“คู่มือเริ่มต้นทำเกษตรออแกนิกสำหรับมือใหม่” มาตรฐาน Organic Thailand เพื่อการสร้างรายได้ยั่งยืน

ปัจจุบันเกษตรกรหลายๆ ท่านให้ความสนใจกับการปลูกผักแบบ “ออแกนิก” หรือ “เกษตรอินทรีย์” คือการให้ความสำคัญกับการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือสารปรับปรุงดิน และไม่ใช้พืชที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และการผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเน้นผักปลอดสารเพิ่มมากขึ้น เจาะกลุ่มผู้ที่ดูแลสุขภาพ แต่หลายๆ ท่านยังไม่มีมาตราฐานที่ถูกต้อง วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านรวบรวมข้อมูลการขึ้นทะเบียนมาตราฐาน organic thailand ที่เกษตรกรควรต้องรู้

มาตรฐาน Organic Thailand
เครื่องหมายมาตรฐาน Organic Thailand

ทำไมต้องมีมาตรฐาน Organic Thailand?

หากเป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ การมีตรารับรอง Organic Thailand จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณปลอดภัย ไม่มีสารเคมี และเป็นไปตามมาตรฐานอินทรีย์ที่รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการผักผลไม้ปลอดสารเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรที่ปลูกแบบออแกนิกจึงมีโอกาสเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้สามารถขายสินค้าในตลาดที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูง เพราะผลผลิตออแกนิกมักมีราคาขายที่สูงกว่าผลผลิตทั่วไป เนื่องจากกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่า เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสุขภาพ และมีโอกาสไปในยังตลาดส่งออกต่างประเทศอีกด้วย

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนขอมาตรฐาน

ก่อนสมัครขอรับรอง ต้องศึกษาแนวทางและข้อกำหนดของมาตรฐาน Organic Thailand ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จาก เว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

เกณฑ์พื้นฐานของมาตรฐาน Organic Thailand
  • ปลอดสารเคมี 100% ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดวัชพืชสังเคราะห์
  • ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ
  • ไม่มีการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียง ต้องมีแนวกันชน หรือแยกพื้นที่ชัดเจนจากแปลงที่ใช้สารเคมี
  • ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ต้องมาจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตพืชทั่วไป แต่ต้องไม่คลุกสารเคมี หากคลุกสารเคมี ต้องกำจัดออกอย่างเหมาะสมก่อนปลูก
  • ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตหรือยาปฏิชีวนะ (สำหรับปศุสัตว์อินทรีย์)
  • ต้องผ่านช่วงเปลี่ยนผ่าน (Conversion Period) อย่างน้อย 2 ปีสำหรับพืชล้มลุก และ 3 ปีสำหรับพืชยืนต้น

ขั้นตอนการขอมาตรฐาน Organic Thailand

  1. ยื่นใบสมัครที่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือกรมวิชาการเกษตร พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • แผนที่และแผนผังพื้นที่ทำการเกษตร
    • แผนการผลิตและการจัดการฟาร์ม
    • ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำและดิน

กรอกคำขอ ตามแบบฟอร์ม แบบคำขอขึ้นทะเบียนปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ ส่งทางอีเมล [email protected] หรือ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนที่ กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

2. เข้ารับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่

  • เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบพื้นที่จริง ดูกระบวนการเพาะปลูก และตรวจหาสารตกค้าง
  • หากพบจุดที่ต้องปรับปรุง ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนรับรอง

3. รอผลการประเมินและรับใบรับรอง

Advertisement
  • หากผ่านเกณฑ์ทั้งหมด จ้าหน้าที่จะออกใบรับรองมาตรฐาน Organic Thailand ซึ่งมีอายุ 1 ปี
  • ต้องต่ออายุทุกปี และผ่านการตรวจสอบซ้ำ

4. ติดฉลากและทำการตลาด

เมื่อได้รับการรับรองแล้ว สามารถติด ตราสัญลักษณ์ Organic Thailand บนผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสทางการตลาด

Advertisement

เคล็ดลับสำคัญในการขอรับรอง

  • หากเพิ่งเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ อาจต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนพื้นที่ 2-3 ปี เพื่อให้ดินและสิ่งแวดล้อมปราศจากสารเคมีตกค้าง
  • จดบันทึกข้อมูลการทำเกษตรอย่างละเอียด เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและประเมินผล
  • เข้าร่วมเครือข่ายหรือกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เพื่อเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์กัน

การขอมาตรฐาน Organic Thailand ไม่ใช่เรื่องยาก หากเป็นผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริงและมีการจัดการฟาร์มที่ดี การมีตรารับรองจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า หากสนใจสามารถติดต่อกรมวิชาการเกษตรเพื่อเริ่มต้นกระบวนการขอรับรองได้เลย หากมีขอสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทร 082-4783-535 หรือ 096-9792-392

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิชาการเกษตร , สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์