อุตสาหกรรม ‘มะม่วงหัวผิง’ ในยูนนาน สร้างเม็ดเงินนับพันล้านหยวน

(240920) -- HUAPING, Sept. 20, 2024 (Xinhua) -- A farmer picks mangoes in Huaping County, southwest China's Yunnan Province, Aug. 20, 2024. TO GO WITH "Across China: Mango industry bears fruit in southwest China county" (Photo by Zhou Yonghua/Xinhua)

(ซินหัว) — ต้นมะม่วงผลดกงอกงามทั่วพื้นที่ภูเขาในอำเภอหัวผิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กำลังส่งกลิ่นหอมลอยไปตามสายลมในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง ขณะที่เหล่าชาวสวนง่วนอยู่กับการตัดกิ่ง บรรจุลงหีบห่อ และลำเลียงผลมะม่วงขึ้นรถบรรทุกส่งไปยังด้านล่างภูเขา

หลัวฉิง ตัวแทนจำหน่ายมะม่วงท้องถิ่น กล่าวว่าเดือนกรกฏาคม-ตุลาคมของแต่ละปีเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บเกี่ยวมะม่วงหัวผิงหลากสายพันธุ์ เราได้รับคำสั่งซื้อจากเซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง และกว่างตง (กวางตุ้ง) หรือแม้กระทั่งสิงคโปร์ และได้เพิ่มกำลังแรงงานเมื่อไม่กี่วันมานี้เพื่อรับประกันว่าจะส่งมอบได้ตรงเวลา

อำเภอหัวผิง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณช่วงแม่น้ำจินซาตอนกลางในอวิ๋นหนาน มีแสงแดดและปริมาณน้ำฝนที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การผลิตมะม่วงพันธุ์สุกช้า

เมื่อปีก่อน พื้นที่เพาะปลูกมะม่วงในอำเภอหัวผิงเพิ่มขึ้นเป็น 459,000 หมู่ (ราว 191,000 ไร่) ซึ่งออกลูกสดใหม่ 440,000 ตัน และมีมูลค่าผลผลิตการเกษตร 2.86 พันล้านหยวน (ราว 1.34 หมื่นล้านบาท) ขณะที่จำนวนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมะม่วงสูงถึง 100,000 คน

(240920) — HUAPING, Sept. 20, 2024 (Xinhua) — Workers sort and pack mangoes on a production line in Huaping County, southwest China’s Yunnan Province, Aug. 10, 2024. TO GO WITH “Across China: Mango industry bears fruit in southwest China county” (Photo by Shi Xiongfei/Xinhua)

ส่วนในปีนี้ คาดว่าผลผลิตมะม่วงของหัวผิงจะสูงกว่า 465,000 ตัน และมูลค่าผลผลิตการเกษตรสูงกว่า 3.05 พันล้านหยวน (ราว 1.42 หมื่นล้านบาท)

หลี่เฉากัง เจ้าหน้าที่สำนักการเกษตรและกิจการชนบทของหัวผิง กล่าวว่าอำเภอแห่งนี้ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมมะม่วงและเพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน ทำให้ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรหันมาใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง โดรน ระบบเฝ้าติดตามแบบไร้สายด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยแบบอัจฉริยะ

ด้วยขนาดและผลผลิตอุตสาหกรรมมะม่วงที่ขยายตัว หัวผิงจึงได้บูรณาการการเพาะปลูกมะม่วงเข้ากับการแปรรูปเชิงลึกเพื่อขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรมมะม่วง โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะม่วงจำนวนมาก เช่น มะม่วงบดและมะม่วงอบแห้ง ได้กลายมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค

Advertisement

ขณะเดียวกัน หัวผิงได้เพิ่มความพยายามสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และจัดฐานการไลฟ์สตรีมมิงเพื่อขยายช่องทางขายมะม่วง อีกทั้งบูรณาการการเกษตรเข้ากับการท่องเที่ยวและจัดตั้งพื้นที่เพาะปลูกที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมวิวพาโนรามาของสวนมะม่วงบนพื้นที่ 25,000 หมู่ (ราว 10,400 ไร่) ซึ่งสวนแห่งนี้รองรับนักท่องเที่ยวเฉลี่ยเกือบ 600 คนต่อวันช่วงสุดสัปดาห์ และมีผู้มาเยี่ยมชมราว 150,000 คนแล้วตั้งแต่เปิดปีนี้

นับตั้งแต่มะม่วงต้นแรกถูกเพาะลงดินในอำเภอแห่งนี้เมื่อปี 1965 อุตสาหกรรมมะม่วงในหัวผิงได้เปลี่ยนผ่านจากภาคส่วนการเพาะปลูกแบบเดี่ยวสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบที่ผสานการเพาะปลูก การแปรรูป การจำหน่าย และการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยหัวผิงยังมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมมะม่วงต่อไปเพื่ออัดฉีดแรงขับเคลื่อนสู่การฟื้นฟูชนบท

Advertisement