เยือนถิ่น GI ชิมของดีจากแหล่งผลิตทั่วไทย ที่ขึ้นทะเบียนในปี 2024

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งสะท้อนผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication หรือ GI) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยส่งเสริมความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และในปี 2024 นี้ มีผลิตภัณฑ์ GI ที่น่าสนใจจากหลากหลายภูมิภาคของไทย ที่ไม่ควรพลาดแวะไปเยือนและลิ้มลองความพิเศษที่หาไม่ได้จากที่อื่น

วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน ได้รวบรวมของดีจากแหล่งผลิตทั่วไทย ที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ในปี 2024 จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย

อะโวคาโดตาก
อะโวคาโดตาก
1. อะโวคาโดตาก
ผ้าหมักโคลนบึงกาฬ
ผ้าหมักโคลนบึงกาฬ
2. ผ้าหมักโคลนบึงกาฬ

ผ้าหมักโคลนบึงกาฬ หรือ Bueng Kan Fermented Mud Cloth หรือ Pha Muk Klon Bueng Kan คือ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ และหมักโคลนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบึงกาฬ โดยเป็นโคลนที่นำมาจาก จังหวัดบึงกาฬ ทำให้เนื้อผ้ามีความนุ่ม มันวาว มีกลิ่นหอมของดินโคลน มีสีตามที่สกัดได้จากพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ และโคลนที่นำมาหมัก สีไม่ตก แต่จะค่อยๆ ซีดจางตามธรรมชาติ ซึ่งผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

ข้าวหอมใบเตยนครสวรรค์
ข้าวหอมใบเตยนครสวรรค์
3. ข้าวหอมใบเตยนครสวรรค์

ข้าวหอมใบเตยนครสวรรค์ หรือ Khao Hom Baitoey Nakhonsawan หรือ Hom Baitoey Nakhonsawan Rice หมายถึง ข้าวหอมใบเตยพันธุ์หอมใบเตย หรือพันธุ์หอมโบเตย 62 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่ไวต่อ ช่วงแสง ปลูกได้ในฤดูนาปี เมล็ดข้าวเรียวยาว ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว เมื่อหุงสุกมีความนุ่ม และ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้ายใบเตย ปลูกและแปรรูปในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

4. ทุเรียนหมอนทองระยอง
5. ปลิงทะเลเกาะยาว

เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงา จะเพาะเลี้ยงในบ่อดินที่มีลักษณะเป็นดินเลนปนทราย โดยทำประตูน้ำหรือต่อท่อน้ำให้น้ำทะเลไหลเข้าออกหมุนเวียนในบ่อได้ พื้นที่เพาะเลี้ยงปลิงทะเลเกาะยาวครอบคลุมพื้นที่อำเภอเกาะยาวที่ตั้งอยู่ในอ่าวพังงา ซึ่งเป็นอ่าวกึ่งปิด เพราะถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน พื้นที่เพาะเลี้ยงบริเวณเกาะยาวจึงเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมและเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดี

เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดพังงาที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาและอาหารเสริม มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั้งแบบสดและแบบแห้ง

Advertisement
6. กล้วยหอมทองเพชรบุรี

เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 5 ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่งขึ้นทะเบียนตัวล่าสุดของจังหวัดเพชรบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยหอมทองเปลือกบาง เนื้อกลัวยมีสีครีมถึงเหลืองอ่อน ไร้เมล็ด เนื้อเนียนละเอียด ละมุน นุ่มฟู ไส้ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวาน จึงทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการกว่า 580 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังได้รับความนิยมในตลาดญี่ปุ่นซึ่งมีการส่งออกกว่า 7,100 ตันต่อปี และเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ

7. ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด

เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน มีพื้นที่ปลูกอยู่บริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมาก

Advertisement

อีกทั้งอิทธิพลจากแรงลมทะเลที่เข้าปะทะกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปจนถึงพื้นที่เทือกเขาบรรทัดที่ส่งผลให้สภาพความชื้นในอากาศลดลงเร็วกว่าปกติ ทำให้ทุเรียนเกิดอาการเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเกิดการกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ก่อนพื้นที่อื่น

ส้มควายภูเก็ต
ส้มควายภูเก็ต
8. ส้มควายภูเก็ต

เป็นสินค้า GI รายการใหม่ลำดับที่ 3 ของจังหวัดภูเก็ต เป็นพันธุ์ส้มที่มีทรงผลกลม ร่องผิวเปลือกตื้น เนื้อละเอียด หนา แน่น รสชาติเปรี้ยวจัด  มีขอบเขตการปลูกครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดภูเก็ต ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนเหนียว อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลักที่จำเป็น อีกทั้งสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกต้นส้มควาย ทำให้ต้นส้มเจริญเติบโตได้ดี ทั้งในมิติของการจัดการใบ ดอก และติดผล สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี

