ชุมชนตำบลบ้านแป้น ปัตตานี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แก้ปัญหาเกษตรกรรม

ชุมชนหนึ่งใน​ต.บ้านแป้น​ อ.สายบุรี​ จ.ปัตตานี​ แหล่ง​ นา​ ภูเขา​ มะพร้าว​ ชุมชนที่ยังคงความงามทางธรรมชาติที่บริสุทธ์​ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร​ และภูมิสภาพสิ่งแวดล้อมอันสวยงาม​ มีแหล่งน้ำ​ หล่อเลี้ยงสวนนาข้าว​หลายพันไร่​ สวนมะพร้าว​ และพื้นที่เกษตร​กรรมซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมาอย่างยาวนาน​ อาชีพเกษตรกรตามวิถีพอเพียงเลี้ยงดูปากท้องของชุมชน​ตลอดมา

แต่เมื่อไม่นานมานี้​ มีปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอ​เกิดปัญหาส่งผลกระทบตามมา ทำให้ชาวบ้านต้อง​ขึ้นไปสำรวจต้นน้ำและ​ประชุมร่วมกันเพื่อสามารถจัดการกับแหล่งน้ำของตน​ ได้​สร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการปรับปรุงฝายหิน​ สร้างบ่อเก็บน้ำ​ จัดการสร้างบริหารจัดการน้ำประปาภูเขา​ สร้างฝายเกษตรด้านล่าง​ มีการติดมิเตอรน้ำ​ เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและหวงแหน​ ได้ออกแบบการใช้น้ำจนสามารถต่อยอดผลิตเป็นน้ำดื่ม​น้ำใช้​ทุกครัวเรือน

ทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนามูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เข้ามาช่วยส่งเสริม​และแก้ปัญหาให้กับชุมชน​ เช่น การทำบัญชีลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับชาวบ้าน​ รวมทั้ง​ศึกษาเรียนรู้การต่อยอด​ เพิ่มมูลค่า​ทางการเกษตร​ ให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น​ จากผลผลิตทางการเกษตรแบบนวัตกรรมใหม่มาเสริม​ ใชัปุ๋ยที่ผลิตเอง​จากขุยมะพร้าว​ มูลสัตว์ มาใช้ประโยชน์ทั้งหมด​ กับสวนดั้งเดิมทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว​ คือมะพร้าว​ และข้าว​ จนทำให้ชุมชนได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้น​ และยังเพิ่มเติมด้วยการปลูกพืชพันธ์เกษตรใหม่ๆ​ แบบจากต้นน้ำกลางน้ำ​สู่ปลายน้ำใช้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เช่นผัก​สลัด​ ผักสวนครัว​ แปลงสมุนไพร​ เพื่อผลิตยา​สมุนไพร​ ป้อนให้กับโครงการของรพ.สมเด็จยุพราช​สายบุรี​ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่ิองตลอดทั้งปี

นายสุรเดช​ เทพเสาร์​ เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนามูลนิธิปิดทองหลังพระฯ​ เปิดเผยว่า​ ที่นี่จะมีการจัดการอยู่ 5 กลุ่ม​ กลุ่มแรกจะเป็นกลุ่ม​ น้ำหลักๆ คือการบริหารจัดการน้ำ​ นำน้ำจากฝายมาใช้ในหมู่บ้าน โดยการต่อยอด​กับเกษตรปลูกผักรอบบ้าน​ สามารถลดค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อวัน​ อันที่ 2​ นำชาวบ้านเกษตรกรหัวไว​ใจสู้​ มารวมกลุ่มกันทำเกษตรแปลงรวม​มีพื้นที่ ​2 ไร่กว่าทั้งหมด ​23​ ราย​ทำเกษตรเพิ่มรายได้ตลอดปี​ ส่งผักต่างๆ เช่นผักสลัดสู่ตลาดต่างๆ ​ส่วนกลุ่มที่ 3​ คือ​กลุ่มสมุนไพร​ ร่วมมือกับรพ.สมเด็จยุพราชสายบุรี​ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ​ ปลูกไพร​ปลูกขมิ้น​ ตะไคร้​ และมีการแปรรูปจาก​ส่งเสริมพันธ์พืชศูนย์ยะลา​มาช่วย​ ส่วนที่ 4​ คือกลุ่มมะพร้าว​ แบ่งงานย่อยไปอีก​ 2 ​งาน​ คือเปลือกมะพร่าวมาผลิตขุยมะพร้าว​ไปส่งขาย​อีกส่วนคือเพิ่มผลผลิตมะพร้าว​ต่อต้น​ จาก 40​ ลูกเป็น 60 ลูก​ต่อต้น/ปี สุดท้ายกลุ่มดูแลน้ำ​ การติดมิเตอรน้ำเพื่อนำเงินมาส่งเสริมพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป

Advertisement

นายจเร ราชแก้ว​ ตัวแทนกลุ่มเกษตรหลังบ้าน ​กล่าวว่า ได้มีการปลูกผักข้างบ้าน​จากการจัดการน้ำได้แล้วซึ่งสถาส่งเสริมกิจกรรมปิดทองหลังพระได้มาช่วย​แล้ว​ ขณะนี้เราได้ปลูกผักข้างบ้าน​ ปลูกผักหลากชนิด​ มากมายหลายชนิดในครัวเรือน​ และรอบๆ​ บ้านมากถึง​ 30​ ชนิด​ สามารถนำมาใช้​มากิน​ และขายได้ด้ว​ย​ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มา​ก​ยิ่งขึ้น ตลอดจนสวนของผมเป็นแปลงต้นแบบเป็นแปลงผักตัวอย่างให้กับชาวบ้านได้นำมาเรียนรู้​นำไปใช้​ เช่นการปลูกผัก​ต่างๆ ถั่ว​ และทั้งดอกไม้สวยงามเสริมอีกด้วย

Advertisement

นี่เป็นชุมชนต้นแบบอีกตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในชายแดนภาคใต้​ การจัดการปัญหาร่วมกัน​ ที่ยึดถือ​หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง​ ร่วมจัดการ​ ร่วมสร้าง​ ด้วยรักสามัคคี​ มีความเป็นอยู่ที่ดี​ขึ้น​ความเข้มแข็งของชุมชน​ จะนำมาซึ่งคงามสงบและเกิดสันติสุข​อย่างยั่งยืนต่อไป