เปิดวิธีการขอหลักประกันไม้ยืนต้น เป็นหลักประกันธุรกิจ ขอกู้ธนาคาร ทำง่าย ได้เงินจริง

เปิดวิธีการขอหลักประกันไม้ยืนต้น เป็นหลักประกันธุรกิจ ขอกู้ธนาคาร ทำง่าย ได้เงินจริง
เปิดวิธีการขอหลักประกันไม้ยืนต้น เป็นหลักประกันธุรกิจ ขอกู้ธนาคาร ทำง่าย ได้เงินจริง

เปิดวิธีการขอหลักประกันไม้ยืนต้น เป็นหลักประกันธุรกิจ ขอกู้ธนาคาร ทำง่าย ได้เงินจริง

ย้อนกลับไป หลักประกันไม้ยืนต้น เกิดขึ้นจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 เพื่อผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าสูงในที่ดินกรรมสิทธิ์ เป็นเสมือนการออม เพราะต้นไม้จะกลายเป็นหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินได้ เช่นเดียวกับบ้าน ที่ดิน รถ

อีกด้านหนึ่งไม้มีค่าเหล่านี้ยังสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดความคุ้มค่าได้มากขึ้นแทนที่จะปล่อยที่ดินว่างเปล่าไว้ และที่สำคัญการปลูกต้นไม้ยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

ไม้ยืนต้นรับหลักประกัน

เมื่อทุกฝ่ายเห็นชอบเดินหน้าผลักดันให้มีการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันได้ตามกฎกระทรวง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ ช่วยกันขับเคลื่อนและผลักดันในเรื่องนี้

โดย ธ.ก.ส. นับเป็นธนาคารแห่งแรกที่รับ “ไม้ยืนต้น” เป็นหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ

วิธีการขอหลักประกันไม้ยืนต้น
ประชาชนที่ต้องการที่จะนำไม้ยืนต้นเข้าหลักประกันนั้น ก็ต้องผ่านหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. นำข้อมูลมายื่นจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
2. ธ.ก.ส. จะเป็นฝ่ายประเมินราคา

Advertisement

ทั้งนี้ คุณสมบัติของเกษตรกรที่ประสงค์จะกู้เงินโดยใช้ไม้ยืนต้นที่มีค่ามาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจะต้องเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. และเป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โครงการธนาคารต้นไม้ ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

ต้นไม้แบบใดจะเข้าเงื่อนไขหลักประกันทางธุรกิจ
ต้นไม้ที่จะเข้าเงื่อนในการขอหลักประกันทางธุรกิจ มี 58 ชนิด ประกอบด้วย ไม้สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา)

Advertisement

สะเดา สะเดาเทียม ตะกู ยมหิน ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร)

แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม

แต่ประเภทไม้ยืนต้นที่ได้รับความนิยมในการยื่นขอหลักประกัน สินเชื่อ ได้แก่

1.ธนาคาร ธ.ก.ส. ส่วนใหญ่จะรับเป็นต้นไม้ ประเภท ต้นมะขาม มะกอกป่า สะเดา มะม่วง ยาง สัก เป็นต้น
2.ธนาคารกรุงไทย : ไม้สัก
3.พิโกไฟแนนซ์ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประเภท ต้นยาง ยางพารา ต้นขนุน ต้นยูคาลิปตัส ต้นสัก ไม้สกุลทุเรียน เป็นต้น

สำหรับต้นไม้ยืนต้นที่จะเข้าร่วมการใช้หลักประกันจะต้องผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เบื้องต้น ดังนั้น

1.ต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป มีลำต้นตรง 2 เมตร วัดเส้นรอบวงที่ความสูง 130 เซนติเมตรจากพื้นดิน
2.ต้องมีขนาดเส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร

เชื่อได้ว่าวันนี้ประชาชนจะเริ่มวางแผนการออมด้วยการปลูกต้นไม้ เพราะนอกจากจะได้หลักประกันทางธุรกิจแล้วยังจะได้ดอกผลไว้รับประทานอีกด้วย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