เผยแพร่ |
---|
ในอดีต ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบป่าห้วยขาแข้งต้องเผชิญกับปัญหาสัตว์ป่าเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและการสูญเสียทรัพย์สิน แต่ปัจจุบัน ชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ค้นพบวิธีการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมาปลูกสมุนไพร ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ยังช่วยอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่าให้คงอยู่คู่กับมนุษย์ตลอดไป
“เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง” คือกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีที่ทำกินรอบรอยต่อป่าห้วยขาแข้ง ประสบปัญหาสัตว์ออกมารบกวนในแปลงเกษตรกรรม จึงใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน หาแนวทางในการอยู่กับสัตว์ป่า ใช้กระบวนการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ทดลองจนได้รูปแบบการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยปลูกพืชสมุนไพรเป็นแนวกันชนรอยต่อป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งสัตว์ป่าไปทำลายผลผลิต ไม่เป็นอาหารของสัตว์ป่าทดแทนพืชเชิงเดี่ยว และสร้างรายได้ตลอดทั้งปี
ผลผลิต
– ส.ป.ก.อุทัยธานี บูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่าย
– เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกสมุนไพร
– ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดการใช้สารเคมี และผลกระทบกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะรอบพื้นที่แนวกันชนห้วยขาแข้ง
ผลลัพธ์
– ปรับเปลี่ยนการผลิต จากพืชไร่เป็นพืชสมุนไพร
– ลดการพึ่งพิงป่า
– ผลิตสมุนไพรที่ไม่ใช้สารเคมี (สมุนไพรอินทรีย์)
– ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน
ผลกระทบ
– ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิถีการใช้ชีวิต
– คนและสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตรและมีความสุข
สมุนไพรเปลี่ยนชีวิต คนเป็นมิตรกับสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
“รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2567
ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม”
ที่มาและปัญหา
– เกษตรกรทำเกษตรเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมีกระทบสัตว์ป่าและความสมบูรณ์ของสัตว์ป่า
– สัตว์ป่าบุกกัดกินและทำลายพืชผลทางการเกษตร
– เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างคนและสัตว์ป่า
กระบวนการ
ส.ป.ก.อุทัยธานี บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อน ดังนี้
– ระดมแนวคิดในการแก้ไขปัญหา
– วางแผนกำหนดเป้าหมาย
– ส่งเสริมอาชีพทางเลือกในการปลูกสมุนไพรอินทรีย์เป็นแนวกันชนเขตป่า
– ส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร
– จัดหาตลาดรับซื้อสมุนไพร
ปัจจัยความสำเร็จ
– เรียนรู้ที่จะปรับตัว เกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า “หัวไว ใจสู้”
– วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ผลิตและหาจุดปรับเปลี่ยนที่ลงตัวร่วมกัน
– ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
– ลด ละ เลิกใช้สารเคมี ในการผลิตและวิธีปฏิบัติทางการเกษตร
– สร้างทางเลือกอาชีพให้คน และสร้างแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า
– ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์
– สร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางธุรกิจกับทุกภาคส่วน
– ขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ความยั่งยืน
- ด้านการพัฒนา
– ประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเขตห้วยขาแข้งให้กับเครือข่าย
– ดำเนินการพัฒนาและขอเลขจดแจ้งเครื่องสำอางจากสมุนไพร (ใบเปล้าใหญ่และคนทา) ให้ได้รับการรับรองจากสาธารณสุข
- ด้านการพัฒนาตลาด
– ขยายตลาดในพื้นที่จังหวัดและโรงพยาบาล
– ขยายตลาดส่งออกนอกจังหวัด และบริษัทรับซื้อสมุนไพร
– ขยายตลาดผ่านการพัฒนาช่องทางออนไลน์
- ด้านการพัฒนาสถานที่และอุปกรณ์การผลิต
– เพิ่มจำนวนโรงอบตากที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
– เพิ่มจำนวนอุปกรณ์การผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น เครื่องหั่นสับ ชั้นสแตนเลสวางสมุนไพร พาหนะขนส่งผลผลิต
– พัฒนาสถานที่รวบรวมสมุนไพร โดย ส.ป.ก. สนับสนุนอาคารผลิตและอาคารเก็บรวบรวมผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
- ด้านการพัฒนาคุณภาพสมุนไพร
– เรียนรู้การแปรรูปเบื้องต้นที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น พร้อมกระบวนการบรรจุหีบห่อ
– หาองค์ความรู้ในการเก็บรักษา เพื่อแก้ปัญหาความชื้นและเชื้อราในการทำสมุนไพรแห้ง
ความสำเร็จของการทำงานร่วมกัน
การดำเนินงานขับเคลื่อนงานสมุนไพร ในพื้นที่ ส.ป.ก. ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชสมุนไพร ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มีการใช้สารเคมี ลดการกระทบกับสัตว์ป่าโดยเฉพาะพื้นที่รอบป่าห้วยขาแข้ง เกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า “หัวไว ใจสู้” โดยลดการพึ่งพิงป่า ปลูกพืชที่ลดการดึงดูดของสัตว์ป่า โดยเลือกพืชพันธุ์ที่เหมาะสม สามารถปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี สัตว์ป่าปลอดภัย อยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย สร้างชุมชนยั่งยืน ดั่งคำที่ว่า “อยู่ได้ อยู่ดี มีความสุข”
ผลลัพธ์ของการทำงานร่วมกัน
- การสร้างอาชีพ
ในระยะเวลา 5 ปี มีกลุ่ม “หัวไว ใจสู้” ที่กล้าปรับเปลี่ยนจากพืชไร่เป็นสมุนไพร โดยปัจจุบันมีสมาชิกของกลุ่มแล้วกว่า 40 ราย และมีแนวทางขยายเครือข่ายไปในอำเภอห้วยคตและอำเภอบ้านไร่ เพื่อสร้างชุมชนที่อยู่ร่วมกับสัตว์ป่าอย่างเป็นมิตร
- เครือข่ายความร่วมมือ
หน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ร่วมสนับสนุนองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต เครื่องมือ การตรวจรับรองมาตรฐาน การจัดหาตลาด และการเชื่อมโยงเครือข่าย
- รายได้
เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และเป็นรายได้ที่เข้ามาตลอดทั้งปี จากการปลูกสมุนไพรเป็นอาชีพเสริมสู่อาชีพหลัก เพราะสามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และมีความต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก
- ความยั่งยืน NEXT STEP
- การพัฒนาคุณภาพสมุนไพร
– เรียนรู้การแปรรูปเบื้องต้นที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น พร้อมกระบวนการบรรจุหีบห่อที่ได้มาตรฐาน
– หาองค์ความรู้ในการเก็บรักษา เพื่อแก้ปัญหาความชื้นและเชื้อราในการทำสมุนไพรแห้ง
- การพัฒนาสถานที่และอุปกรณ์การผลิต
– เพิ่มจำนวนโรงอบตากที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
– เพิ่มจำนวนอุปกรณ์การผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น เครื่องหั่นสับ ชั้นสแตนเลสวางสมุนไพร พาหนะขนส่งผลผลิต
– พัฒนาสถานที่รวบรวมสมุนไพร โดย ส.ป.ก. สนับสนุนอาคารผลิตและอาคารเก็บรวบรวมผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์
– ประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเขตห้วยขาแข้งให้กับเครือข่าย
– ดำเนินการพัฒนาและขอเลขจดแจ้งเครื่องสำอางจากสมุนไพร (ใบเปล้าใหญ่และคนทา) ให้ได้รับการรับรองจากสาธารณสุข
- การพัฒนาตลาด
– ขยายตลาดในพื้นที่จังหวัดและโรงพยาบาล
– ขยายตลาดส่งออกนอกจังหวัด และบริษัทรับซื้อสมุนไพร
– ขยายตลาดผ่านการพัฒนาช่องทางออนไลน์