“พ่อค้าข้าวโพด” ระดมยื่นหนังสือร้อง 3 หน่วยงาน ขอให้รัฐใช้มาตรการซื้อข้าวโพด 3 นำเข้าข้าวโพด 1 ส่วนต่อ

“พ่อค้าข้าวโพด” ระดมยื่นหนังสือร้อง 3 หน่วยงาน พาณิชย์-เกษตรฯ-สำนักนายกฯ ขอให้รัฐใช้มาตรการซื้อข้าวโพด 3 นำเข้าข้าวโพด 1 ส่วนต่อ พร้อมเปิดจุดรับซื้อข้าวโพด กก.ละ 8.30 บาท ที่ จ.ตาก

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2560 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นายกสมาคมการค้าพืชไร่ พร้อมตัวแทนสมาคมฯ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือกับ 3 หน่วยงานราชการ คือ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอให้คงมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี โดยกำหนดสัดส่วนให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนเพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ไว้ต่อไป เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการนำเข้าข้าวสาลี พร้อมกันนี้ทางสมาคมฯ ยังได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพด ความชื้น 14.5% ราคา กก.ละ 8.30 บาท จากเกษตรกรภายในงานตลาดนัดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2560 ที่ จ.ตากด้วย

สำหรับสาระสำคัญที่สมาคมฯ ขอให้คงมาตรการรับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน เพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน เพื่อไม่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาข้าวโพดลดต่ำลงอย่างในปีที่ผ่านมา เพราะทางสมาคมฯ เห็นว่าหลังจากใช้มาตรการดังกล่าวทำให้ราคาข้าวโพดในปัจจุบันเพิ่มขึ้น เป็น กก.ละ 8.50-8.70 บาท สะท้อนว่ามาตรการนั้นส่งผลดีต่อเกษตรกร ส่วนการที่เกษตรกรบางกลุ่มอ้างว่าพ่อค้าคนกลางต้องการขายโพดให้ได้มากกว่า กก.ละ 10 บาทขึ้นไป เพราะทราบดีว่าอาหารสัตว์ไม่สามารถนำวัตถุดิบอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งใความเป็นจริงในช่วงต้นฤดูกาลเดือนกันยายน-ตุลาคม 2560 ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ได้กำหนดปริมาณการรับซื้อข้าวโพดโดยกำหนดปริมาณให้พ่อค้าเฉพาะบางรายเข้าไปขายได้ไม่ยอมรับซื้อตามระบบปกติที่เคยเป็นมา ทั้งที่พ่อค้าหลายรายต้องการส่งข้าวโพดให้ พอถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 ผลผลิตข้าวโพดสู่โรงงานอาหารสัตว์น้อยลง เนื่องจากมีการขายให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้เลี้ยงสัตว์ขนาดเล็กมาขึ้น รวมทั้ง พื้นที่ปลูกลดลงจากราคาข้าวโพดในฤดูกาลก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าข้าวสาลีจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกข้าวโพดรับซื้อข้าวโพดในราคาที่สูงกว่าโรงงานอาหารสัตว์บางราย เพื่อส่งออก โดยปัจจุบันผู้ส่งออกอาหารบางรายซื้อข้าวโพด ราคากก.ละ 8.00-9.00 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่โรงงานอาหารสัตว์บางแห่งซื้อ พ่อค้าในพื้นที่จึงเริ่มแข่งขันกันซื้อ ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรสามารถขายข้าวโพดได้ในราคาสูงขึ้น ต่อมาโรงงานอาหารสัตว์ก็เริ่มรับซื้อ จึงทำให้พ่อค้าท้องถิ่นคาดว่าแนวโน้มราคาข้าวโพดจะปรับสูงขึ้นไปอีกจากการ “แข่งขัน” ซื้อกันอย่างรุนแรง ซึ่งมีผลให้พ่อค้าบางรายต้องรีบซื้อข้าวโพดในราคาสูงกว่าราคาข้าวที่ตกลงกันไว้ก่อน เพราะเกรงว่าจะไม่มีข้าวโพดส่งให้ผู้ซื้อตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้ต้นุทนของกลุ่มพ่อค้าคนกลางยิ่งสูงขึ้น พ่อค้าบางรายพยายามเจรจาขายให้กับโรงงานอาหารสัตว์หลายราย แต่กับ”สงวนท่าที” ซึ่งผู้หากผู้ผลิตอาหารสัตว์สร้างกลไกการค้าและราคาตามปกติ พ่อค้าคนกลางหลายรายพร้อมที่จะขายสินค้าให้อย่างแน่นอน เนื่องจากแต่ละรายมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน

ประกอบกับวงการค้าพืชไร่ทราบดีว่า กลไกกำหนดราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยอำนาจกำหนดราคาและเงื่อนไขการซื้ออยู่ที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ ยิ่งมีการนำเข้าข้าวสาลีและกากข้าวโพดมากขึ้น ยิ่งทำให้อำนาจการกำหนดราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการกำหนดเงื่อนไขในการรับซื้ออยู่ที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ ยิ่งมีการนำเข้าข้าวสาลีและกากข้าวโพดมาขึ้น เห็นได้จากข้อพิสูจน์ในฤดูกาล 2559/2560 ที่ผ่านมามีการนำเข้าข้าวสาลีมากเกินจนทำให้ข้าวโพดล้นตลาด ซึ่งกลไกการค้าเบี่ยงเบนพ่อค้าไม่กล้าซื้อสินค้า เพราะกลัวจะขายไม่ได้ เกษตรกรจึงขายข้าวโพดได้ในราคาที่ต่ำกว่า กก.ละ 6.00 บาท และประสบปัญหาการขาดทุน ขณะที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไม่ได้กำหนดราคาขายอาหารสัตว์ให้สอดคล้องกับต้นทุนข้าวสาลีที่มีราคาถูก

กระทั่งมาถึงฤดูกาลปัจจุบัน ปี 2560/2561 จากมาตรการเพื่อป้องเกษตรกรผู้ข้าวไทย ทำให้เกษตรกรขายข้าวโพดได้ราคาสูงขึ้นมาก เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบจากการนำเข้าข้าวสาลี ของโรงงานอาหารสัตว์รายใหญ่ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้บ้าง อีกทั้งมีข้อมุลสถิติของกระทรวงเกษตรว่ายังมีวัตถุดิบคาร์โบไฮเดรตสำหรับผลิตอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง มาใช้ได้อย่างเพียงพอ แต่ผู้ผลิตอาหารสัตว์กลับพยายามที่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทส เพื่อสร้างกำไรกับตนแทนที่จะใช้วัตถุดิบที่จะผลิตจากคนไทยด้วยกัน ทั้งที่เนื้อสัตว์เหล่านั้นขายใหกับคนไทยที่บริโภคในประเทศมากกว่าส่งออกไปขายต่างประเทศ

สาเหตุหลักที่ราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้นเพราะมีปัจจัยจากความต้องการที่แท้จริงของผู้เลี้ยงสัตว์ พ่อค้า และผู้ส่งออก มีตัวกินมีมากขึ้น เช่น สุกรจาก 12 ล้านตัวมาเป็น 20 ล้านตัวต่อปีภายในระยะเวลาแค่ 2-3 ปี, ไก่ จากเดิมผลิตได้สัปดาห์ละ 25-28 ล้านตัว แต่ขณะนี้เพิ่มขึ้น เป็น 37 ล้านตัว ปริมาณวัตถุดิบที่ไม่เพียงพอ แต่สามารถใช้ข้าวสารในสต็อกรัฐบาลแทนได้ เพราะหากมีการนำเข้าข้าวสาลี จะไม่ได้นำมาไม่ได้มาใช้ในสูตรอาหารไก่แต่นำมาใช้ในอาหารหมู

ดังนั้น หากรัฐบาลคงมาตรการ 3 ต่อ 1 ต่อไปย่อมส่งผลดีกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และนาข้าว รวม 17 ล้านคนของประเทศในระยะยาว หลังจากต้องประสบภาวะขาดทุน จากการทำไร่ข้าวโพด ทำนา และส่งผลดีกับเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพดหลังฤดูกาลทำนาที่รัฐบาลสนับสนนุอีกถึง 700,000 ไร่

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์