ตามรอยถิ่นกำเนิด “ปลาทูไทย” สุดยอดปลาน้ำเค็มที่ทุกบ้านต้องเคยทาน

เมื่อพูดถึง “ปลาทู” หลายคนอาจนึกถึงภาพของปลาทูตัวอ้วนๆ นอนเรียงกันในเข่ง หน้าตาอาจดูธรรมดา แต่ปลาทูนั้นคือหนึ่งในปลาน้ำเค็มที่มีความสำคัญกับครัวไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าบ้านไหนๆ ต่างก็เคยลิ้มรสปลาทู ไม่ว่าจะเป็นการทอด ย่าง หรือทานกับน้ำพริก ปลาทูไม่เพียงแต่อร่อย แต่ยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของคนไทยอีกด้วย

ที่มาภาพ : : www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&=27
ที่มาภาพ : : www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&=27

ถิ่นกำเนิดของ “ปลาทูไทย”

“ปลาทูอ่าวไทย” มีถิ่นกำเนิดบริเวณ หมู่เกาะอ่างทอง ที่อยู่กลางอ่าวไทย ไม่ได้ว่ายมาจาก ปลายแหลมญวน หรือ อ่าวตังเกี๋ย ถือเป็นที่มาของฤดูกาลปิดอ่าว เพื่อให้ปลาทูได้วางไข่และอนุบาล ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี

ปลาทูที่เราเห็นตามตลาดส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็น “ปลาทูแม่กลอง” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ปลาทูที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของปลาทูในบริเวณนั้น ปลาทูแม่กลองจะถูกจับในทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ช่วงประจวบคีรีขันธ์จนถึงสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของปลาทูไทย

แหล่งอาศัยของปลาทู ที่เป็นแหล่งประมงสำคัญในประเทศไทยพบมากในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันแถบอ่าวพังงา แต่พบมากที่สุดในบริเวณอ่าวไทยทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก ซึ่งสามารถจับได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ที่มีแหล่งอาหารของปลาทูอย่างอุดมสมบูรณ์

การวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยมีตลอดปีทำให้ชาวประมงสามารถจับได้ตลอดทั้งปี  แต่ฤดูกาลที่ปลาทูวางไข่มากมี 2 ช่วง คือ ช่วงแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ช่วงที่สองระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ปลาทู 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 7 ครั้ง/ปี แม่ปลาทู 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 20,000 ฟอง

เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ ปลาทูจะเริ่มอพยพไปยังแหล่งวางไข่ในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ส่วนลูกปลาที่เกิดใหม่จะเดินทางเข้าหาฝั่งในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมและในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ต่อจากนั้นปลาทูวัยสาวจะอพยพเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนในบริเวณจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม โดยพบหนาแน่นมากที่สุดช่วงเดือนตุลาคม แล้วจึงมีการเคลื่อนย้ายฝูงไปสู่แหล่งวางไข่ต่อไป

Advertisement

สำหรับแหล่งวางไข่ของปลาทู แบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ๆ สายแรกคือ ปลาทูสายตะวันตก ที่พบในสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี นับเป็นแหล่งประมงปลาทูสำคัญของประเทศ ส่วนสายที่สองคือ ปลาทูสายตะวันออก พบในภาคตะวันออก ตั้งแต่ตราด จันทบุรี ชลบุรี ไปจนถึงฉะเชิงเทรา

ปลาทูสดจากเรืออวนดำที่ถูกน็อคน้ำแข็งมาขึ้นที่สะพานปลา

Advertisement

โดยทั่วไปชาวประมงจะแบ่งปลาทูออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลาสั้น และ ปลายาว

  • ปลาสั้น มักจะหมายถึงปลาทูแม่กลอง มีลักษณะหน้าเป็นสามเหลี่ยม ตัวสั้น แบน เนื้อนิ่มเวลากดลงไปที่ตัวปลาแล้วเนื้อปลาจะกลับคืนสภาพเดิมไม่บุ๋มลงไปตามลอยแรงกด ปลาสั้นจะมีลำตัวสีเงิน หรือ อมเขียว ตาดำ
  • ปลายาว จะมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ปลาลัง ปลายาว ปลาอินโด ซึ่งก็เป็นปลาชนิดเดียวกันทั้งหมด ลักษณะของปลายาว ตัวจะใหญ่และยาวกว่าปลาทูแม่กลอง ปากแหลม

