กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เดินหน้าสร้างโอกาสให้สตรีทั่วประเทศ

“สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” ลงพื้นที่ติดตามผลดำเนินงานกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นถึงพลังและความสามารถของผู้หญิง ลั่นพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจ เป็นแหล่งทุนให้กับสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อเสริมสร้างบทบาทสตรี พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและคุณภาพชีวิต เผยปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนกว่า 12 ล้านคน องค์กรสตรีกว่า 15,000 องค์กร สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่กลุ่มสตรี กว่า 26,000 โครงการ เป็นเงิน 3.1 พันล้านบาท ส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่าย กว่า 5,000 โครงการ เป็นเงิน 339 ล้านบาท

นายปรีชา กิตติสัตยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เปิดเผยว่า แม้สังคมไทยจะให้ความสาคัญกับบทบาทสตรีในด้านต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงมีการยอมรับในความเท่าเทียมกันระหว่างชาย-หญิงมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังคงมีสตรีถูกเลือกปฏิบัติและขาดความเสมอภาคอยู่มาก รัฐบาลจึงมีนโยบาย จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เพื่อส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีในทุกด้าน รวมทั้งมุ่งลดผลกระทบจาก ปัญหาสตรีที่ถูกกระทาความรุนแรงในครอบครัวหรือขาดโอกาสในสังคม โดยมี สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (สกส.) กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนภารกิจ

“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นกองทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้สตรีได้เข้าถึงแหล่งทุน หรือ เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่า วงเงินสูงสุดโครงการละ 200,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี นาไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือพัฒนาอาชีพ ผ่านการรวมกลุ่มของสตรี โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งที่มาจากภายในกลุ่มของสตรีเอง โดยเริ่มต้นจากความต้องการของสตรี บริหารจัดการด้วยสตรี สตรีมีความสุข และสตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2561 กองทุนฯ จะยังคงก้าวต่อไปในการพัฒนาบทบาทของสตรี โดยได้จัดสรรงบประมาณประเภทเงินทุนหมุนเวียน 1,498,000,000 บาท และประเภทเงินอุดหนุน 295,000,000 บาท แก่กลุ่มสตรีในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้สมาชิกและครอบครัวได้เฉลี่ย 7,000–10,000 บาท

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี รวมทั้งนาเสนอผลงาน กลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีดำเนินโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ กิจกรรม “Inside Product By Thai Womenfund สัญจร” ขึ้น ระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2561 ในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อตรวจเยี่ยมและการติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ทั้งนี้ปัจจุบัน ในพื้นที่ จังหวัดน่าน มีสมาชิกกองทุนฯ ประเภทบุคคลธรรมดา 139,561 คน และประเภทองค์กร 644 องค์กร โดยมีการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2561 ทั้งสิ้น 18,619,400 บาท แยกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1. งบบริหารจัดการกองทุนฯ 3,612,700 บาท
2. งบลงทุน 6,700 บาท
3. งบอุดหนุน 3,000,000 บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 48 โครงการ
4. งบทุนหมุนเวียน 12,000,000 บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 74 โครงการ

โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าว นอกจากการเสวนา “Inside Product By Thai Womenfund สัญจร” ในประเด็นการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งให้กับหญิงไทย จากผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และพัฒนาการจังหวัด โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนากว่า 100 คนแล้ว กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้นาคณะลงพื้นที่ชม การดาเนินงานของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2 แห่ง ได้แก่ กลุ่มไข่เค็มบ้านแสงดาวพัฒนา หมู่ 17 ตาบลฝายแก้ว อาเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรที่ประสบความสาเร็จ โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ทาการเกษตรน้อย ประสบปัญหาน้าท่วมขังทุกปี และไข่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค ชาวบ้านจึงมีแนวคิดเรื่องการถนอมอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ก่อนที่ต่อมาจะมีการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านผลิตไข่เค็มสมุนไพรขายเป็นรายได้เสริม จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและได้รับการสนับสนุนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

โดยปัจจุบันกลุ่มไข่เค็มบ้านแสงดาวมี นางระเบียบ ปางน้อย เป็นประธาน มีสมาชิกรวม 30 คน ได้รับ การสนับสนุนเงินกู้จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 200,000 บาท มีการผลิตไข่เค็มออกขายทั้งในตลาดชุมชน ตลาดท่องเที่ยว ตลาด OTOP รวมถึงขายส่งให้กับร้านค้าทั้งในและต่างจังหวัด ทาให้เกิดการจ้างงานในชุมชน สมาชิกมีรายได้เสริม และมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

ส่วนกลุ่มที่สอง คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านศรีนาชื่น ตั้งอยู่หมู่ 4 ตาบลทุ่งศรีทอง อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มี นางเนาวรัตน์ ชุ่มวงศ์ เป็นประธาน มีสมาชิกกลุ่ม 24 คน โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 100,000 บาท โดยเห็ดที่เปิดออกขาย ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฏาน เห็ดหูหนู เห็นนางรมดา เห็ดฮังการี เห็ดขอนขาว เห็ดขอนดา รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ด เช่น เห็ดหยอง แหนมเห็ด น้ายาเห็ด ส่งขายไปยัง พื้นที่ต่างๆ ทั่วจังหวัด รวมถึงมีออเดอร์จากต่างจังหวัด และแม่ค้ามารับซื้อถึงในชุมชน

นอกจากนี้กลุ่มยังได้ผลิตก้อนเห็ด หัวเชื้อเห็ด และดอกเห็ด ขายให้กับสมาชิกและผู้สนใจ พร้อมให้คาแนะนาเกี่ยวกับการปรับปรุงสถานที่เพื่อผลิตหัวเชื้อให้ได้มาตรฐาน การลดต้นทุนการผลิตก้อนเห็ด การปรับปรุงและพัฒนา เตานึ่งก้อนเห็ดจากพลังงานชีวมวล ทาให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน

“การดำเนินงานของกลุ่มสตรีทั้ง 2 กลุ่ม ถือเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เห็นถึงพลังและความสามารถของสตรี ซึ่งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ยืนยันที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนฯ ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นแหล่งทุนในการพัฒนาสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตสตรีทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องและเต็มความสามารถต่อไป” นายปรีชา กล่าว