การตัดสินประกวดวัวเนื้อ (ตอนที่ 1)

ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีระบบการผลิตวัวที่ชัดเจน ได้แก่ วัวนม และวัวเนื้อ

วัวเนื้อทั่วๆ ไป มีการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ผู้ผลิตพันธุ์แท้ (Purebred Breeders) และ ผู้ผลิตลูกผสมส่ง (Commercial Producers) คือ ให้ผู้เลี้ยงต่อ (Feeder cattle) หรือ ให้ผู้เอาไปขุนรวม (Feedlot)

สิ่งที่ใช้ประกอบการคัดเลือกมักใช้น้ำหนักที่ แรกเกิด BW, หย่านม 205 วัน WW (Weaning Weight), ความสามารถการเลี้ยงลูกของแม่ (Mothering ability), น้ำหนัก เมื่อ 365 วัน (1 ปี) 365 Days weight., น้ำหนักเมื่อ 16-18 เดือน (480-540 วัน) YW (Yearling Weight), น้ำหนักเมื่อ 24 เดือน (2 ปี) MW (Mature Weight) เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการประกวดวัว

เพื่อส่งเสริมให้มีการเลี้ยงวัวให้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อปรับปรุงลักษณะรูปทรงให้ทันสมัยในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกรรู้จักวิธีเลือกวัวไว้เลี้ยงในฟาร์มของตน และเพื่อเป็นการกระจายพันธุ์วัวพันธุ์ดีจริงๆ สู่ตลาด

เกณฑ์ที่ใช้ในการประกวด

  1. วัวที่ชนะการประกวด อาจไม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีเสมอไป
  2. สมาคมผู้บำรุงโคบราห์มันแห่งสหรัฐอเมริกา American Brahman Breeders Assn. (ABBA) จึงกำหนดว่า พ่อพันธุ์ตัวใดที่มีลูกชนะการประกวดไม่ต่ำกว่า 5 ตัว มีคะแนนสะสม (สมาคมเขาเป็นคนคิดคะแนนเอง) จากลูกรวมกันแล้ว ไม่ต่ำกว่า 150 คะแนน จะได้รับการยกย่องว่าเป็น รีเนาน์ (Register of renown), (คำว่า renown = ชื่อเสียง, กิตติศัพท์, กิตติคุณ) หรือแม่พันธุ์ตัวใดมีลูกชนะการประกวด 2 ตัว มีคะแนนสะสมจากลูก 40 คะแนนขึ้นไป ก็จะเป็นรีเนาน์ได้เช่นเดียวกัน

รูปแบบของการประกวด แบ่งอย่างง่าย 3 รุ่น (หรือ 4 รุ่น) ดังนี้ รุ่น 1 (Class) อายุ 6 เดือนขึ้นไป, รุ่น 2 หรือ Class 2, รุ่น 3 หรือ Class 3 ในการประกวดวัวบางแห่ง หากมีวัวเข้าร่วมประกวดจำนวนมากและลดการได้เปรียบเรื่องอายุลง จะมีการแบ่งรุ่น 2 หรือ Class 2 ออกเป็นอีก 2 รุ่น คือ รุ่น 2 หรือ Class 2 และ รุ่น 3 หรือ Class 3 แต่มีชื่อ Class ที่แตกต่างออกไปอีก

นอกจากนี้ อาจมีการประกวดประเภทกลุ่ม (Group Classes)

  1. Produce-Of-Dam นำวัว 2 ตัว ไม่จำกัดเพศซึ่งเกิดจากแม่ตัวเดียวกัน เป็นวัวที่ผู้ส่งเข้าแข่งขันเป็นเจ้าของเท่านั้น และเกิดจากแม่ตามธรรมชาติ (Natural Born)
  2. Embryo-Produce-Of-Dam นำวัว 2 ตัว ไม่จำกัดเพศซึ่งเกิดจากแม่ตัวเดียวกัน เป็นวัวที่ผู้ส่งเข้าแข่งขันเป็นเจ้าของเท่านั้น เป็นลูกที่เกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อน (Embryo Produce) ทั้ง 2 ตัว หรือเกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อน 1 ตัว และเกิดจากธรรมชาติ 1 ตัว ก็ได้
  3. Get-Of-Sire นำวัว 4 ตัวที่เกิดจากพ่อเดียวกัน ไม่จำกัดเพศหรือถ้ามีเพียง 2 ตัว (อย่างน้อย) ก็อนุโลมให้เข้าประกวดได้ เป็นวัวที่ผู้ส่งเข้าแข่งขันเป็นเจ้าของเท่านั้น วัวทั้ง 4 ตัวต้องเกิดจากแม่โคในฟาร์มตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

