กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน นโยบาย ช่วยชาวนาเต็มที่ หวังปฏิรูปภาคการเกษตร จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ สร้างเกษตรกรให้เข็มแข็ง

การปฏิรูปภาคการเกษตรผ่านกระบวนการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ และใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ ทั่วประเทศ เป็นกลไกการขับเคลื่อนภาคประชาชน ถือเป็นแนวทางหลักในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตร              ได้วางแนวทางในส่วนของระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ไว้ 6 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยการจัดหาแหล่งน้ำถึงในระดับไร่นา พัฒนาแหล่งน้ำ/ระบบส่งน้ำ ให้สามารถทำการเกษตร ของเกษตรกร รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง เพื่อให้สามารถ ทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนสินเชื่อชาวนาดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01 ในการปรับปรุงจัดการปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์  เครื่องจักรกลขนาดเล็ก เงินทุนหมุนเวียนเพื่อรวบรวมผลผลิต จัดหาและพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำในแปลง  และจัดหารรวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น โรงเรือน ลานตาก จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์เป้าหมาย 426 แปลง วงเงิน 2,130 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรเริ่มรับสินเชื่อไปดำเนินการแล้ว 17 แปลง เป็นเงิน 53.570 ล้านบาท

มิติที่ 2  พัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ไม่ความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ดี ผ่านการรวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ดีที่มีคุณภาพ  และกระจายพันธุ์ดีมีคุณภาพ ไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง จำนวน 380 กลุ่ม ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งการใช้สารชีวภัณฑ์

เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมี

มิติที่ 3 ส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรเกษตรกรในแต่ละแปลงให้มีความเข้มแข็ง โดยการมีการรวมกลุ่มต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตร่วมกัน และจัดเวที ให้มี         การเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดระหว่างการผู้ผลิต สหกรณ์ พาณิชย์จังหวัด หอการค้าและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพเพื่อให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการและลดต้นทุนการผลิต จำนวน 380 กลุ่ม

มิติที่ 4 บริหารจัดการโครงการเพื่อสร้างความเข็มแข็ง  โดยการพัฒนาทั้งเจ้าหน้าที่ และเกษตรกรในส่วน   ของเจ้าหน้าที่ให้เป็นพี่เลี้ยง จะต้องเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรในการจัดทำแผนการผลิตหรือแผนธุรกิจ รายครัวเรือน

โดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คน ดูแลเกษตรกร จำนวน 2 แปลง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำมาวางแผนการบริหารจัดการและแผนการผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเป็นผู้จัดการ แปลงทุกแปลง

เพื่อสามารถบริหารจัดการกลุ่มการผลิต ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการ

มิติที่ 5 ยกระดับคุณภาพผลผลิตข้าว โดยส่งเสริมให้มีการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐานทั้งระบบ GAP จำนวน 380 กลุ่ม เกษตรกรจำนวน 15,000 ราย และ เกษตรอินทรีย์ (ข้าวหอมมะลิ) ใน 6 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร, บุรีรัมย์, สุรินทร์, นครพนม, สกลนคร, อำนาจเจริญ และ ข้าวหอมกระดังงา ในจังหวัดนราธิวาส

มิติที่ 6 ส่งเสริมให้มีการทำเกษตรกรผสมผสาน / อาชีพเสริมในครัวเรือน โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการผลิตที่หลากหลายทั้งในรูปแบบเกษตรผสมผสาน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่นา รายละ 5 ไร่  จำนวน 420,000 ไร่  และการปรับระบบการผลิตไปสู่การผลิตพืชที่หลากหลายนอกฤดูนาปี เช่น ถั่ว และพืชผัก ต่าง จำนวน 300,000 ไร่  รวมทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีก 2 ล้านไร่ เพื่อลดปริมาณข้าวส่วนเกินของประเทศ และทำให้ชาวนามีรายได้จากการผลิตพืชอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง และทำการเกษตรที่ยั่งยืน ต่อไป

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการช่วยเหลือจะต้องใช้เครือข่ายภาคประชาชน

ในการปฏิรูปภาคการเกษตร ซึ่งในขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละชุมชน โดยมีการดำเนินการ ศพก. ในทั่วประเทศ อำเภอละ 1 ศูนย์ รวม 882 ศูนย์ และได้มีการจัดตั้งเครือข่ายของ ศพก. ทั้งระดับจังหวัด ระดับเขต และประดับประเทศ เพื่อให้เป็นเครือข่ายภาคประชาชน ในการปฏิรูปภาคการเกษตร มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. จัดให้มีการประชุมเครือข่าย ศพก. ทั้งระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศให้มี

การประสานเชื่อมโยง ในการขับเคลื่อนร่วมกัน

  1. การสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างเครือข่าย เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างคณะกรรมการ

เครือข่าย ศพก. กับภาครัฐ ได้รวดเร็ว ทันเวลา และทั่วถึง

  1. พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. เพื่อให้มีความรู้ และ ความเข้าใจในเรื่อง

นโยบายภาครัฐ สถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งจะส่ง      ผลการขับเคลื่อนการดำเนินการ ศพก. ในการปฏิรูปภาคการเกษตร

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะกรรมการ ศพก. เพื่อให้คณะกรรมการเครือข่าย ได้มีโอกาส

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และนำประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับของตนเอง

  1. การขับเคลื่อนของ ศพก. ในการปฏิรูปภาคการเกษตรนั้น ทุกศพก. จะยึดหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินการ และจะเป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตร ที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การผลิตแบบแปลงใหญ่ ต่อไป

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางการช่วยเหลือจะสามารถแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรต่างๆ ได้ และปฏิรูปภาคการเกษตรไปสู่การเกษตรที่สมดุล ยั่งยืน มั่นคง ตลอดไป