Auto Dietary อุปกรณ์ตรวจจับการบริโภคอาหาร

อาหารแต่ละประเภทที่คนเรารับประทานในแต่ละมื้อไม่เพียงแต่มีรสชาติที่แตกต่างกัน แต่เสียงที่เกิดจากการเคี้ยวยังคงมีความแตกต่างกันด้วย จากรายงานของนิตยสาร IEEE Sensors Journal ผศ.ดร. Wenyao Xu นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สร้างต้นฉบับแคตตาล็อกเสียงที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำกันจากอาหารที่ถูกบดเคี้ยและการกลืน

อุปกรณ์ Auto Dietary หรืออุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในการตรวจสอบอาหารที่ได้บริโภคเข้าไป มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ประเภทอื่นๆ เช่น Fitbit ซึ่งจะติดตามการเผาไหม้แคลอรีจากการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ Auto Dietary จะเป็นการตรวจสอบแคลอรีจากอาหารที่บริโภคโดยสวมใส่อุปกรณ์นี้ไว้ที่คอ โดย Auto Dietary มีลักษณะคล้ายสร้อยคอ มีไมโครโฟนขนาดเล็กที่มีความเที่ยงตรงสูง ขนาดเล็ก เท่าหัวซิป ทำหน้าที่บันทึกเสียงระหว่างที่มีการเคี้ยวและกลืนอาหารเข้าไป และข้อมูลจะถูกส่งโดยสัญญาณ Bluetooth ไปที่สมาร์ทโฟน จะมีการบันทึกและประมวลผลข้อมูลการรับประทานอาหารเก็บไว้ ทีมนักวิจัยได้ทดสอบการรับประทานอาหาร 6 ประเภท ได้แก่ แอปเปิ้ล แครอต มันฝรั่งทอด คุกกี้ ถั่วลิสง และถั่ววอลนัท โดยศึกษาในเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 13-49 ปี พบว่า Auto Dietary สามารถที่จะระบุประเภทอาหารได้ถูกต้อง ร้อยละ 85 โดย Auto Dietary จะทำงานทันทีที่มีการบริโภค และผู้ใช้จะไม่รู้สึกว่าถูกรบกวนจากการส่งข้อมูล แต่อย่างไรตามอุปกรณ์ดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในการวัดเสียงของอาหารที่มีความคล้ายคลึงกัน ตัวอย่าง เช่น แผ่นข้าวโพดอบแห้งเคลือบน้ำตาล และแผ่นข้าวโพดอบแห้งปกติ และยังไม่สามารถแยกความแตกต่างของอาหารที่ความซับซ้อน เช่น ซุปหรือพริกได้

สำหรับโครงการในอนาคตที่จะศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถแยกความแตกต่าง และรสชาติของอาหารที่ได้บริโภค เพื่อขยายความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการของอาหารผ่านระดับน้ำตาลในเลือดและการตรวจวัดอื่นๆ โดยระบบจะรวบรวมและแสดงข้อมูลในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

ที่มา : รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน