ปศุสัตว์สานต่อโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ธนาคารโค-กระบือสร้างชีวิต สร้างอาชีพเกษตรกรไทย

กรมปศุสัตว์มุ่งสนองพระราชดำริตามรอยเบื้องพระยุคลบาท โดยสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง และเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อีกทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการฯ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยเน้นให้เกิดชุมชนหรือหมู่บ้านที่มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกันเองในชุมชนนั้นๆ หวังสร้างความเข้มแข็งชุนชนอย่างยั่งยืน  ตลอดจนส่งเสริมการใช้แรงงานจากโค-กระบือและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยคอกเพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย

คุณวีรชาติ เขื่อนรัตน์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์

คุณวีรชาติ เขื่อนรัตน์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามระราชดำริ คือเพื่อช่วยให้เกษตรที่ยากขนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ โดยการให้บริการเกษตรกร มี 5 วิธี คือ 1.การให้ยืมเพื่อการผลิต 2.การให้เช่าซื้อ 3.การให้ยืมพ่อพันธุ์โค-กระบือ 4.การให้เช่าเพื่อใช้แรงงาน และการให้บริการอื่นๆ

นอกจากนี้คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือ มีดังนี้

1.เป็นการเกษตรกรมีสัญชาติไทยอายุครบ 20 ปีบริบรูณ์ขึ้นไป

2.มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์

3.มีความประพฤติดี และยินดีให้ความร่วมมือกับทางราชการ

4.ยังไม่เคยได้รับโค-กระบือ จากโครงการอื่นๆ

5.มีความเหมาะสมและสามารถดูแลโค-กระบือได้

6.มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์หรือได้รับการรับรองจากคณะกรรรมการหมู่บ้าน

ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหนึ่งในอาสาปศุสัตว์ที่ประสบผลสำเร็จจากการเลี้ยงโค-กระบือที่ได้รับจากธนาคารโค-กระบือที่ผ่านมา

คุณสมัย สาวงษา อาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน บ้านป่าเลา ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย  เล่าให้ฟังว่า เดิมทำนา แต่ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ดีกินดีได้ จึงหักเหชีวิตไปทำงานเก็บผลไม้ต่างๆ ประเทศต้องกู้หนี้ยืมสินเขาไป แต่โชคร้ายถูกหลอกเสียค่านายหน้า จึงได้กลับมาทำสวนทำนาให้พอมีพอกิน ดังนั้นจึงมีความมุ่งมั่นช่วยเหลือสังคมด้วยการเป็นอาสาปศุสัตว์ จากความมุ่งมันดังกล่าวทำให้มีความรู้และสามารถนำมาพัฒนานากรเลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำนา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนปัจจุบันสามารถตั้งตัวได้มีสวนสมสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เพื่อนบ้านตลอดจนชุมชนใกล้เคียงได้มาเรียนรู้ และได้น้อมนำเศรษฐกิจกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสิ่งที่ภูมิใจ ที่ได้เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือ และได้รับการคัดเลือกเป็นอาสาปศุสัตว์ดีเด่นของจังหวัดเชียงราย และได้รับให้ยืมกระบือเป็นรายแรก ซึ่งได้รับแม่กระบือ 1 ตัวไปเลี้ยงเพื่อผลิตลูกได้ไปขอซื้อกระบือเพศเมียจากเพื่อบ้านอีกหนึ่งตัวให้เป็นคู่กัน

คุณสมัย สาวงษา อาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน

หลังจากนั้นนายสมัย ยังมีปัญหาไม่มีพ่อพันธุ์กระบือ จึงได้ไปปรึกษาทางปศุสัตว์อำเภอ ได้รับคำแนะนำ ให้รวมกลุ่มเพื่อขอสนับสนุนพ่อพันธ์และแม่พันธุ์ จึงได้มีการรวบรวมผู้ที่สนใจในการเลี้ยงโค-กระบือตั้งกลุ่มจำนวน 13 ราย เพื่อขอรับความช่วยเหลือสนับสนุนแม่กระบือจากกรมปศุสัตว์ จากโครงการธนาคารโค-กระบือ ตามแนวพระราชดำริไปเลี่ยงทั้ง 13 ราย

ซึ่งที่ผ่านมา คุณสมัยประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้ทำกระบือจากธนาคารโค-กระบือ ได้ส่งมอบกระบือเพศเมียตัวแรกคืนให้โครงการฯ เพื่อส่งต่อให้เกษตรกรรายใหม่ที่เข้ามาขอสนับสนุนเช่นกัน ผลจากการยืมดังกล่าวทำให้เกิดลูก 2 ตัวเป็นตัวเมียและเกิดหลานอีก 7 ตัว กับแม่พันธุ์ที่ซื้อมาคู่กันอีก 7 ตัว รวม 14 ตัว จากโครงการดังกล่าวสามารถทำให้ชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้และอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน

นอกจากนี้ คุณสมัย เล่าอีกว่า ได้ทำไร่ ผสมผสาน และเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย ห่าน เป็ด ไก่ บ่อยครั้งที่สัตว์ที่เลี้ยงเกิดอาการบาดเจ็บ หรือเป็นแผลพุพองที่เกิดจากการต่อสู้กันเอง หรืออุบัติเหตุ ซึ่งๆ ได้พยายามศึกษาหาความรู้ทำสูตรสมุนไพรที่สามารถช่วยรักษาบาดแผลของสัตว์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งยาที่มีราคาแพง จึงได้ศึกษาจากผู้รู้และตำราต่างๆ แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาเป็นสูตรของตัวเอง จนกลายเป็นสูตรยาสมุนไพรที่นำมาใช้อย่างได้ผล สามารถใช้ได้ทั้งแผลสดและแผลพุพอง ที่เกิดกับคนและสัตว์สามารถช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

สำหรับยาสมุนไพรมีส่วนผสม ดังนี้ 1.เหล้าขาว 2.ขมิ้น 3.เสลดพังพอน 4.สาบเสือ 5.บัวบก โดยการนำสมุนไพรทุกอย่างที่เตรียมไว้มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ภาชนะ ราดด้วยเหล้าขาวให้พอท่วมแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 1 คืน ก็สามารถนำมาใช้ได้ หรือหากให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นก็หมักไว้ให้นาน โดยมีวิธีในการนำไปใช้ โดยการกรองน้ำ สามารถใช้ได้ดีในสัตว์ช่วยสมานแผลพุพอง  ให้นำไปใส่รักษาแผล ช่วยให้แพ้แห้งและเร็วขึ้น

จะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการฯนี้ จะช่วยสืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหนึ่งแนวทางที่จะช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ยากจน และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มจำนวนโค-กระบือภายในประเทศมากขึ้นในอนาคต