การตัดสิน

  1. รู้จักพันธุ์วัวที่เอามาประกวด
  2. วัวเข้ามาไม่ควรเกิน 10 ตัว
  3. เดินเวียนมาเข็มนาฬิกา
  4. คัดเลือกเหลือ 4 ตัว
  5. วางตำแหน่ง ลำดับละที่ 1-2-3-4 สมมุติว่าตัดสินเป็น 3-1-2-3 (หมายเลข 3 ได้ที่ 1, เลข 1 ได้ที่ 2, เลข 2 ได้ที่ 3 และเลข 3 ได้ที่ 4)
  6. การเปรียบเทียบวิจารณ์ ทำ 3 กับ 1 ก่อน แล้ว 1 กับ 2 แล้ว 2 กับ 3

คำแนะนำการตัดสินประกวดวัวเนื้อพันธุ์ยุโรปและลูกผสมวัวเนื้อยุโรปกับบราห์มัน ประกอบด้วย วัวที่เอาไปขุน (Feeder cattle), วัวสาวที่จะใช้ทำพันธุ์ (Breeding heifers) และ พ่อพันธุ์ (Bulls)

วิธีการตัดสิน (Judging)

วัตถุประสงค์หลักของการตัดสิน มี 2 ประการ คือ เพื่อเอาวัวนั้นไปขุนหรือไปฆ่า และเพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์ ซึ่งการตัดสินของแต่ละวัตถุประสงค์จะแตกต่างกันไป

วิธีการประกวด

  1. วัวที่เข้าประกวดแต่ละรุ่น (class) ไม่ควรเกิน 8-10 ตัว
  2. วัวแต่ละรุ่นควรใช้เวลาระหว่าง 12-15 นาที
  3. วัวทุกตัวต้องเดินวนตามเข็มนาฬิกา
  4. กรรมการควรยืนห่างวัวราว 3-4 เมตร
  5. ใช้เวลา 4-5 นาที ตัดสินในลำดับตำแหน่ง 1-2-3-4
  6. เสร็จแล้วออกไปยืนให้ห่างวัวราว 4-5 เมตรตามเดิม
  7. อย่าให้วัวยืนชิดกันเกินไป จะมองเห็นรูปร่างไม่ถนัด
  8. ใช้เวลาอีกราว 5-8 นาที ในการตัดสินอย่างมั่นใจอีกครั้ง
  9. ถ้าวัวเอาไว้ใช้ทำพันธุ์ควรใช้ประวัติ สถิติแสดงความสามารถของมันช่วย เช่น

9.1 ดูรูปทรง (body conformation) ซึ่งจะบ่งบอกถึงมัดกล้ามเนื้อ

9.2 ขนาดกับอายุ (weight for age) สัมพันธ์กันหรือไม่

9.3 เท้าและขา (feet and legs)

9.4 ลักษณะประจำพันธุ์ (breed character)

9.5 ลักษณะทางเพศ (sex characteristics) เช่น ตัวผู้ต้องเป็นชาย (Muscling) ตัวเมียต้องเป็นหญิง (Femininity) คือ ไม่ใช่หญิงประเภทสองและเป็นทอม โดยตัวผู้ดูเน้นไปที่ sheath และ อัณฑะ (Sheath and Testicle) ส่วนตัวเมียดูเน้นหนักไปที่ เต้านม หัวนม อวัยวะเพศ และความสมบูรณ์พันธุ์

คำพูดทั่วๆ ไป ในการตัดสิน (Oral reason) ทั้งวัวขุน วัวฆ่า และวัวทำพันธุ์ มองภาพรวมๆ ที่ (Phenotypic appearance) ขนาดกับอายุ กระดูก รูปทรง ความกลมกลืนของลำตัวของตัววัว ดังนี้

 

ตัวอย่างการพูดและวิจารณ์

พูดในเชิงชม (พึงประสงค์) พูดในเชิงตำหนิ (ไม่พึงประสงค์)
1. สมส่วนกลมกลืนกันดีทั้งตัวรวมถึงเท้าและขา 1. ขาหลังตรงเกินไป ขาหน้าบิดเข้าหากัน ขาไม่แข็งแรง และขาหลังโก่งไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
2. ความยาวของลำตัวดี ไหล่ค่อยๆ ลาดลงมากลมกลืนเรียบไปจนถึงข้อเท้า 2. ลำตัวสั้นไป ส่วนที่เป็นไหล่แคบลาดเอียงชันไปจนถึงข้อเท้า (แฟบมาตลอด)
3. เคลื่อนไหวคล่องตัว เดินเหินสะดวก 3. ตัวแข็งทื่อ ตึงไปทั้งตัว จึงขยับขาขยับแข้งลำบาก ขาแข็งตรง (post legged)
4. รอบอกกว้างกว่า ใหญ่กว่า ลึก ลำตัวมีความจุ (อาหาร, อวัยวะภายในได้มากกว่า) 4. ส่วนบน (back) ดูไม่แข็งแรง เวลาเดินหลังคดไปคดมา
5. บั้นท้าย (rump) ยาวกว่า ไม่ลาดเอียงลงมาก จึงมีกล้ามเนื้อมากกว่า 5. บั้นท้าย (rump) สั้นและลาด เอียงเทมากเกินไป จึงมีเนื้อน้อยกว่า
6. บั้นท้าย (rump) ยาวกว่า ไม่ลาดเอียงลงมาก จึงมีกล้ามเนื้อมากกว่า 6. ลำตัวตื้นแคบ อกเล็กแคบ บริเวณอกไม่ลึก ความจุของลำตัวไม่ดี
7. ใหญ่กว่า วัวโครงสร้างใหญ่กว่า เนื้อตัวแน่นปึ้ก ความยาวดี สมส่วน ความยาว ความลึกกับความสูง ได้สัดส่วนกัน ขาใหญ่พองาม และมีเนื้อคลุมมาก 7. ตัวเล็กกว่า วัวโครงสร้างเล็กกว่า ตัวสั้นขาสั้นเกินไป

 

วัวขุนเพื่อชำแหละ (ขุนครบกำหนด) เดี๋ยวนี้ใช้เครื่องมือ ultrasonic

ดูความอ้วน (fatness)

พูดในเชิงชม (พึงประสงค์) พูดในเชิงตำหนิ (ไม่พึงประสงค์)
1. เมื่อขุนเสร็จที่ระยะพอดีๆ ไขมันพอก

ซี่ที่ 12 ควรหนา 2-6 นิ้ว

1. ขุนอ้วนจนเกินไป ไขมันพอกจับที่ซี่ที่ 12 มากกว่า 6 นิ้ว ถ้าใช้เวลาขุนน้อยเกินไปไขมันพอกจะจับที่ซี่ที่ 12 น้อยกว่า 2 นิ้ว
2. วัวขุนที่ระยะพอดีๆ จะมีไขมันพอกสม่ำเสมอกันดี 2. ซากไม่สวยไม่ราบเรียบ มีลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ ตะปุ่มตะป่ำ
3. พอตัดแต่งซากแล้ว ดูว่ามีไขมันเหลือติดอยู่กับซากไม่มากเกินไป โดยเฉพาะที่บริเวณเสือร้องไห้และรอบๆ โคนหาง 3. มันพอกที่เสือร้องไห้ และโคนหางมากเกินไป

 

ดูมัดกล้าม (muscling)

พูดในเชิงชม (พึงประสงค์) พูดในเชิงตำหนิ (ไม่พึงประสงค์)
1. กล้ามเนื้อบริเวณลูกมะพร้าว (Stifle) กว้างและเต็ม 1. บริเวณลูกมะพร้าวแคบ (ให้ดูทางท้ายของวัว)
2. ขาหน้าใหญ่และยาว โดยเฉพาะที่ส่วนบนของขา และรักแร้ (gaskin) 2. ขาหน้าตอนบนและซอกรักแร้ ใหญ่และไม่งาม เห็นไม่ชัดเจน
3. มัดกล้ามเนื้อสั้นกว่า 3. มัดกล้ามเนื้อสั้นกว่า
4. ยืนในท่าผึ่งผาย สง่างามเขาห่างกันพองาม ทั้ง 4 เท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4. ขายืนค่อนข้างชิดกัน มองดูตัวอิ่ม และเวลาเดินก็ขาชิดกันด้วย เลยทรงตัวไม่ดี
5. ต้นขา (round) ใหญ่หนาและมีมัดกล้ามเนื้อโดยรอบมาก 5. กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาบางเล็ก มีกล้ามเนื้อโดยรอบน้อย
6. มีสันเอว (loin) กว้าง หนา ยาว มองเห็นมัดกล้ามเนื้อได้ชัดเจน 6. มีขนาดของสันเอวเล็ก แคบและดูบางๆ

 

 

ข้อความที่ใช้เกี่ยวกับซากของวัวขุนและวัวที่ใช้ทำพันธุ์

วัวขุน

  1. แม้ว่าจะใช้เวลาขุนน้อยกว่าแต่ก็มีมัดกล้ามเนื้อที่ดีกว่าจะให้ผลในซาก ดังนี้ มีเปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อสูง มีไขมันพอกน้อย มีเปอร์เซ็นต์กระดูกติดเนื้อต่ำเหมาะสำหรับทำเนื้ออบ สเต๊ก มีไขมันส่วนเกินที่ต้องตัดออกน้อย
  2. เพราะใช้เวลาขุนเสร็จ (finished) นานกว่า น่าจะทำคะแนนของเกรด USDA ได้สูงกว่า ทำให้ได้เปอร์เซ็นต์ซากสูง
  3. ที่ว่าควรจะมีเปอร์เซ็นต์ซากสูงกว่า เพราะอ้วนกว่า ใหญ่กว่า ลำตัวไม่แบนกระชับ (less fill) หรือพุงไม่ป่องใหญ่จนเกินไป ตัดไขมันส่วนเกินออกน้อย หนังวัวไม่หนาและหนักมาก และมีมัดกล้ามเนื้อมากกว่า
  4. มีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำ เพราะแต่งซากเสร็จแล้ว ซากไม่สวย มีอาหารอยู่ในกระเพาะมาก มีส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ ในบริเวณตอนกลางของลำตัว (ท้อง) มาก หนังหนา และหนังมาก มีส่วนที่ต้องตัดทิ้งมาก กล้ามเนื้อไม่แน่น มีชิ้นส่วนเกินที่ไม่สำคัญถูกตัดออกไปน้อย

พ่อวัว

  1. มีกล้ามเนื้ออูม โป่งนูน และมีมัดกล้ามเนื้อที่บริเวณลูกมะพร้าว
  2. มีกล้ามเนื้อที่บริเวณขาหน้าและซอกรักแร้มากกว่า
  3. มีมัดกล้ามเนื้อที่ขาหลัง (round) ใหญ่และยาว
  4. ที่ไหล่มีกล้ามเนื้อเต็มเรียบ
  5. มีมัดกล้ามเนื้อแข็งแรงและหนาจากไหล่คลุมเต็มมาจนถึงส่วนล่าง
  6. มีปริมาณเนื้อที่ต้นขาหน้ามากกว่า

วัวสาวและแม่วัว

  1. กล้ามเนื้อที่ต้นขายาวกว่า
  2. กล้ามเนื้อแข็งแรง และเคลื่อนไหวได้ตามปกติ (ไม่โป่งพองนูนออกมาให้เห็น)
  3. คอยาวปานกลาง และบางๆ พองาม
  4. ขากรรไกรเล็กกว่าตัวผู้
  5. ไหล่เรียบ กล้ามเนื้อพอกลงมารับ กลมกลืนกับส่วนล่าง
  6. ฐานเต้านมยึดกับลำตัวใต้ท้องแข็งแรง
  7. เต้านมอยู่ในตำแหน่งที่สมดุล (ไม่ห้อยย้อยไปข้างหน้า หรือหลังมากเกินไป) ไม่ beefy (เจ้าเนื้อ)
  8. เต้านมมีการเจริญเติบโตดีตามอายุ และส่อว่าจะมีน้ำนมมาก
  9. หัวนม (Teat) มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป (คับปากลูกวัว) และไม่เล็กจนเกินไป
  10. พัฒนาไปในการเติบโตดี ไม่เล็กมาก หรือใหญ่มากเกินไป

