สระบุรี อันดับ 1 มีปัญหาคุณภาพอากาศมากสุด กรมควบคุมมลพิษ จับมือฟากวิชาการ สกว. – จุฬาฯ

กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับ สกว. และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเพื่อระดมความเห็นและจัดทำโรดแมป หรือแผนที่นำทางงานวิจัย ด้านการเพิ่มคุณภาพอากาศในไทยอย่างยั่งยืน ภายใต้ชุดโครงการ “ความรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการปฏิรูปประเทศ”  โดยมีเป้าหมายสำคัญในการระดมความคิดเห็นจัดทำโรดแมป เพื่อให้เกิดการจัดการด้านคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน ตลอดจนวิเคราะห์ ช่องว่าง และความท้าทายในงานวิจัยด้านคุณภาพอากาศที่ผ่านมา

2-%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปัจจุบัน กรมควบคุมมลพิษทำการตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ 5 ชนิดคือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ โอโซน และฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายและฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน           2.5 ไมครอน ในบางพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสียงอย่างในเมืองใหญ่  โดยปัจจุบัน 5 จังหวัด ของไทยที่พบปัญหาคุณภาพอากาศมากที่สุด คือ สระบุรี สมุทรปราการ ลำปาง กรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ  หากดูสถานการณ์เรื่องคุณภาพอากาศของโลก จะพบว่าปัจจุบัน 113 ประเทศ มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศแล้วและไทยเป็น 1 ในนั้น ในขณะที่อีก 80 ประเทศยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ

นโยบายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศตอนนี้คือ 1.การควบคุมและลดการระบาย        สารมลพิษจากแหล่งกำเนิดทั้งจากยานพาหนะ อุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง 2.บริหารจัดการมลพิษเชิงพื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพรองรับมลพิษ 3.เสริมสร้างศักยภาพหน่วยงานท้องถิ่นในการติดตามตรวจสอบสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดและในบรรยากาศโดยทั่วไป 4.พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ 5.ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดและเชื้อเพลิงสะอาด  6.เพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจสภาพรถประจำปี และ 7.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

1-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a

ด้านแนวทางการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ จะมีการแก้ไขทั้งในเขตชุมชนเมืองและเขตอุตสาหกรรม โดยเขตชุมชนเมืองจะปรับปรุงมาตรฐานยานพาหนะ พัฒนาการตรวจสภาพรถให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซินและดีเซล ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงจากพืช เชื้อเพลิงสะอาด      มีการดูแลบำรุงรักษารถโดยสารเชิงป้องกันและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี  ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบจราจรและระบบขนส่งมวลชน ในส่วนของเขตอุตสาหกรรม จะใช้หลักการบริหารจัดการมลพิษ        เชิงพื้นที่ ใช้เทคโนโลยีสะอาด กำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด             สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบมลพิษ

สำหรับภาพอนาคตด้านสิ่งแวดล้อมของไทยในระยะ 5 ปี (2560 – 2564) นี้ จะมีการจัดการมลพิษที่ต้นทาง โดยภาคการผลิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่มีมลพิษต่ำ โดยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบจัดการของเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภท     ที่เพียงพอและมีการจัดการมลพิษเป็นไปตามมาตรฐาน โดยเป้าหมายในระยะนี้คือ ระบบการบริหารจัดการมลพิษมีการพัฒนาในระดับที่ดีขึ้น

Advertisement

ด้าน รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล  หัวหน้าโครงการ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานะและภาพรวมงานวิจัยด้านการจัดการคุณภาพอากาศว่า ยังคงมีช่องว่างและปัญหาที่ท้าทาย  อาทิ บ้านเรายังมีนโยบายไม่ทันกับสถานการณ์ของมลพิษทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป           ยังขาดองค์ความรู้เชิงลึกต่อประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง ทั้งข้อมูลเรื่องความเป็นพิษ ดัชนีที่ต้องเฝ้าระวัง และเครื่องมือสำหรับชุมชนตรวจสอบสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง  ตลอดจนยังขาดศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศอย่างบูรณาการในทุกมิติ

ในขณะที่ รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผอ.ฝ่ายสวัสดิภาพและสาธารณะ สกว.  กล่าวว่าเวทีวันนี้นับป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศได้โรดแมปด้านการเพิ่มคุณภาพอากาศ  ทำให้นักวิจัยสามารถผลิตผลงาน               ได้ตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาของประเทศและกลุ่มผู้ใช้งานทั้งส่วนของภาคนโยบาย ภาครัฐ                 ภาคประชาชน หลังจากที่เคยมีโรดแมปเรื่องน้ำ และยุทธศาสตร์ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลมาแล้ว

Advertisement