เทคนิคการเพาะปลาเบญจพรรณในแปลงนา ลดต้นทุน เพิ่มทางเลือก สร้างความยั่งยืน

การเพาะเลี้ยงปลาปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่เห็นและนิยมกัน คือ การเพาะเลียงในบ่อดินขนาดใหญ่  ในกระชังริ่มแม่น้ำ บ่อซีเมนซ์ และอื่นๆ (เชิงพานิชย์) ซึ่งการเพาะเลี้ยงตามที่กล่าวมา สามารถควบคุมปริมาณ น้ำหนัก  อีกทั้งยังสามารถเร่งการเจริญเติบโต ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียง 4-5 เดือน ก็สามารถจับไปจำหน่ายทำเงินไว้กว่าการเลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ

คุณพรปวีร์ แสงฉาย เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่หันมาให้ความสนใจกับอาชีพเพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณควบคู่กับการทำนาในพื้นที่ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

“พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ลุ่ม เหมาะที่จะเพาะเลี้ยงปลามากว่าอาชีพอื่นๆ  เนื่องจากมีระบบชลประทานที่พร้อม เพียงเปิดน้ำเข้าบ่อก็สามารถเพาะเลี้ยงปลาได้แล้ว ประจวบเหมาะในช่วงนั้นทางญาติฝ่ายแม่เลี้ยงกันอยู่ ทำให้เราได้เห็นได้สัมพัสและศึกษาวิธีการเลี้ยงจนเกิดความชำนาญระดับหนึ่ง ซึ่งในช่วงขณะนั้นเอง ก็มองและศึกษาตลาดไปพร้อมกัน มองว่าตลาดต้องการปลาอะไร ไซด์ไหน เพื่อที่จะได้ผลิตให้ตรงกับตลาดและผู้บริโภค

ธรุกิจเพาะเลี้ยงปลาของคุณพรปวีร์มีทั้งหมด 2 แบบ ด้วยกัน คือการเลี้ยงในบ่อดินทั่วไป 150 ไร่ และการเลี้ยงปลาผสมผสานในแปลงนาอีก 12 ไร่

ศึกษาตลาดเพื่อการผลิต  ขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างเป็นลำดับ

ในช่วงแรก เริ่มที่ปลาแรด แต่ก็ต้องไปจบที่ตลาด จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นปลานิล เนื่องจากตลาดอ่างทองเป็นตลาดขนาดใหญ่ระดับภาคกลางมีความต้องการปลาเหล่านี้ต่อเนื่อง  อีกทั้งมีวัตถุดิบ เช่น รำข้าว ปลายข้าว ถั่วเขียวที่ตกเกรดสามารถนำมาเป็นอาหารให้ปลานิลได้  ด้วยความพร้อมทางด้านอาหารและตลาด แหล่งลูกปลาก็หาไม่ยาก จึงตัดสินใจหันมาเลี้ยงปลานิลแทน”

คุณพรปวีร์ เริ่มเพาะเลี้ยงปลาบนพื้นที่  25 ไร่ โดยสูตรที่ใช้จะเป็นสูตรที่ตนไปศึกษามาและมาปรับเปลี่ยนคัดเกลาประยุกต์เป็นของตัวเองใหม่ ซึ่งผลที่ออกมาปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตได้น้ำหนักดี ขนาดไซด์เป็นไปตามที่ตลาดต้องการทุกตัว และหลังจากเพาะเลี้ยงไปได้ 4 เดือน คุณพรปวีร์ ได้เปิดบ่อเพิ่มอีก 20 ไร่ โดยบ่อที่เปิดเพิ่มนี้ จะมีการซุ่มตรวจเซ็คน้ำหนักปลาทุกๆเดือน เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณสูตรและปริมาณอาหารที่จะให้ในแต่ละครั้ง

หลังจากที่เห็นว่าแนวทางการเพาะเลี้ยงเป็นไปได้ด้วยดี คุณพรปวีร์ จึงตัดสินใจเพิ่มพื้นที่เพาะเลี้ยงเพิ่มอีก 19 ไร่ รวมหมด 64 ไร่ โดยทั้งหมดจะเลี้ยงระบบเชิงพานิชย์  ควบคุมอาหาร จัดสูตรอาหารที่เหมาะสมกับปลาในแต่ละบ่อ หมั่นสังเกตุปลากินอาหารมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงต้องเหมาะสมกับปลา คือ pH 6.5-7.0

สำหรับอัตรการปล่อยปลาจะอยู่ที่ 3500-4000 ตัว/ ไร่ อัตราการรอดไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็น

อาหาร จะเป็อาหารเมล็ดทั่วไป เสริมด้วยพืชพรรณธรรมชาติ เช่น ถั่วเขียว รำข้าว ฯลฯ โดยจะไม่หว่านลงไปในบ่อเลี้ยงโดยตรง จะใช้วิธีผูกติดกับหลัก (1 หลัก/ ปลา 15000 ตัว)ซึ่งวิธีการเช่นนี้จะสามารถเซ็คอัตราการรอดและปริมาณปลาในบ่อได้

เพาะเลี้ยงผสมผสานในแปลงนา จัดระบบโดยธรรมชาติ

นอกเหนือการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพานิชย์ที่ทำเงินในแต่ละปีแล้ว การเลี้ยงปลาผสมผสานในแปลงนาจึงเป็นอีกหนึ่งแนวความคิดที่คุณพรปวีร์ทดลองและศึกษาลงมือทำเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรในพื้นที่ดู หากวันใดวันหนึ่งระบบชลประทานขัดข้อง ปัญหาการขาดแคลนน้ำก็จะไม่เกิดขึ้น ตลอดจนยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีได้อีกด้วย

“การเลี้ยงปลาในแปลงนา เป็นการเลี้ยงแบบชีวภาพ ซึ่งสูตรการเลี้ยงจะแบ่งเป็นพื้นที่บ่อปลา 30 เปอร์เซ็นต์ ความลึกบ่อประมาณ 50-70 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่อีก 70 เปอร์เซ็นต์ จะเตรียมดินย่ำเลนทำนาปลูกข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่เลือกมาปลูกจะเป็นข้าวที่หนีน้ำ ไวต่อแสง”

สูตรการปล่อยปลา คุณพรปวีร์บอกว่าจะแตกต่างจากกาเลี้ยงเชิงพานิชย์ โดยวิธีนี้จะนำลูกปลาเบญจพรรณต่างๆปล่อยลงในบ่อเลี้ยง อัตราการปล่อย 1 ไร่ จะปล่อยลูกปลาลงไป 2500 ตัว โดยคำนวนเต็มพื้นที่ 100 เปอร์เซ็นต์ (พื้นที่บ่อและพื้นที่นา)

สำหรับปลาที่ปล่อย ประกอบไปด้วย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาช่อน  ขนาดไซด์เล็ก ไม่เน้นปลาใหญ่ เนื่องจากการขนย้ายลำบาก อีกทั้งต้นทุนก็สูง

การเพาะเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในแปลงนา จะใช้เวลานานถึง 8 เดือน ซึ่งนานกว่าการเพาะเลี้ยงปลาโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามข้อดีของการเลี้ยงปลาด้วยวิธีนี้ จะลงทุนในเรื่องของพันธุ์ปลาเพียงครั้งเดียว เนื่องจากการจับจำหน่ายแต่ละรอบ จะไม่จับหมดทั้งบ่อ จะเลือกจับเฉพาะปลาที่ได้ขนาด ส่วนที่ขนาดยังไม่ได้จะปล่อยลงไปเลี้ยงต่อ ซึ่งในระหว่างที่ปลาเหล่านี้อยู่ในบ่อ ก็จะทำการผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องลงลูกปลาใหม่

ในหนึ่งปี เฉพาะการเพาะเลี้ยงปลาในแปลงนาสามารถจับจำหน่ายได้ถึง 3 รอบ ปริมาณปลารวมถึง 2 ตัน ทำงเงินได้ถึง 100,000 บาท โดยที่ไม่ต้องลงทุนด้านอาหาร  ปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ

ส่วนการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าว คุณพรปวีร์ จะเตรียมในช่วงที่พื้นที่นายังมีน้ำขังอยู่เล็กน้อย โดยการใช้รถไถย่ำและหว่านเมล็ดข้าวลงไปในแปลงนา ทิ้งไวประมาณ 12-14 วัน หรือสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร  จะเริ่มปล่อยน้ำผ่านบ่อเพาะเลี้ยงปลาเข้าไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวทันที  ปลาในบ่อก็จะไหลเข้าสู่แปลงนา ไปกัดกินแมลง กาบใบเองโดยอัตโนมัติ  ปุ๋ยเคมีที่เคยใช้ ก็ลดน้อยลงเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ศึกษาเรียนมาจากโรงเรียนชาวนา

และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวที่ปลูก คุณพรปวีร์จะสูบน้ำในแปลงนาออก ให้เหลือเพียงน้ำบริเวณพื้นที่บ่อปลา ปลาก็จะไหลลงไปรวมกันอยู่ภายในบ่อ โดยที่ไม่ต้องออกแรงหรือจ้างแรงงานมาจับ

ด้านต้นทุนการปลูกข้า คุณพรปวีร์ บอกว่า ใช้ทุนประมาณ 2000 บาท/ไร่  ได้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1 ตัน นับว่าเป็นการลงทุนที่น้อยแต่ได้ผลผลิตที่สูงและค้มค่า ส่วนตามพื้นที่ขอบบ่อ คุณพรปวีร์ จะไม่ปล่อยให้เตรียนโล่ง จะปลูกผักบุ้งไว้เป็นร่มเงา สร้างธรรมชาติให้ปลาได้มาอยู่อาศัย อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาปลาตายในช่วงฤดูร้อน

“การเลี้ยงปลาควบคู่กับการทำนาในพื้นที่เดียวกัน สามารถช่วยแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเพลี้ยเหล่านี้ด้วยธรรมชาติแล้วจะว่างไข่บริเวณส่วนปล้องของต้นข้าว จะไม่ว่างไข่ที่กาบใบ เมื่อเราปล่อยน้ำเข้าไปในแปลงนาให้เลยระดับปล้องต้นข้าวขึ้นไป ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถเข้ามากัดกินเพลี้ยเหล่านี้เป็นอาหารโดยที่เราไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีแต่อย่างใด”คุณพรปวีร์กล่าว

นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ทำนา เลี้ยงปลาแล้ว คุณพรปวีร์ ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านประมงจังหวัดอ่างทอง ว่างแผนการพัฒนาภาคการเกษตรจังหวัดอ่างทอง ตลอดจนเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และต่างพื้นที่ อีกทั้งผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน