เผยแพร่ |
---|
“ปัจจุบันโครงการบ้านปลาเข้าสู่ปีที่ 7 มีจิตอาสาเข้าร่วมแล้วกว่า 10,000 คน วางบ้านปลาสู่ใต้ทะเลไปแล้ว 1,400 หลัง เกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 35 ตารางเมตร ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี ที่มีชุมชนอาศัยอยู่มากกว่า 100 ครัวเรือน”
โดยวัสุดุที่ใช้สร้างบ้านปลา คือ ท่อ PE100 ซึ่งเป็นท่อที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทีลีนเกรดพิเศษ ของธุรกิจเคมิคอลส์ ที่เหลือจากการขึ้นรูป ซึ่งท่อชนิดนี้ใช้เป็นท่อส่งก๊าซ มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“บ้านปลารุ่นต่อไปจะนำขยะพลาสติกมาผสม เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง คิดว่าอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น”
“การออกทะเลเมื่อ 7-8 ปีก่อนต้องขับเรือไปไกล 10-15 ไมล์ทะเล หลังมีบ้านปลาชาวประมงในพื้นที่ไม่ต้องออกไปหากินไกล จะออกไปแค่ 700 เมตร หรือไม่เกิน 1.5 กิโลเมตรประมาณนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น ลูกหลานกลับมาทำงานที่บ้านเกิด รายได้เพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนไม่ถึงพันบาท ตอนนี้สูงสุด 4 พันบาทต่อวันแล้ว”
การสร้างบ้านปลาสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่ไม่ค่อยแข็งแรง พอปลาเข้ามาอยู่ 3-4 เดือนก็เก็บขึ้นฝั่ง แต่บ้านปลาของเอสซีจีนั้นมีอายุการใช้งานยาวนาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระยะทางในการทิ้งบ้านปลาลงสู่ทะเลจะดูความเหมาะสมของทะเลในแต่ละพื้นที่ โดยห่างจากชายหาดประมาณ 1 กิโลเมตร ทิ้งบนพื้นทราย ซึ่งการวางบ้านปลาจะอาศัยประสบการณ์การเป็นชาวประมงในการวิเคราะห์พื้นทะเล