เทคโนโลยีดิจิตอลรุกหนักกระทบ 10 อาชีพต้องปรับตัว “นักข่าว” ติดโผอาชีพดาวร่วงในปี”61

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ 10 อาชีพเด่นปี 2561 และ 10 อาชีพดาวร่วง พบว่า 10 อาชีพที่ไม่โดดเด่นในปี 2561 ได้แก่ 1.อาชีพตัดต้นไม้ ช่างไม้ไม่มีฝีมือ 2.พ่อค้าคนกลาง 3.อาชีพย้อมผ้า 4.บรรณารักษ์ ไปรษณีด้านการส่งจดหมาย 5.พนักงานขายสินค้าหน้าร้าน 6.การตัดเย็บเสื้อผ้าโหล 7.การทำรองเท้า ซ้อมรองเท้า 8.เกษตรกร ครู อาจารย์ 9. อาชีพแม่บ้านทำความสะอาด และ 10.นักหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ผู้สื่อข่าว

ส่วนอาชีพเด่น 10 อาชีพได้แก่ 1.แพทย์ (แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์) 2.โปรแกรมเมอร์ วิศวกรซอฟแวร์ และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล 3.นักการตลาดออนไลน์ รวมทั้วรีวิวเวอร์ เน็ตไอดอล 4.นักการเงิน นักออกแบบวิเคราะห์ระบบด้านไอที ให้คำปรึกษาด้านระบบไอที 5.กราฟฟิคดีไซต์ นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร 6.นักวิทยาศาสตร์ด้านความงาม (คิดค้นเครื่องสำอาง หรือครีม เป็นต้น) อาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

7.ผุ้ประกอบการธุรกิจ (สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ e-commerce เป็นต้น) 8.อาชีพในวงการบันเทิง (ดารานักแสดง นักร้อง) สถาปนิก มัณฑนากร 9.ครูสอนพิเศษ ติวเตอร์ อาชีพเกี่ยวกับโลจิสติกส์ และการขนส่ง และนักบัญชี

โดยปัจจัยที่มีผลต่ออาชีพมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 4.2% อัตราการว่างงานในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.9% แนวโน้มการผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 การเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ง่าย การเปิดเสรีทางการค้าและบริการมีมากขึ้น ซึ่งมีผลต่ออาชีพเด่น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า สาเหตุที่อาชีพที่ไม่โดดเด่นในปี 2561 มาจากเทรนด์ดิจิตอลเข้ามามากขึ้นทั้งในด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การลงทุน และผู้บริโภคก็เริ่มหันมาใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาจากไม้ ประกอบกับการนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งมีราคาถูกและแนวโน้มจะยิ่งเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น ผลมาจากการเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ระหว่างอาเซียน-จีน จะยิ่งมีผลให้อาชีพที่ใช้แรงงาน และแนวโน้มการส่งจดหมาย เขียนจดหมายก็ยิ่งลดลง เพราะดิจิตอลเข้ามาแทนที่

ประกอบกับในปีหน้าสินค้าเกษตรยังไม่ดีขึ้นก็มีผลต่ออาชีพเกษตรกรเช่นกัน นอกจากนี้ ในปี 2561 แนวโน้มแรงงานก็ยิ่งน่าเป็นห่วง ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น กลุ่มผู้ใช้แรงงานจะยิ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ที่ 700,000 คนต่อปี ซึ่งจะยิ่งลดลง ขณะที่กลุ่มอายุ 15-60 ปี เดิมอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านคน ปัจจุบันลดลงเหลืออยู่ที่ 37.2 ล้านคน ซึ่งลดลงมาถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งในระยะยาวก็จะยิ่งลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยก็จะหายออกไปจากระบบประมาณ 2-3 แสนคน

นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องของแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ดดยเข้าไปจัดระเบียบ อนาคตแรงงานก็ยิ่งจะหายยาก ค่าแรงก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น และการกก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 การนำเรื่องของเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ระบบไอที เพื่อเข้ามาเปลี่ยนผ่านแงงานที่ผ่านไป และเข้ามาทดแทนค่าแรงที่สูงขึ้น ในภาคธุรกิจก้จตะยิ่งเร็วขึ้น จากปัจจัยดังกล่าว เชื่อว่าภายใน 5-10 ปีการเปลี่ยนผ่านก็จะยิ่งเห็นผลชัดเจน และมองว่าผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นปรับตัวได้ไม่มีปัญหา แต่สำหรับเอสเอ็มอีแล้วอาจจะลำบาก

Advertisement

“ค่าแรงหากมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเร็ว การนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนผ่าน ทดแทนแรงงานก็จะยิ่งเร็วขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องพิจารณาในกรอบที่เหมาะสม มองก็อยู่ในกรอบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 บาท หรือ 3-5% เพราะหากมากกว่านี้ แรงงานจะประสบปัญหาภาคธุรกิจจะยิ่งนำระบบต่างๆเข้ามาทดแทน และแรงงานเองก็จะต้องไม่เลือกงาน และพัฒนาฝีมือให้เหมาะสมเพื่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้นกับงานนั้นๆ อย่างไรก็ดี แนวโน้มการว่างงานในปี 2561 ลดลงอยู่ที่ 0.9% หากไม่เลือกงานก็บยังมีงานที่รองรับอยู่แน่นอน”

 

Advertisement

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์