สุดยอดนวัตกรรมเกษตรสร้างอาชีพและรายได้ ใน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567”

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ได้ร่วมกันจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 Thailand Research Expo 2024” ซึ่งเป็นเวทีสำคัญระดับประเทศ นำเสนอผลงานวิจัย ความก้าวหน้าของงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ประโยชน์ ทั้งในภาคการประชุมและภาคนิทรรศการเป็นประจำทุกปี สำหรับปีนี้ มีการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรจำนวนมากที่ช่วยสร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น

1. ผลงาน : “นวัตกรรม R-Jel และ AA-rice”

กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอผลงาน : “นวัตกรรม R-Jel และ AA-rice” สำหรับข้าวไทยในยุค BCG เทคโนโลยีการจัดการศัตรูข่าวหลังการเก็บเกี่ยว และการประเมินคุณภาพข้าวโดยไม่ทำลายตัวอย่างอยู่ระหว่างทดลองในพื้นที่ สำหรับนวัตกรรมเครื่อง AA- rice เป็นเครื่องมือที่กรมการข้าวพัฒนาขึ้นมาเพื่อประเมินปริมาณอะมิโลสในข้าว เป็นตัวแบ่งประเภทข้าวนุ่ม ข้าวแข็ง หากค่าอะมิโลสสูง คุณภาพข้าวเมื่อหุงสุกออกมาจะแข็ง ร่วน ถ้าค่าอะมิโลสต่ำ ข้าวเมื่อหุงออกมาจะนุ่ม เหนียว ตัวเครื่อง AA- rice มีขนาดเล็ก (120x132x75 มิลลิเมตร) ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้นาน 7 ชั่วโมง สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก เครื่อง AA-rice ควบคุมการทำงานของเครื่องผ่านโทรศัพท์มือถือในระบบปฏิบัติการแอนดรอยส์ โดยสามารถประเมินปริมาณอะมิโลสในตัวอย่างข้าวได้ถูกต้อง 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาเพียง 1 นาทีต่อตัวอย่าง ทำให้ไม่ใช้สารเคมีและไม่ทำลายตัวอย่างข้าว

ส่วนนวัตกรรม R-Jel เป็นเจลน้ำมันหอมระเทยที่สกัดจากโหระพา ขึ้นรูปเป็นก้อนเจลขนาดเล็ก มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยโหระพา, Corrageenan, Triethanolamine (TEA), Propylene glycol. Propyl paraben และน้ำกลั่น สามารถเก็บรักษาได้ในตู้เย็น ใช้กับเครื่องรมเจลแบบไร้สายโดยมี timer เป็นตัวควบคุมเวลาในการรม ผลการทดสอบ R-JeI เจลโหระพาในโรงเก็บข้าวเปลือก พบว่า ข้าวเปลือก 1 ตัน ที่ผ่านการรมเจลโหระพาสามารถลดการเข้าทำลายของมอดได้ 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับข้าวเปลือกที่ไม่ได้รมเจล R-Jel

2. ผลงาน : การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพกล้วยไข่เพื่อเพิ่มมูลค่าพืชอัตลักษณ์เมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ บัวเทศ และคณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ทั้งนี้ “กล้วยไข่กำแพงเพชร” เป็นพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่นกำแพงเพชร ที่มีการปลูกจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นยาวนานมากกว่า 100 ปี บนพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแร่ไมกา โดยกล้วยไข่ตัดตามกำหนด 70-75 วัน หลังดอกบาน ทำให้กล้วยสุกเท่ากันทั้งลูก รสชาติเป็นเอกลักษณ์ หวานหอมขึ้นจมูก เนื้อแน่นละเอียด ละมุนลิ้น ปลอดภัยจากสารเคมี มีการรับรอง GI ดีต่อสุขภาพ มีเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอความชรา มีสารต้านมะเร็ง ป้องกันโรคต้อกระจก มีวิตามินบี ซี และอี ช่วยบำรุงระบบประสาท

Advertisement

กล้วยไข่กำแพงเพชร ช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้ชุมชนอิ่มท้อง ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันอนุรักษ์พืชอัตลักษณ์ชนิดนี้ให้คงอยู่กับจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพกล้วยไข่ ประกอบด้วย 1. กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับการพัฒนาคคุณภาพกล้วยไข่ 2. การใช้จุลินทรีย์แก้ไขปัญหาโรคและแมลงของกลัวยไข่ 3. ต้นแบบการใช้ Windbreak ในการป้องกันลมพายุ และ 4. การวิเคราะห์ต้นทุนและการเพิ่มโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการกลัวยไข่ในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตกล้วยไข่ที่ไม่ได้คุณภาพ โรคและแมลงที่เกิดขึ้นกับกล้วยไข่ และปัญหาเรื่องลมพายุที่ทำให้ผลผลิตเสียหายส่งผลกระทบต่อการปลูกกล้วยไข่ซึ่งจะสามารถทำให้ได้ผลผลิตกลัวยไข่มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มผลผลิต และลดการสูญเสียจากภัยธรรมชาติ นำไปสู่การกำหนดกรอบนโยบายในการพัฒนากล้วยไข่ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาคุณภาพกล้วยไข่ได้มาตรฐานตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค

