ชุมชนสงขลากับวิถี “ฟื้นฟูปูม้า”

ปัจจุบันการอนุรักษ์ธรรมชาติถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรและผลิตผลจากสิ่งแวดล้อมจากชาวเกษตรหรือชาวประมง ที่ขณะนี้พบว่า ยิ่งเราหาประโยชน์จากธรรมชาติมากเท่าไหร่ สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายมากเท่านั้น โดยที่ผ่านมาจังหวัดสงขลา บริษัท ที เอส เอ็น ไวร์ จำกัด ได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ป.ทรัพย์อนันต์ จ.สงขลา ผลักดันสร้างต้นแบบในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนและการจับปูม้าด้วยลอบดักปูสมัยใหม่เพื่อหวังสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 ในช่วงกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ป.ทรัพย์อนันต์ ต่อสู้เพื่อพิทักษ์สัตว์น้ำทะเล หรือ “ปูม้า” ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำถิ่นของจังหวัด ที่กำลังลงและสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ สามารถนำประชากรปูม้าคืนสู่ท้องทะเล สร้างวงจรอนุรักษ์หมุนเวียนตั้งแต่การจับปูม้าจากทะเลเพื่อหากินและสร้างรายได้ ไปสู่การคืนพันธุ์ปูม้าสู่ท้องทะเล ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์วิถีธรรมชาติท้องทะเลให้แก่ชุมชนชาวบ้านใน จ.สงขลา เอง


นายชำนาญ มานิล ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้เพาะพักลูกปูของกลุ่มประมงพื้นฐาน ป.ทรัพย์อนันต์ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ป.ทรัพย์อนันต์ ซึ่งมีนายอนันต์ มานิล เป็นประธานกลุ่มฯ เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกประมาณ 200 คนที่ประกอบอาชีพประมงใน อ.สิงหนคร จ.สงขลา ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่จะทำประมงในทะเลบริเวณแอ่งกระทะในเขต อ.สทิงพระ และ อ.ระโนด ปัจจุบันได้บริหารกลุ่มในลักษณะ “สหกรณ์และธนาคารปูม้า” ใช้เทคนิคการเพาะปูม้าเพื่อผลผลิตแบบคุณภาพ การจัดการธนาคารปูม้า และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ตลอดจนการทำประมงปูม้าอย่างมีความรับผิดชอบ และใช้นวัตกรรมอุปกรณ์จับปูม้าที่มีอายุการใช้งานยืนยาวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในอดีตนั้นชาวบ้านใน อ.สิงหนคร มีชาวประมงเพิ่มขึ้นเพิ่มทุกวัน ขณะที่ปริมาณสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปูม้ามีปริมาณลดลงโดยก่อนหน้านี้มีการใช้อวนซึ่งทำลายธรรมชาติมาก ก่อนมาใช้ลอบดักปูม้าซึ่งต้องมาซื้อเองก่อนแต่งลวด มีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าจะเสร็จ


ต่อมาทางกลุ่มจึงได้ริเริ่มหาทางเพิ่มปริมาณปูทะเลโดยการรวมกลุ่มกันขอบริจาคปูไข่ทะเลนอกกระดองจากสมาชิกเพื่อทำการเพาะพันธุ์ลูกปู ในระยะแรกยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง จึงทำได้เพียงการปล่อยแม่ปูที่จับได้ลงทะเลเท่านั้น วิถีชีวิตของชาวบ้านก่อนหน้านี้ไม่เคยมีความรู้ว่าปูสามารถเพาะขยายพันธุ์เองได้ ก่อนจะได้รับความรู้จากเรา โดยในส่วนของผู้นำและสมาชิกกลุ่มประมงพื้นฐาน ป.ทรัพย์อนันต์ และทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จปล่อยคืนลูกปูสู่ธรรมชาติได้มากกว่าปีละ 150 ล้านตัว โดยลูกปูที่เพาะได้จะถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเท่านั้นไม่ขายให้ไปเพาะเลี้ยงต่อ


ด้านคุณยุทธชัย เตชะวิจิตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลยุทธ์การตลาด ทีเอส เอ็น ไวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย”ลวดนวัตกรรมใหม่” มาตรฐานญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์”เซนเทค” กล่าวว่า สำหรับบริษัทได้พยายามมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์นี้ โดยเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2559 เราได้มอบผลิตภัณฑ์”ลอบดักปูลวดเซนเทค”ที่ผ่านการทดสอบ ISO9277 และถูกพัฒนาและออกแบบมาให้เพื่อแก้ปัญหาด้านการใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำการลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สำหรับอุปกรณ์จับสัตว์น้ำประเภทลอบดักปูให้กับกลุ่มเกษตรกรและชาวประมงเรือ เพื่อนำไปทดลองใช้และทดสอบคุณภาพการใช้งานจริงซึ่งลอบดักปูลวดเซนเทคสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาและประโยชน์โดยตรงต่อจากชาวประมงทั้งด้านความคุ้มค่า ความทนทานสามารถป้องกันการสึกกร่อนและเกิดสนิทเมื่อใช้งานในน้ำทะเลน านกว่า 3ปีที่สำคัญ ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่า 2-6 เท่าและยังคงความสมดุลทางทะเลให้กับชุมชนด้วย
“ที่ผ่านมา เราตระหนักว่า จากปัญหาปริมาณปูม้าที่ดลงจากปัจจัยต่างๆ ทั้งการจับปูม้าตลอดทั้งปีที่มากเกินอัตรากำลังผลิตตามธรรมชาติรวมทั้งการจับปูม้าเพศเมียที่มีไข่นอกกระดองมาขายและการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสมล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่าง “ปูม้า” ที่ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้ลดลงและคุณสมบัติของลอบดักปูม้าเซนเทค คือ 1.ป้องกันสนิมด้วยเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น หรือป้องกันการเกิดสนิมได้นานถึง 3 ปีเมื่อใช้งานในทะเล 2.ทนทานต่อแรงกระแทก ไม่ทำให้ลวดเสียรูปทรงซึ่งแตกต่างจากลวดดักปูธรรมดาหรือลวดไฟฟ้า 3.ป้องกันลอบหัก โดยสนิมไม่กัดเข้าไปถึงเนื้อลวด 4.ป้องกันตาข่ายขาดจากการเสียดสี ซึ่งถือว่าคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพกว่า” นายยุทธชัยกล่าว