ที่มา | ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรว่า ปัจจุบันยังไม่มีการแพร่ ระบาดในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ มุ่งป้องกันไม่ให้โรคนี้เข้ ามาติดต่อหมูในประเทศ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงด้านอาหาร โดยกรมปศุสัตว์ได้ประสานความร่ วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกี ฬา กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันบูรณาการทำงานพร้ อมยกระดับการป้องกันโรคให้แน่ นหนายิ่งขึ้น เพื่อเตรียมออกประกาศห้ามนักท่ องเที่ยวนำเข้าหรือพกพาเนื้อสั ตว์ และสินค้าที่มีส่วนประกอบของเนื้ อสัตว์โดยเฉพาะจากหมูที่มาจากจี นซึ่งเป็นประเทศที่มี การระบาดของโรค ไม่ให้เข้ามาในประเทศได้อย่ างเด็ดขาด
“ขอย้ำกับประชาชนว่าอย่ากังวล เพราะโรคนี้ไม่ติดต่อคนหรือสั ตว์ชนิดอื่น โดยเกิดเฉพาะในหมูเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกั นและวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ที่สำคัญโรคนี้ยังไม่เข้ ามาในเมืองไทย อย่างไรก็ตามในช่วงตรุษจีนที่ จะถึงนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ ยวชาวจีนเข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำอาหารที่มีส่ วนประกอบของหมูเข้ามาด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่ าวจึงต้องเข้มงวดตรวจสอบยิ่งขึ้ น โดยในทุกสนามบินเจ้าหน้าที่ได้ เพิ่มจำนวนสุนัขบีเกิล ทำการตรวจสัมภาระของผู้ โดยสารให้มีความถี่มากขึ้น ที่สำคัญกรมฯเตรียมจะเสนอคณะรั ฐมนตรีเพื่อยกระดับเรื่องนี้เป็ นวาระแห่งชาติในเร็วๆนี้” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว
ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้ ออกประกาศห้ามนำเข้าสุกรและผลิ ตภัณฑ์มา 2 ครั้ง รวมเป็นเวลา 180 วัน นับจากพบการระบาดในจีนเมื่อ 30 สิงหาคม 2561 พร้อมร่วมมือกับฝ่ายทหาร จังหวัดที่มีชายแดนติดกั บประเทศเพื่อนบ้าน ด่านกักกันสัตว์ทุกด่าน และสนามบินทุกแห่ง ในการตั้ง 50 ด่านทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบการลักลอบนำเข้าสิ นค้าปศุสัตว์และเข้มงวดการฆ่ าเชื้อที่อาจจะแฝงมากั บยานพาหนะของนักท่องเที่ยว จากเดิมที่ใช้คลอรีนผสมน้ำยาฆ่ าเชื้อ เปลี่ยนเป็นยาฆ่าเชื้อแบบโฟมที่ สามารถฆ่าเชื้อในอากาศได้นานกว่ า 30 นาที ขณะเดียวกันยังร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และภาคมหาวิทยาลัยทั้งจุ ฬาลงกรณ์และมหิดล ในการสกัดกั้นโรคนี้ ควบคู่กับการให้ความรู้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศ และยกระดับการเลี้ยงให้มี ความปลอดภัยทางชีวภาพ ระบบการปฏิบัติการทางเกษตรที่ดี ทั้ง GAP (Good Agricultural Practice) และ GFM (Good Farm Management) ที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการอยู่ เพื่อป้องกันโรคอย่างสูงสุด