แนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตและข้อบกพร่องของสหกรณ์

ภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2560 กรมส่งเสริมสหกรณ์จะผลักดันให้มีการออกเกณฑ์กำกับสหกรณ์ ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนได้จนครบทุกเกณฑ์ที่กำหน

ข้อมูลข้อบกพร่องของสหกรณ์

  • คำนิยาม
  1. การทุจริต หมายถึง การที่มีผู้เจตนากระทำการใด ๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น และทำให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ และหรือสมาชิก และหรือบุคคลภายนอก
  2. ข้อบกพร่องทางการบัญชี หมายถึง ข้อบกพร่องที่เกิดจากการที่สหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542
  3. ข้อบกพร่องทางการเงิน หมายถึง ข้อบกพร่องที่มีมูลเหตุที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วย การรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์
  4. การกระทำนอกกรอบวัตถุประสงค์ หมายถึง สหกรณ์มีการกระทำที่ไม่ได้ระบุไว้
    ในวัตถุประสงค์ และอำนาจกระทำการตามข้อบังคับของสหกรณ์
  5. พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หมายถึง พฤติกรรม หรือกระทำการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์เป็นมูลค่าสูง หรือกระทบเป็นวงกว้าง หรือเป็นพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ ของสหกรณ์, กรรมการ, เจ้าหน้าที่, ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์  หรือผู้ที่แอบอ้างแล้วทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าสหกรณ์มีส่วนเกี่ยวข้อง   เช่น การนำเงินไปฝากสหกรณ์อื่นที่มีความเสี่ยงสูง

 

ความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของสหกรณ์

  • ในปี 2558 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีข้อสั่งการให้แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ประมวลข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 1,228 แห่ง  มูลค่า 43,566.22 ล้านบาท
  • ปัจจุบันได้มีการสั่งการให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้ว มียอดคงเหลือ ณ 30 กันยายน 2560 จำนวนทั้งสิ้น 202 แห่ง มูลค่า 13,667.36 ล้านบาท
  • แนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องที่คงเหลือ จำนวน 202 สหกรณ์ จะได้ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560
  • กรณีทุจริต  สั่งการให้ดำเนินการตามแนวทางที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนดไว้ ตามหนังสือ
    กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1115/13320 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558  โดยให้ดำเนินการ
  • เมื่อพบการกระทำทุจริต ให้สั่งการให้หยุดหรือเลิกการกระทำทันที หากฝ่าฝืน ให้ร้องทุกข์ และสั่งให้ คกก. หรือ กก. พ้นจากตำแหน่ง
  • สั่งการให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาผู้รับผิดชอบ จำนวนความเสียหาย พร้อมรวบรวมพยานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้สหกรณ์ร้องทุกข์ดำเนินคดี

กรณีการกระทำนอกกรอบวัตถุประสงค์

  • เมื่อพบการกระทำดังกล่าว ให้สั่งการให้หยุดหรือเลิกการกระทำทันที หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนทส. ให้ร้องทุกข์ และสั่งให้ คกก. หรือ กก. พ้นจากตำแหน่ง
  • หาผู้รับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหาย
  • ฟ้องดำเนินคดี

กรณีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย

  • เมื่อพบการกระทำดังกล่าว ให้สั่งการให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว และแก้ไขให้คืนดี
  • หาผู้รับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหาย