ที่มา | เก็บมาเล่า |
---|---|
ผู้เขียน | นพรัตน์ โชติเกษมกุล |
เผยแพร่ |
มะขามคางคกผลไม้ไร้ค่านักเรียนนำมากินพักเที่ยงสู่แยมนางอายที่อร่อยคว้ารางวัลระดับเหรียญทอง ในการแปรรูปอาหาร ระดับชั้น ป.4-ป.6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่72ระดับประเทศ ที่ผ่านมา
วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่โรงเรียนบ้านโคกทรายตำบลโพรงจระเข้ อำเภอ ย่านตาขาว จังหวัดตรัง พบกับเด็กหญิงวราภา ผ่อนย่อง ป.6 เด็กหญิงโชติมณี นาง ป.6 และเด็กหญิงกัญญาวีร์ ศรีนวล ป.5 พร้อมกับคุณครูพาผู้สื่อข่าวไปเก็บผลมะขามคางคกที่สวนหลังโรงเรียนและหลังบ้านของนักเรียนเอง เพื่อจะนำมาแปรรูปเป็นแยมนางอาย
ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับ ” มะขามคางคก” ผลไม้พื้นถิ่นภาคใต้พบในจังหวัดตรัง สตูล ภาคใต้เรียก นัมนัม มังคะ หล่ำหล่ำ ชื่ออื่น ๆ คือ มะเปรียง,อัมพวา, นางอาย (กรุงเทพฯ ), บูรานัม (ภาคกลาง), และ หีหมา (ปัตตานี)
มะขามคางคก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางพบมากทางภาคใต้และภาคกลางของประเทศไทย เป็นไม้โตค่อนข้างช้าไม่สูง อายุประมาณ2-4ปีจะเริ่มให้ผลผลิตบริเวณโคนต้น ผลมีขนาดเท่าข้อมือ ผลมีรูปร่างคล้ายกับมะม่วงแต่แบนกว่า ผิวเปลือกด้านนอกมีสีเทาปนเขียว ลักษณะขรุขระ ผลดิบมีรสชาติคล้ายมะม่วงดิบ ผลสุก มีสีเหลือง รสเปรี้ยวอมหวานชุ่มคอ ใช้รับประทานสด หรือนำไปต้มน้ำตาล หรือทำสลัดผลไม้ ทำน้ำพริก จิ้มพริกเกลือก็อร่อยมาก เปลือกต้นและรากใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเลือด รักษาโรคมะเร็ง เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ
ด้วยแนวคิดของนางสาวปิยะดา ทองขวิด ครูน้ำ ครูประจำชั้น ป.1 ที่ได้กินมะขามคางคกที่เด็กนักเรียนเอามากินที่โรงเรียนตอนพักเที่ยง รู้สึกชอบในรสชาติและเนื้อสัมผัส จึงได้ศึกษาและทดลองแปรรูปมะขามคางคกเริ่มต้นจากการทำน้ำมะขามคางคก จี๊ดจ๊าดมะขามคางคก แยมมะขามคางคก สุดท้ายแล้ว แยมมะขามคางคกเป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดาคุณครูและนักเรียนมากที่สุด เลยมีการทำแยมมะขามคางคกขึ้นออกแข่งขันและให้นักเรียนขายเป็นรายได้เสริมระหว่างเรียน
การทำแยมมะขามคางคกก็เริ่มด้วยการนำมะขามคางคกมาล้างและปอกเปลือกออกผ่าซีกเอาเมล็ดออกล้างและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆก่อนจะตั้งไฟแล้วต้มด้วยไฟกลาง 20 นาที ก็จะได้เนื้อมะขามคางคกที่นิ่มก่นจะปรุงด้วยน้ำตาล น้ำตาลโตนด เกลือ และผงเพคตินสำหรับทำแยม ตามสูตรของครูน้ำ จากนั้นเคียวด้วยไฟอ่อนอีก 5 นาทียกขึ้นจากเตาและตักบรรจุขวดทันที เพื่อให้ชื่อแยมคางคกชวนรับประทานครูน้ำได้ตั้งชื่องใหม่ว่า “แยมนางอาย”ซึ่งใครๆที่ได้ยินต่างก็ต้องร้องว้าว เอ๊ะ อะไรนะ แยมนางอาย
แยมนางอายทำมาทากับขนมปังปิ้งร้อนจะอร่อยมาก เพราะจะได้รสสัมผัสของความกรอบจากขนมปัง ความหวานอมเปรี้ยวของมะขามคางคก และกลิ่นหอมเฉพาะของมะขามคางคกชวนให้น่ารับประทางยิ่งทานคู่กับน้ำชา หรือกาแฟร้อนๆก็จะเข้ากันมาก
นางสาวปิยะดา ทองขวิด ครูน้ำ กล่าวว่า ตนเองเกิดแนวคิดจากที่นักเรียนนำผลมะขามคางคกมารับประทาน จากการสอบถามนักเรียนจะเรียกว่ามะขามคางคกเดิมครูไม่รู้จักว่าเป็นผลอะไรเลยไปค้นหาจึงทราบว่า มะขามคางคก ว่ามีชื่อ นางอาย นัม นัม อัมพวา ครูเลยคิดว่าน่าจะแปรรูปเป็นแยมได้จึงได้ทดลองทำดูก็ประสบผลสำเร็จ
ดูจากผลของมะขามคางคกไม่น่าดูไม่น่ารับประทานผิวขุขระสีน้ำตาลออกเหลือง เลยเป็นเป็นชื่อ แยมนางอายดูน่รักและน่ารับประทานมากขี้น และได้เข้าร่วมประกวดคว้ารางวัลระดับเหรียญทอง ในการแปรรูปอาหาร ระดับชั้น ป.4-ป.6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 72 ระดับประเทศ
นอกจากทำแยมแล้วก่อนหน้านี้ครูก็ได้นำมะขามคางคกมาทำน้ำพริกแช่อิ่ม จี๊ดจ๊าด น้ำมะขามสด และจะบูรณาการกับวิชาเกษตรให้นักเรียนเพาะชำต้นกล้ามะขามคางคกขาย เพื่อให้นักเรียนนำผลมะขามคางคกมาทำแยมขายสร้างรายได้ระหว่างเรียน ส่วนใครสนใจที่นะอุดหนุนแยมนางอายของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกทรายติดต่อได้ที่ครูน้ำ 093 019 3949 หรือที่เพจโรงเรียนบ้านโคกทราย.