“ส้มควายภูเก็ต” เป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารสำคัญต่างๆ ผสมผสานกับกระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว จนถึงการแปรรูป โดยอาศัยทั้งภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา ร่วมกับการส่งเสริมจากหลายภาคส่วนในจังหวัด ส่งผลให้ส้มควายภูเก็ตเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี สามารถนำมาจำหน่ายได้ทั้งแบบผลสด แบบแห้ง และแบบผง

9. ส้มสายน้ำผึ้งฝาง

เป็น สินค้า GI ลำดับที่ 5 ของจังหวัดเชียงใหม่ มีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ที่จังหวัดยะลา เรียกว่า “ส้มพันธุ์โชกุน” ได้ถูกนำมาเพาะปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น

ทำให้สภาพดินอุดมไปด้วยแร่ธาตุเหมาะสมต่อการเพาะปลูกส้มสายน้ำผึ้ง ด้วยแหล่งภูมิศาสตร์นี้ ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งฝางสามารถเติบโตได้ดี มีผิวสีเขียวอมเหลือง เขียวอมส้ม มันวาว เนื้อกุ้งฉ่ำแน่น ชานและใยนุ่ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม มีอัตลักษณ์ชัดเจน แตกต่างจากส้มสายน้ำผึ้งจากแหล่งปลูกอื่น

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง
ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง
10. ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง

เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 6 ของจังหวัดเชียงใหม่ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู ผิวเปลือกหยาบคล้ายกำมะหยี่ เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ปลูกครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น

11. กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า

เป็นกระท้อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกต้นกระท้อนพันธุ์ “ทองใบใหญ่” ณ วัดยางทอง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 “กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า”

โดยมีลักษณะผลค่อนข้างกลม ขั้วผลนูนเล็กน้อย เปลือกบาง ผิวนอกไม่เรียบ ผลสุกสีเหลืองทอง เนื้อหนานุ่ม ฉ่ำ ปุยเมล็ดมีรสชาติหวานฉ่ำ กลิ่นหอมหวาน มีการขยายพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบตะกอนน้ำพา มีชุดดินสิงห์บุรีที่มีธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง

เสื่อกกนาหมอม้า
เสื่อกกนาหมอม้า
12. เสื่อกกนาหมอม้า

เสื่อกกและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเสื่อกกที่ทอเสื่อด้วยมือ ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาอย่างยาวนานในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีพื้นที่เป็นที่ลุ่มและมีเนินเขาเตี้ยๆ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีลำน้ำสายใหญ่ไหลผ่าน และมีลำน้ำอยู่ทั่วทั้งจังหวัด ดินสามารถกักเก็บความชื้นได้ดีและมีความอุดมสมบูรณ์

ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกก ทำให้ต้นกกนาหมอม้า มีความแกร่ง และเหนียวทนทาน เหมาะที่จะนำมาทอเสื่อ และตัด เย็บ โดยใช้จักรอุตสาหกรรม หรือวิธีการเย็บมือ และนำมาย้อมสี เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ เบาะรองนั่ง แผ่นรองจาน ที่คลุมเก้าอี้ กล่องอเนกประสงค์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ชาวบ้านนาหมอม้า ยังสามารถออกแบบลวดลายของเสื่อกกได้มากกว่า 200 ลาย เช่น ลวดลายสร้างสรรค์ลายภาพสัตว์ต่าง ๆ อาทิ ผีเสื้อ นกยูง หงส์ หรือตัวอักษรชื่อบุคคล โลโก้บริษัท รวมไปถึงการมัดย้อม มัดหมี่ ลายขอ ลายไท เป็นต้น ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นอาชีพเสริมที่ทำให้ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้เสริมตลอดทั้งปี

หินอ่อนพรานกระต่าย
หินอ่อนพรานกระต่าย
13. หินอ่อนพรานกระต่าย หรือ Phran Kratai Marble หรือ Hin On Phran Kratai

เป็นหินอ่อน เนื้อละเอียด คุณภาพดี สีสันสวยงาม ส่วนมากจะมีสีชมพู หากขัดแล้วจะเงาสวยงามตามธรรมชาติของหินอ่อน มีทั้งแบบพื้นผิวมันเงาและพื้นผิวด้าน รูปแบบการจัดจำหน่ายมีทั้งหินอ่อนก้อน หินอ่อนแปรรูปจากโรงงาน และหินอ่อนแปรรูปจากงานหัตถกรรม โดยผลิตและแปรรูปครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร

14. กระท้อนนาปริกสตูล

กระท้อนพันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์นิ่มนวล พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ทับทิม ลักษณะผลทรงกลม ทรงกลมแป้น และทรงกลมจุก ผิวเปลือกบาง นิ่ม สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล และสีเขียว มีขนนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อหนา นุ่ม ปุยหุ้มเมล็ดสีขาวหนาฟู รสชาติหวาน ปลูกในเขตพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง

กาแฟระนอง
กาแฟระนอง
15. กาแฟระนอง
16. กาแฟดอยมูเซอตาก

กาแฟ อาราบิกาและกาแฟโรบัสตา เป็นกาแฟที่มีกลิ่นหอมโทนผลไม้และเมล็ดถั่ว มีความเข้มข้นของรสสัมผัสแบบเบาบาง และมีรสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ่านกระบวนการปลูกและผลิตที่เป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ ปลูกที่ ดอยมูเซอในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป ของตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก และตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด และแปรรูปในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด และอำเภอเมืองตาก ของจังหวัดตาก

ทุเรียนบางนรา
ทุเรียนบางนรา
17. ทุเรียนบางนรา

ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว ชะนี และมูซังคิง ที่มีลักษณะเนื้อค่อนข้างละเอียด เนื้อมีสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัวตามสายพันธุ์ ปลูกในแถบพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี และบริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร อำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอบาเจาะ

18. ปลาสลิดดอนกำยาน

ปลาสลิดพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีลักษณะรูปร่างคล้ายใบไม้ ลำตัวแบนยาว มีลายริ้วสีดำและ สีค่อนข้างดำปนเขียว เนื้อปลาสีขาวอมชมพู เนื้อแน่น ช่องท้องมีไขมันเล็กน้อย นำมาผ่านกระบวนการแปรรูป ตามภูมิปัญญาของคนในพื้นที่เป็นปลาสลิดสด ปลาสลิดตัดแต่ง ปลาสลิดแดดเดียว และปลาสลิดทอดกรอบ เลี้ยงและแปรรูปในพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง และอำเภออู่ทอง

19. มะพร้าวน้ำหอมสามพราน

มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์หมูสี (ตันเตี้ย) ผลมีลักษณะตั้งตรง ทรงสูง เป็นรูปหัวลิง กัน 3 พู เปลือกสีเขียวปน เหลือง เนื้อสีขาว นุ่ม น้ำมะพร้าวมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ผลิตครอบคลุมเขตพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน และอำเภอนครชัยศรี ของจังหวัดนครปฐม

มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว
มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว
20. มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว

มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ที่มีลักษณะผลทรงรียาว ผิวเปลือกสีเขียวนวล เนื้อหนา กรอบ ละเอียด สีเขียวอมเหลือง หรือเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน เมล็ดลีบแบนและยาวตามลักษณะทรงผล ผลิตในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน อำเภอราชสาส์น อำเภอพนมสารคาม อำเภอแปลงยาว อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ

21. ส้มเกลี้ยงลำปาง

ส้ม เกลี้ยงที่มีผลทรงกลมถึงแป้น ผิวเปลือกเรียบ ค่อนข้างหนา เปลือกไม่ล่อน เมื่อสุกผิวจะมีสีเขียวอมเหลือง มีตุ่มน้ำมัน เล็ก ๆ กระจายรอบผล เนื้อผลมีสีขาวอมเหลืองถึงสีเหลืองอ่อน ถุงน้ำหวานมีขนาดเล็ก ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอม เปรี้ยว มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลิตในพื้นที่อำเภอเถิน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ถอด ตำบลแม่ปะ ตำบล ล้อมแรด ตำบลเถินบุรี ตำบลแม่วะ และอำเภอแม่พริก 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ปู ตำบลพระบาทวังตวง และ ตำบลแม่พริก ของจังหวัดลำปาง

กระท้อนคลองน้อย
กระท้อนคลองน้อย
22. กระท้อนคลองน้อย

กระท้อนพันธุ์ อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย ทรงผลค่อนข้างกลม หรือกลมแป้น ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย ตำบลบางไทร ตำบลบางใบไม้ ตำบลบางโพธิ์ ตำบลบางชนะ และตำบลคลองฉนาก ของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

23. ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี
ผ้าผืน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากผ้ากาบบัว อุบลราชธานีเป็นผ้าทอมือผลิตจากเส้นไหมหรือฝ่ายผสมผสานวิธีการทอ 4 กรรมวิธีใน 1 ผืน ประกอบด้วย การทอเส้นยืนสลับสีอย่างน้อย 2 สี การมัดหมี่ การยกหรือชิด และการมับไมหรือหางกระรอก หรือมีการ สอดดิ้นเงิน หรือดิ้นทอง หรือเส้นไหมสีต่างๆ เพื่อเพิ่มความวิจิตรงดงามยิ่งขึ้น โดยผืนผ้ามีการไล่โทนสีจาก อ่อนไปแก่ ผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

การเดินทางเยือนแหล่งผลิต GI ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้เราได้ลิ้มรสของดีประจำถิ่น แต่ยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมความยั่งยืนของวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่น และยังเป็นการเรียนรู้เรื่องราวเบื้องหลังผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาและความตั้งใจของคนในชุมชน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : GI Thailand , กรมทรัพย์สินทางปัญญา