ทางวิทยาศาสตร์แล้วสกุลปลาทูของไทยคือ Rastrelliger เป็นสกุลของปลาทะเลในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอ, ปลาอินทรี และปลาทูน่า ซึ่งปลาในสกุล Rastrelliger มีด้วยกัน 3 สายพันธุ์ได้แก่ ปลาทู (ชื่อสามัญ Short Mackerel) ปลาลัง หรือปลาทูโม่ง (ชื่อสามัญ Indian Mackerel) ปลาทูปากจิ้งจก (ชื่อสามัญ Island mackerel)

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

แต่ก่อนเราเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยเดินทางไกลมาจากเกาะไหหลำ แต่การศึกษาในปัจจุบันพบว่า #ปลาทูเกิดในอ่าวไทย อาศัยอยู่บริเวณใกล้ฝั่ง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ซึ่งในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 3 ชนิดดังที่กล่าวมาข้างต้นและปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมากกว่าปลาอื่นใดเพราะเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ปลาทู ลักษณะภายนอก ลำตัวจะมีกว้างหรือแป้น แบน ป้อม สั้น มีขนาดเล็กประมาณ 15-20 ซม. หัวเป็นสามเหลี่ยมค่อนข้างกว้าง มีเนื้อแน่น ละเอียด นุ่ม มีมันมาก อร่อย

แหล่งวางไข่ที่สำคัญของปลาทูแบ่งออกเป็น 2 สาย ปลาทูสายแรกในแถบจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี เรียกว่า ปลาทูสายตะวันตก ถือเป็นแหล่งประมงปลาทูสำคัญของประเทศส่วนอีกสายจะอยู่บริเวณภาคตะวันออกแถบจังหวัดตราด จันทบุรี ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เรียกว่า ปลาทูสายตะวันออก

ปลาทูสายตะวันตกบริเวณปากอ่าวไทยจะว่ายน้ำลงไปวางไข่นอกชายฝั่งแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และจะกลับขึ้นมามาหากินอีกครั้งบริเวณปากอ่าวไทยในเขตพื้นที่เดิม ส่วนปลาทูสายตะวันออกจะว่ายน้ำไปวางไข่บริเวณเกาะช้างหรือเกาะกง

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ปลาทูปากจิ้งจก เป็นปลาที่เป็นญาติใกล้ชิดกับปลาทูและปลาลังมีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาลังคือความยาวของหัวมากกว่าความกว้างของหัว แต่มีขนาดความยาวเท่าปลาทูและมีความกว้างของลำตัวน้อยกว่าปลาลัง ปลายปากแหลม ด้านบนลำตัวมีสีน้ำเงิน แวววาว ด้านท้องมีสีขาวเงิน มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เนื้อหยาบ มันน้อย รับประทานไม่อร่อย แต่ผู้ขายมักเอามาขายรวมกับปลาทู

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ปลาทูลัง หรือ ปลาทูโม่ง ลักษณะภายนอกตัวจะใหญ่กว่าปลาทูเห็นได้ชัด มีลำตัวเรียวยาว ตัวกลม ยาวประมาณ 20-25 ซม. ปากค่อนข้างแหลม หัวจะเป็นสามเหลี่ยมทำมุมน้อยกว่าปลาทู มีจุดสีดำใต้ฐานครีบหลังมากกว่าปลาทูชนิดอื่น บริเวณหางที่เป็นรูปซ่อมซึ่งส่วนที่เว้าข้างในของหางจะเว้าลึกกว่าปลาทูอื่น เนื้อหยาบ มีมันน้อย ไม่ค่อยอร่อย ราคาถูกกว่าปลาทู

ขอบคุณที่มา : chumphon.mju.ac.th และ https://maritime.cmu.ac.th