คำที่ใช้การแสดงออกของลักษณะสำหรับวัวเนื้อ (Performance Teams for Beef Cattle)

  1. โต และมีน้ำหนักดีกว่าตัวอื่น (รุ่นเดียวกัน)
  2. มีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่า
  3. มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวสูงกว่า
  4. โตเร็ว มาตั้งแต่เล็กๆ คือ จากหย่านม และหลังหย่านม
  5. กินอาหารน้อยแต่โตเร็ว
  6. เมื่อฆ่าชำแหละแล้ว ให้ซากมีน้ำหนักสูง

ลักษณะของวัวเมื่อขุนเสร็จ (Finished or Condition)

  1. เป็นวัวที่ไม่เปรียว ดุร้ายมาก่อน
  2. ไม่มีไขมันพอกใต้ท้องมาก
  3. มีส่วนที่ต้องตัดทิ้งน้อย
  4. เมื่อขุนเสร็จร่างกายเรียบเป็นระเบียบ ไม่ผิดแผกไปจากเพื่อนที่ขุนด้วยกัน
  5. รูปทรงซากสวยงามตามต้องการ
  6. มีไขมันพอกน้อย ที่เต้านม และอัณฑะ
  7. ไม่มีไขมันส่วนเกินที่พอกมากตามลำตัว
  8. บ่งบอกลักษณะของเนื้อว่า มีคุณภาพดี

ลักษณะและนิสัยการแสดงออกทางเพศ (Sex characteristics)

พ่อวัว

  1. มีมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง ที่บริเวณหัวและลำคอ
  2. หนอกโต สูง ไม่ล้ม (เมื่อเป็นวัวบราห์มัน)
  3. คางใหญ่ อกใหญ่ แข็งแรง
  4. อัณฑะใหญ่ หนังหุ้มอัณฑะแข็งแรง ยึดติดลำตัวดี
  5. หนังหุ้มลึงค์ไม่หย่อนยาน (Tight) ในวัวบราห์มันไม่ควรเกิน 45 องศา
  6. ไหล่เรียบไม่โป่งนูน หรือโป่งขึ้นมา กล้ามเนื้อเต็ม
  7. มีปริมาณเนื้อที่ต้นขาหน้ามากกว่า

เทคนิคการจัดอันดับ

เมื่อสามารถเรียงอันดับที่ 1 ถึงที่ 4 ได้แล้ว สมมติว่า

ตัวหมายเลข 1 ได้ที่ 1

ตัวหมายเลข 2 ได้ที่ 2

ตัวหมายเลข 3 ได้ที่ 3

ตัวหมายเลข 4 ได้ที่ 4

เราวางตำแหน่งประกวดรุ่นนี้ไว้ คือ 1-2-3-4

จับคู่ แล้วนำมาเปรียบเทียบทีละคู่ คือ จับตัวชนะที่ 1 มาคู่กับตัวชนะที่ 2 เสร็จแล้ว

จับตัวชนะที่ 2 มาเทียบกับตัวชนะที่ 3 แล้ว จับตัวชนะที่ 3 มาคู่กับตัวที่ 4 แล้ววิจารณ์ความเหนือกว่า และด้อยกว่าของแต่ละคู่ไป

ขั้นสุดท้ายก็ตัดสินว่า “ให้” หมายเลข 1 ได้รางวัลที่ 1 หมายเลข 2 ได้รางวัลที่ 2 หมายเลข 3 ได้รางวัลที่ 3

เวลาพูด พูดไปดูวัวไป และพูดกับเจ้าของวัว

คราวหน้าไปพูดถึงตัวอย่างการตัดสินประกวดวัวกัน