3. ผลงาน : การพัฒนาพันธุ์อโกลมีมาด้วยรังสีแถมมาเพื่อประโยชน์ทางการค้า

Advertisement

โดย ดร.วุฒิพงษ์ แปงใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมุ่งศึกษาวิจัย อโกลนีมา (Aglaonema) สกุลของพืชไม้ประดับที่มีความสวยงามที่ใบ โดยได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งไม้ประดับ” เป็นลำดับพืชที่มีมากกว่า 100 ชนิด ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้สีสันสวยงาม นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม และจัดเป็นไม้มงคล มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ภาษาไทยที่สื่อความหมายทางโชคลาภ เช่น กวักมหามงคล บัลลังก์ทับทิม บัลลังก์ทอง เพชรน้ำหนึ่ง เป็นต้น

4. ผลงาน : ชอล์กสมุนไพรไล่มด (Herbal seashell chalk to repel ants)

โดยทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ประกอบด้วย นางสาวสิรินดา อาจทำ ดร.อาภากร เปรี้ยวนิ่ม และ นางสาวสาธิตา ยิ้มแย้ม เนื่องจากมดเป็นสัตว์เล็กที่กัดแล้วทำให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวหนัง อาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบโดยเฉพาะผู้ที่ถูกมดกัดเป็นเด็กและผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชอล์กสมุนไพร ในการป้องกันมดระยะทางที่เหมาะสมในการขีดชอล์ก และความเสถียรของประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิด โดยดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันมดคันไฟ ระยะทางที่เหมาะสมและความเสถียรของประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของชอล์กสมุนไพร 4 สูตร ได้แก่ สูตรพริก สูตรอบเชย สูตรขมิ้นชัน สูตรยูคาลิปตัสตั้งแต่เวลา 15-60 นาที ผลการทดสอบพบว่า ชอล์กสมุนไพรทั้ง 4 สูตร สูตรมีประสิทธิภาพในการป้องกันมดได้ 85-98 เปอร์เซ็นต์ โดยชอล์กสูตรพริกมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถป้องกันมดได้ถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะรัศมี 5 เซนติเมตรจากจุดกึ่งกลางของแหล่งอาหาร และมีความเสถียรของประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ที่ระยะเวลา 60 นาที การเกิดผลมดคันไฟ ซอล์กสมุนไพร ชอล์กป้องกันมด จึงมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด/ขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

5. ผลงาน :  ผลิตภัณฑ์ชาดอกเข้าพรรษา โดยทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ประกอบด้วย

ดร.นพรัตน์ น้อยเจริญ และ ดร.สยาม อัจฉริยประภา ทีมนักวิจัยเล็งเห็นว่า ดอกเข้าพรรษาหรือดอกหงส์เหิน เป็นดอกไม้สำคัญประจำจังหวัดสระบุรี ที่นิยมนำมาสักการะบูชาพระในเทศกาลเข้าพรรษา หลังผ่านเทศกาลดังกล่าวแล้ว ดอกไม้ที่ไหว้พระกลับถูกทิ้งไป เพื่อเป็นการลดปัญหาขยะที่เกิดขึ้น จึงนำดอกเข้าพรรษาที่จะถูกทิ้งนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ชาดอกเข้าพรรษา หรือชาดอกหงส์เหิน และส่งเสริมความรู้ในการเพาะปลูกให้มีจำนวนมากขึ้น เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้คนชุมชนมีรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้ช่วยแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่คนในชุมชนในอนาคต

6. ผลงาน : นวัตกรรมการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าครบวงจร สู่การยกระดับอาชีพและรายได้ชาวนาไทย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนทุนดำเนินงานวิจัยชุดโครงการ “การผลิตและแปรรูปข้าวระยะเม่า พันธุ์ขาวดอกมะลิ105 และทับทิมชุมแพ (กข69) สู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่น” ผลการศึกษาพบว่า ข้าวหอมมะลิระยะเม่าเป็นข้าวที่ยังไม่แก่เต็มที่ ซึ่งผ่านระยะน้ำนมมาประมาณ 2 สัปดาห์ อยู่ในระยะแป้งอ่อน (Dough stage) มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย โฟแลต เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ไนอะซิน และมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ให้ผลเชิงสุขภาพดีกว่าข้าวระยะเม่าทับทิมชุมแพ และข้าวกล้องทั่วไป รวมทั้งสามารถใช้เป็นแหล่งคาร์โบโฮเดรตทดแทนควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิระยะเม่านั้น เป็นข้าวน้ำตาลต่ำ สามารถใช้เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตทดแทนในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมตาบอลิก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ตั้งครรภ์หรือประชาชนที่ต้องการรักษาสุขภาพทั่วไปได้

ผศ.ดร.วาสนา ภานุรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ในปี 2563 ได้ดำเนินโครงการวิจัยต่อเนื่อง “การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะและสมาร์ทฟาร์มเมอร์ด้วยกลไกสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ จังหวัดนครราชสีมา” เพื่อพัฒนาระบบการผลิตที่เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจหรือสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ที่มี ช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ยกระดับการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าระบบเกษตรอัจฉริยะและสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สร้างแบรนด์สัญลักษณ์ รวมถึงการจัดทำแผนธุรกิจการตลาด เพื่อให้เห็นการพัฒนาทั้งระบบของการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดนครราชสีมา เพื่อการขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ

ช่วงปี 2560-2563 มีกลุ่มผู้บริโภคข้าวหอมมะลิระยะเม่าเพิ่มมากขึ้น หากประเมินจากความต้องการด้านการตลาดแล้ว จำเป็นจะต้องผลิตได้เฉลี่ยปีละ 45 ตันข้าวเปลือกเป็นอย่างต่ำ นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดศรีสะเกษ ช่วยยกระดับและเพิ่มรายได้ในการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่า นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในทุกภาคส่วนของการพัฒนา