“ดุกบิ๊กอุย”ปลาหนังลูกผสม สร้างรายได้ 7 หลักต่อปี ที่ปทุมธานี

ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นปลาลูกผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียและปลาดุกเทศเพศผู้ ซึ่งการเพาะขยายพันธุ์เป็นไปได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย โดยลูกปลาที่เกิดจากคู่ผสมนี้ระหว่างปลาดุกทั้งสองนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ  แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านจะติดเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ

คุณชนชัย ปั้นทองสุข เกษตรกรคนเก่งชาวจังหวัดปทุมธานีเป็นหนึ่งคนที่ได้หันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยเป็นอาชีพหลัก อยู่ที่จังหัวดปทุมธานี บนพื้นที่กว่า 160 ไร่

คุณชนชัย เล่าให้ฟังว่า เดิมตนประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาสืบทอดมาจากพ่อและแม่  เหมือนกับคนอื่นๆที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน  แต่ทำมาระยะหนึ่ง ในชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนอาชีพ หาอาชีพเสริมเข้ามาทำควบคู่กับการทำนา เพราะกว่าต้นข้าวจะให้ผลผลิตได้ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนการผลิตที่สูง  ต้องหาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เข้ามา และในขณะนั้นมีเพื่อนบ้านเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน แต่ละปีได้ผลผลิตดี ทำรายได้สูงในแต่ละรอบ จึงสนใจและทดลองเลี้ยงดู

“เริ่มแรกผมเริ่มทดลองเลี้ยง 2 บ่อ แต่ละบ่อกว้างประมาณ 2-3 ไร่ ศึกษาลองผิดลองถูกกับการทุกกระบวนการเลี้ยงมาระยะหนึ่ง ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ปลามาปล่อย ปริมาณการปล่อยแต่ละบ่อ การเลือกอาหารให้กับปลาที่เลี้ยงในแต่ละช่วงอายุ สอบถามจากผู้ที่รู้ ศึกษาจากสื่อต่างๆ จนประสบความสำเร็จ ได้ปลามีน้ำหนักดี ขายได้ราคา ตลาดมีรองรับ จากนั้นผมจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นโดยการปรับเปลี่ยนท้องนากว่า 160 ไร่ ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาดุกเพิ่มขึ้นทุกปี จนปัจจุบันมีบ่อเพาะเลี้ยงทั้งหมด 55 บ่อ”

เตรียมบ่อเลี้ยง ก่อนปล่อยลูกปลา

การเลี้ยงปลาดุก ถึงแม้จะเป็นปลาหนังที่เลี้ยงง่าย แต่ต้นทุนค่อนข้างจะสูง 400,000 – 500,000 บาทต่อบ่อ จะลงทุนหรือทำการเพาะเลี้ยงจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทุกกระบวนการ โดยเฉพาะการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และกับความสามารถในการดูแลที่ครอบคลุม

“เนื่องจากพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งพื้นที่ด้านหน้าค่อนข้างจะแคบ แต่มีความยาว การว่างตำแหน่งบ่อจึงเป็นลักษณะต่อกันแนวยาวลึกเข้าไปด้านใน โดยแต่ละบ่อจะห่างกันประมาณ 1.5 – 2 เมตร สองฝั่งของพื้นที่ที่ใช้ขุดทำเป็นบ่อ จะขุดร่องน้ำขนาบสองข้าง ความกว้างประมาณ 1-1.5 เมตร ด้านหนึ่งใช้ดึงน้ำเข้าบ่อเลี้ยง อีกด้านหนึ่งใช้ระบายน้ำออกจากบ่อเพาะเลี้ยงไปยังแปลงนารอบๆของเกษตรกร

ความลึกของบ่อจะประมาณ 2 เมตร ส่วนความกว้างขึ้นอยู่กับพื้นที่และความต้องการของผู้เลี้ยง แต่ส่วนใหญ่แล้วบ่อเพาะเลี้ยงจะกินเนื้อที่ประมาณ 2-3 ไร่ และเพื่อป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทำร้ายปลาด้านบนบ่อเลี้ยงจะใช้ไม้ไผ่ปักสลับเป็นลักษณะฟันปลาและใช้ตาข่ายตาถี่กางขึงกับไม้ไผ่ที่ปักไว้เพื่อป้องกันนกเข้ามาจิกและทำร้ายปลาที่เลี้ยงที่เลี้ยง”

สำหรับบ่อเลี้ยงที่ทำการจับปลาไปจำหน่ายแล้ว บ่อเลี้ยงไหนที่ยังคงสามารถเลี้ยงปลาต่อได้ ก็จะปล่อยลูกปลาลงไปเลี้ยงต่อทันที แต่หากบ่อเลี้ยงไหนที่ตื่นเขินหรือมีปลาตายเยอะจนเกินไป คุณชนชัยจะขุดลอกและทำความสะอาดเปลี่ยนน้ำใหม่ โดยทำการสูบน้ำออกปล่อยลงร่องระบายน้ำที่ขุดไว้ด้านใดด้านหนึ่งของบ่อ ขุดลอกบ่อและตากแดดทิ้งไว้ระยะหนึ่ง พอบ่อเลี้ยงพร้อมก็จะทำการดึงน้ำจากร่องน้ำที่ขุดไว้อีกด้านของบ่อเข้ามาและปล่อยลูกปลาลงไปเลี้ยงต่อได้ทันที

ปล่อยในอัตรที่เหมาะ บริหารจัดการด้านอาหาร

เพื่อไม่ให้ปลาทำร้ายหรือแย่งอาหารกันเองในแต่ละบ่อจึงกำหนดอัตราการปล่อยลูกปลาลงไป ซึ่งคุณชนชัยบอกว่าบ่อขนาดประมาณ 2-3 ไร่ จะปล่อยลูกปลาขนาด1-2 นิ้วที่ได้จากการอนุบาล ประมาณ 70,000-80,000ตัวต่อบ่อ อัตราการรอด 80 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตได้ประมาณ 20 ตันต่อบ่อ

ระยะเวลาในการเลี้ยง คุณชนชัย บอกว่า ตั้งแต่ปลาเล็กไปจนถึงจับจำหน่าย จะมีปลาหลากหลายขนาด ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปทำปลาเค็ม ปลาย่าง และชื้อไปปล่อย โดยเฉลี่ยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 เดือนในการเลี้ยง

ส่วนอาหารปลาเล็กจะให้เป็นอาหารเม็ดประมาณ 20 วัน แต่หลังจากปล่อยลงบ่อเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นเศษซีโครงไก่ เป็ด ใส่ไก่ ใส่เป็ด โดยจะนำมาบดให้ละเอียดด้วยเครื่อง ก่อนนำไปให้ โดยแต่ละวันจะให้เพียง 1 ครั้ง ปริมาณการให้อาหารแต่ละครั้งจะสังเกตุจากการกินเยื่อของปลาในแต่ละบ่อว่าจะกินมากน้อยเพียงใด ซึ่งการเลี้ยงด้วยซี่โครงไก่ เป็ด บด จะมีอัตรการแลกเนื้อและการเจริบเติบโตที่เร็วกว่า ที่สำคัญต้นทุนด้านอาหารก็ถูกกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด

สำหรับเรื่องการจำหน่าย คุณชนชัยบอกว่า จะมีลูกค้ามารับชื้อที่ปากบ่อ โดยทุกๆวันจะจับจำหน่ายได้วันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัน ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 40-45 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)  โดยเฉลี่ยปลาประมาณ  4-5 ตัว จะมีน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ทำรายได้วันละ 400,000 – 500,000 บาท(ยังไม่หักรายจ่าย)ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนแล้วยังไม่เพียงพอ การบริหารจัดการเงินที่จะนำมาใช้จ่ายจึงเป็นเงินหมุนเวียน โดยการกูยืมจากแหล่งเงินทุนต่างๆเข้ามาช่วย

“การเพาะเลี้ยงปลาดุก ต้องใช้ต้นทุนที่สูงอย่างที่บอก ผมต้องขอบคุณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธกส. ซึ่งเป็นธนาคารแห่งเดียวที่ครอบครัวได้ใช้บริการมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ถึงในยุคแรกๆจะให้สินเชื้อน้อย การติดต่อและข้อจำกัดที่เกษตรกรบางคนไม่สามารถขอใช้บริสินเชื้อได้ แต่ ณ ปัจจุบัน ธนาคารได้เปิดทางเลือกให้กับเกษตรกรทุกกลุ่ม  ไม่มีข้อจำกัดที่ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน การอนุมัติวงเงินแต่ละครั้งให้เยอะ ซึ่งตัวผมมองว่าเป็นธนาคารเพื่อเกษตรกรหลายๆคนรวมถึงตัวผมเอง”คุณชนชัยกล่าวทิ้งท้าย