“ไหลบัว” กับ “สายบัว” แตกต่างกันยังไง

ในวัฒนธรรมการทำอาหารของไทย “บัว” เป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแกง ต้ม ผัด หรือทานสด แต่สิ่งที่หลายคนมักสงสัยคือ “ไหลบัว” และ “สายบัว” สองส่วนที่นิยมของต้นบัวนั้นแตกต่างกันอย่างไร มาดูรายละเอียดกันเลย

"ไหลบัว" กับ "สายบัว" แตกต่างกันยังไง
“ไหลบัว” กับ “สายบัว” แตกต่างกันยังไง

ก่อนอื่นจะพาทุกคนไปรู้จัก “บัว” ที่เรานำมาทานจะมีอยู่ 2 สีด้วยกัน โดยสีของไหลบัวจะเป็นสีขาว ไหลบัวที่เรานิยมนำมากินนั้นเป็น “บัวหลวง” หรือ “บัวบูชาพระ” จะมีด้วยกันสองสีคือสีขาว และ สีชมพู ซึ่งการเลือกเก็บไหลบัวนั้นจะนิยมใช้บัวสีชมพู เพราะมียางน้อยกว่า ส่วนบัวสีขาวมียางมาก จะให้รสชาติที่ขมจึงไม่นิยมบริโภค

การเก็บสายบัวจะต้องเลือกเก็บจากต้นอ่อนของบัวหลวง ซึ่งสังเกตจากใบที่มีลักษณะยังม้วนอยู่ ไหลบัวจะอยู่ในดินหรือใต้โคลน เวลาเก็บใช้วิธีการงมแล้วใช้มือบีบบริเวณโคนรากของบัว แล้วเด็ดออกมา ข้อสำคัญระหว่างที่เด็ดมานั้นต้องบีบตลอดจนกว่าจะพ้นน้ำ เพราะในไหลบัวนั้นเป็นสุญญากาศ หากไม่บีบไว้  น้ำโคลนหรือสิ่งสกปรกจะเข้าไปได้ เมื่อพ้นน้ำแล้วก็ปล่อยได้ตามปกติ เพราะอากาศจะเข้าไปแทนที่ทำให้น้ำไม่สามารถเข้าไปได้

สายบัว ขอบคุณภาพจาก : sgethai.com
สายบัว ขอบคุณภาพจาก : sgethai.com

สายบัว คือ ส่วนของก้านดอกบัวอ่อนที่ยังไม่บานเต็มที่ มีลักษณะเรียวยาวและมีรูตรงกลาง สีขาวหรือขาวอมชมพูขึ้นอยู่กับพันธุ์ สายบัวเป็นส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำ แตกต่างจากไหลบัวที่อยู่ใต้น้ำ

คุณประโยชน์ สายบัวจะช่วยลดอาการเกร็งของลำไส้และกระเพาะ ลดความเครียดทางสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อนในกาย

ไหลบัว ขอบคุณภาพจาก : sanook
ไหลบัว ขอบคุณภาพจาก : sanook

ไหลบัว หรือ หลดบัว คือ หน่ออ่อนของบัวที่เจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นบัวใหม่ ลักษณะของไหลบัวจะมีก้านยาว สีเหลืองนวล เนื้อแข็ง ปลายเรียวแหลม ต่างจากสายบัวที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม กดแล้วจะยุบ และมักมีความกรอบฉ่ำ รสหวานนิด ๆ เป็นเอกลักษณ์

คุณประโยชน์ ไหลบัวเป็นยารสเย็นจืด แก้อ่อนเพลียและบำรุงหัวใจ มีเส้นใยอาหารมาก จึงช่วยแก้โรคท้องผูกได้

Advertisement

ไหลบัวนั้นมีความกรอบกว่าสายบัว จึงนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือผัดน้ำมันกับเนื้อสัตว์ต่างๆ  โดยเลือกไหลบัวอ่อนสีเหลืองอ่อนทั้งตัวไหลและยอด ไม่ลื่น และไม่อ้วนใหญ่เกินไป ขนาดกลางๆ จะได้รสหวานกรอบพอดี ถ้าเด็ดจะมีเสียงดังเป๊าะ

Advertisement

แยกให้ออก

ลักษณะ ไหลบัว สายบัว
ส่วนของบัว ส่วนยอดอ่อนของเหง้าบัวใต้น้ำ ก้านดอกบัวอ่อนที่อยู่เหนือผิวน้ำ
ลักษณะภายนอก อวบ กลม สั้น เรียวยาว มีรูตรงกลาง
เนื้อสัมผัส กรอบ ฉ่ำน้ำ กรอบนุ่ม มีเส้นใยสูง
การนำไปใช้ ทานสด ทำแกงส้ม หรือต้มกะทิ ทำแกงเทโพ ต้มจับฉ่าย หรือส้มตำสายบัว

ทั้งไหลบัวและสายบัวมีความอร่อยและคุณค่าในแบบของตัวเอง อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเมนูอาหารที่เราต้องการทำค่ะ หากคุณยังไม่เคยลองทั้งสองอย่าง ลองเลือกเมนูโปรดสักจานแล้วสัมผัสความแตกต่างของทั้งคู่ดูได้เลย

อ้างอิงข้อมูลจาก acuisineth.com / มติชนอคาเดมี