่วยลดความเครียดที่จะเกิดขึ้น
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี