สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ปลูก ”มะลิ-ดาวเรือง”รุ่ง สวนทาง กล้วยไม้ 5 ปี ผลผลิต-ส่งออกฮวบ

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจไม้ดอกไม้ประดับย้อนหลัง 5 ปี มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง โดยไม้ประดับมีอัตราเติบโตมากที่สุด 57.9% รองลงมา ได้แก่ เมล็ดไม้ดอก 32.29% พืชหัว 13.59% ไม้ตัดดอก 9.7% ตามลำดับ โดยไทยมีพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมด จานวน 77,000 ไร่ เป็นเกษตรกร 16,000 ครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นกล้วยไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกไม้ประดับที่มีการผลิตเป็นการค้ามากที่สุด ส่วนไม้ประดับอื่นๆที่มีปริมาณการปลูกในอับดับต้นๆ คือ ดาวเรือง และมะลิ อย่างละประมาณ 9,500 ไร่

สถานการณ์การผลิตไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ ประเทศไทย มี มะลิ ดาวเรือง มีอัตราการเติบโตมากสุด นอกจากนั้น ไม้ดอกไม้ประดับที่มีการผลิตเพื่อเป็น การค้า ในลำดับรองๆ ลงมาได้แก่ ปทุมมา หน้าวัว และไม้ตัดใบ โดยพื้นที่การ ผลิตไม้ดอกไม้ประดับจะอยู่ในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยปริมาณผลผลิต ไม้ดอกไม้ประดับ มะลิ 1,448 ตัน มูลค่าผลผลิต 288.152 ล้านบาท ดาวเรือง 1,118 ตัน มูลค่าผลผลิต 595.52 ล้านบาท ปทุมมา 72 ตัน มูลค่าผลผลิต 1.44 ล้านบาท ส่วนมูลค่าไม้ดอกอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย กุหลาบ บัวหลวง เบญจมาศ มีมูลค่ารวม 67 ล้านบาท

ส่วนการตลาดไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ สถานการณ์ตลาดไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆประเทศไทย ปริมาณการนำเข้า-ส่งออกการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับ ปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,197.9 ล้าน บาท โดยนำเข้าดอกไม้สดมากที่สุด มูลค่า 943.3 ล้านบาท รองลงมาคือ ไม้ประดับ 179.5 ล้านบาท เมล็ดไม้ดอก 42.9 ล้านบาท พืชหัว 19.8 ล้านบาท และใบไม้ ประดับอื่นๆ 12.2 ล้านบาท

การส่งออกไม้ดอกไม้ประดับ ปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,177 ล้านบาท โดยส่งออกต้นไม้ประดับมากที่สุด มูลค่า 673.9 ล้านบาท รองลงมา คือ ใบไม้ ประดับและอื่นๆ 235.5 ล้านบาท ดอกไม้สด 116.5 ล้านบาท พืชหัว 86.8 ล้านบาท และเมล็ดไม้ดอก 15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบในรอบ 5 ปี พืชหัว มีอัตราเติบโตมากที่สุด 24.13% รองลงมา ได้แก่ ใบไม้และอื่นๆ 13.5% ไม้ประดับ 13.2% ตามลาดับ ดอกไม้สดและเมล็ดไม้ดอกมีอัตราลดลง 8.3% และ 11.1% ตามลาดับ

ส่วนการดำเนินยุทธศาสตร์กล้วยไม้ปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเตรียมจัดทำ ยุทธศาสตร์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับฉบับปี 2562-2564 เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ที่ประสบปัญหาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2560 เทียบกับปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ 20,629 ไร่ เป็นเกษตรกร 2,260 ครัวเรือน ผลผลิตลดลง 47,137 ตัน ที่มีพื้นที่ปลูก 21,703 ไร่ แหล่งผลิต กล้วยไม้ที่สำคัญ ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี กรุงเทพมหานคร และ กาญจนบุรี

ผลผลิตกล้วยไม้ในประเทศ 50% และส่งออก 50% ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศอาเซียน พันธุ์ที่ส่งออก ได้แก่ สกุลหวาย มอคคา รา และแวนด้า มูลค่าในการส่งออกของประเทศไทย 1,800 ล้านบาท ประมาณ 50% เป็นกล้วยไม้หวาย (เอียสกุล ขาวสนาน ขาว5N) อีก 50% เป็น มอคคารา แวนด้า กล้วยไม้อื่นๆ รวมถึงต้นกล้วยไม้

การส่งออกกล้วยไม้ของไทย จะเป็นทั้งกล้วยไม้ตัดดอก และต้นกล้วยไม้ การส่งออกกล้วยไม้ตัดดอก ปี 2560 การส่งออก มีปริมาณ 25,054 ตัน มูลค่า 2,246.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีปริมาณ 22,604 ตัน มูลค่า 2,008.15 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.08% และ 4.01% ตามลาดับ ส่วนการส่งออกต้นกล้วยไม้ ในปี 2559 มีปริมาณ 2,626,000 ต้น มูลค่า 97.22 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่มีปริมาณ 13,573,000 ต้น มูลค่า 253.44 ล้านบาท หรือลดลง โดยเฉลี่ย 5 ปี 28.22% และ 16.01% ต่อปี ตามลำดับ

 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์