เรื่องของพาราควอต

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thai-PAN) โดย นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานได้แถลงผลการเฝ้าระวังผักและผลไม้ซึ่งไทยแพนดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 พบว่า จากการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้จากทั่วประเทศจำนวน 150 ตัวอย่าง เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ครอบคลุมผักยอดนิยม 5 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า พริกแดง กะเพรา และกะหล่ำปลี กับผักพื้นบ้านยอดฮิต 5 ชนิด ได้แก่ ใบบัวบก ชะอม ตำลึง และสายบัว ส่วนผลไม้ 6 ชนิด ได้แก่ องุ่น แก้วมังกร มะละกอ กล้วย มะพร้าว สับปะรด

โดยตรวจครอบคลุมตลาด จำนวน 9 ตลาดในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี ราชบุรี และสงขลา รวมทั้งจากห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ 3 ห้าง และซุปเปอร์มาร์เก็ต 4 แห่ง พบว่าโดยภาพรวมมีสารพิษปนเปื้อนในผักและผลไม้เกินมาตรฐานถึง 46% สุ่มตรวจผักพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเปรียบเทียบกับผักทั่วไป และผลไม้พบว่า ผักยอดนิยมทั่วไปมีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ผักพื้นบ้านยอดนิยม 43% และผลไม้ 33% ตามลำดับโดยในผักผลไม้ที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร เพราะพบการตกค้างเกินมาตรฐานตั้งแต่ 7-9 ตัวอย่าง จาก 10 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากที่สุด คือไทยแพนพบว่ามีสารเคมีกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าตกค้างในผักและผลไม้ในระดับสูงถึง 55% จากจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งหมด 76 ตัวอย่าง ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเท่าที่ผ่านมาแทบไม่เคยมีการสุ่มตรวจหาสารพิษกลุ่มนี้อย่างจริงจังมาก่อนเลย โดยผลการตรวจพบพาราควอตตกค้างในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 38 ตัวอย่าง จาก 76 ตัวอย่าง ที่ส่งตรวจ รองลงมา คือไกลโฟเสต ตรวจพบ 6 ตัวอย่าง และอะทราซีน 4 ตัวอย่างเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ทำการสำรวจครั้งนี้มีสาเหตุมาจากเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวถึงผลการประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 ว่าที่ประชุมได้ร่วมกับ 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม มีมติให้ประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 3 ตัว ได้แก่ พาราควอต, คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสต เพื่อให้ประชาชนในประเทศทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายนพ. ปิยะสกล กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิด คือพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้ ถูกกำหนดเป็นวัตถุอันตรายชนิด 4 ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ โดยระหว่างนี้จะไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเพิ่มและไม่ต่ออายุทะเบียน ยุติการนำเข้าเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร มีเวลาเตรียมตัวหาทางเลือกอื่นและจัดการกับผลิตภัณฑ์คงค้างในตลาดทั้งนี้ พาราควอต เป็นสารฆ่าหญ้านั่นแหละ ที่มีการใช้ในประเทศไทยถึง 29.8 ล้านกิโลกรัม ในปี พ.ศ.2558 มีพิษเฉียบพลันสูง และยังไม่มียาถอนพิษ ชาวนาฆ่าตัวตายก็กินพาราควอตนี่แหละ ในปัจจุบันนี้มี 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกใช้แล้ว ส่วนคลอร์ไพริฟอส เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือน กำจัดมด ปลวก เห็บ แมลงสาบ พบตกค้างสูงสุดในกลุ่มสารกำจัดแมลง ทำให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาสมอง ไอคิวเด็กลดลง สมาธิสั้น หลายประเทศห้ามใช้ในบ้านเรือน ผักผลไม้ส่วนสารไกลโฟเสตเป็นสารกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้า ที่มีปริมาณนำเข้าสูงสุด 58.1 ล้านกิโลกรัม และมีการใช้ในประเทศ 57.6 ล้านกิโลกรัม ในปี’58 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็ง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น 22 โรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัลไซเมอร์ เป็นต้น ที่ประชุมมีข้อเสนอให้บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่โดยจำกัดการใช้อย่างเข้มงวด ดังนี้1. ห้ามใช้สำหรับเกษตรกรในพื้นที่สูงและพื้นที่ต้นน้ำ 2. ห้ามใช้ในบริเวณแม่น้ำ ลำคลองและแหล่งน้ำในพื้นที่ใกล้เคียง 3. ห้ามใช้ในพื้นที่สาธารณะ 4. ห้ามใช้ในเขตชุมชน

โดยจะมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ/มาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ เกษตรกร ก่อนที่จะออกประกาศเงื่อนไขพื้นที่ห้ามใช้ และเขตห้ามใช้ต่อไปครับ! หลายสิบประเทศทั่วโลกเลิกใช้นานแล้ว บ้านเราเพิ่งประกาศห้ามใช้เด็ดขาด “พาราควอต” และคลอร์ไพริฟอส ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากพาราควอตพิษเฉียบพลันสูงโดยไม่มียาถอนพิษ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของพาร์กินสันอีกด้วย  ส่วนคลอร์ไพริฟอส ใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่ามด ปลวก ปลวกตามบ้านมีผลต่อสมอง ไอคิวเด็กลด ขณะอีกตัว ไกลโฟเสต หรือยาฆ่าหญ้า ก่อมะเร็ง กำชับการใช้อย่างเข้มงวด ออก 4 ข้อห้ามเพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภคแต่ปรากฏว่าคณะกรรมการวัตถุอันตรายผนึก แห่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลับอนุญาตให้ต่อทะเบียน “ยาฆ่าหญ้า พาราควอต”  มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ให้บริษัทนำเข้ามาขายได้อีก 6 ปี โดยกรมวิชาการเกษตรอ้างว่าประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย คือปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมอ้างว่า พาราควอต อยู่ภายใต้อำนาจการดูแลของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ควบคุมอยู่ การประชุมครั้งล่าสุดประมาณปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้รับรายงานจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่า พาราควอตยังคงสามารถใช้ในภาคการเกษตรได้ต่อ เนื่องจากยังไม่มีผลการวิเคราะห์หรือตีความออกมาว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ในเมื่อยังไม่มีมติจากกระทรวงอุตสาหกรรมห้ามใช้สารพาราควอตแล้ว หากไม่ต่อทะเบียนให้บริษัท หน่วยงานภาครัฐอาจถูกฟ้องร้องได้ ทั้งนี้ สารพาราควอตจึงได้รับการพิจารณาต่อทะเบียนนำเข้าจากต่างประเทศได้โดยมีกำหนดเวลาให้ 6 ปีแล้วจึงจะพิจารณาใหม่อีกครั้งครับ ! จบข่าว !

ขอบคุณข้อมูลจาก โกวิท วงศ์สุรวัฒน์