คนปศุสัตว์เล่าเรื่อง วัวบราห์มันในประเทศไทย (2)

เมื่อตอนที่แล้วได้กล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของวัวบราห์มันในประเทศไทย ในตอนนี้มาดูหลักการพิจารณาและตัดสินวัวบราห์มัน

 หลักการพิจารณาและตัดสินวัวบราห์มัน

รายการ คะแนน
พ่อ แม่
1. ลักษณะทั่วไป

   1.1 ขนาดและน้ำหนัก

เจริญเติบโตดีได้ ขนาดตามอายุ วัวตัวผู้โตเต็มที่ หนัก 700-1,000 กิโลกรัม ตัวเมียโตเต็มที่

หนัก 450-650 กิโลกรัม โครงร่างของลำตัวต้องลึก กว้าง และยาว สมตัว

 

 

 

10

 

 

 

10

   1.2 ลักษณะรูปร่าง

ลำตัวต้องกว้างมาก ลึกปานกลาง ได้สัดส่วน ลำตัวเรียบ หลังตรง และโค้งมนตอนท้ายเล็กน้อย บั้นท้ายถ้าลาดถึงกระดูกหัวตะโพกมากเกินไปก็ไม่ดี ระดับใต้ท้องควรเป็นเส้นตรง ยกเว้นส่วนที่เป็นหนังลึงค์ตัวผู้และหนังใต้สะดือของตัวเมีย ซอกขาเต็ม

 

 

 

8

 

 

 

8

   1.3 คุณลักษณะ

ผิวหนังหุ้มลำตัวยืดพับได้ หนาพอประมาณ กระดูกแข็งแรงเรียบ มีกล้ามเนื้อเรียบทั้งตัว

 

4

 

4

รวม 22 22

 

 

รายการ คะแนน
พ่อ แม่
2. คุณลักษณะ

   2.1 ไหล่และอก

เรียบกลมมนปานกลาง คลุมสันหลังพอเป็นสันมนๆ นูนๆ กว้างจดตะโหนก ยอดอกไม่แหลมหรือแฟบ หน้าอกผายกว้างและลึก ไหล่เต็มกว้าง พื้นหน้าอกใต้ท้องกว้างเต็มถึงซอกรักแร้

 

 

 

 

8

 

 

 

 

8

   2.2 ลำตัว

2.2.1 สันหลังและซี่โครง ซี่โครงขยายได้ดีและโค้งกว้าง ยาวได้สัดส่วนกับความลึกของลำตัว ซี่โครงทั้งสองข้างวางอยู่ในท่าที่ได้ระเบียบ โดยซี่แรกและซี่สุดท้ายกลมกลืนกับกระดูกสันหลังได้ดี

มีเนื้อที่เคลือบคลุมอย่างราบเรียบสม่ำเสมอ ซี่โครงสั้นหรือยาวจนเกินไปก็เป็นลักษณะไม่พึงประสงค์ สันหลังกว้างได้ระดับมีเนื้อหนาแน่นและเต็ม สันหลังแหลมคมจนถึงกระดูกหัวตะโพกเป็นลักษณะไม่พึงประสงค์

 

 

 

 

 

9

 

 

 

 

 

9

        2.2.2 เอว กว้างหนาตรงและแน่นเรียบสม่ำเสมอกลมกลืนกับสันหลังและบั้นท้าย 8 8
   2.3 ส่วนหลัง

        2.3.1 บั้นท้าย ยาวและกว้างเกือบเป็นตรง (ค่อนข้างเรียบไปหาโคนหาง) เรียบไปเชื่อมกับเอวได้เรียบสนิท (บั้นท้ายลาดเอียงมาก ไม่พึงประสงค์อย่างยิ่ง) โคนหางแนบสนิทกับส่วนท้าย

        2.3.2 กระดูกหัวตะโพก อยู่ต่ำกว่าระดับสันหลังเล็กน้อย

        2.3.3 ตะโพก กว้าง หนา กลมเต็ม และลึกต่ำลงมาจนถึงข้อขา

 

8

8

 

8

1

8

   2.4 เท้าและขา

ยาวพอประมาณ ตรง และตั้งอยู่ในทางคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กระดูกแข็งแรงและเรียบ ข้อต่อระหว่างกระดูกแน่นแข็งแรง ขาหลังเมื่อมองทางด้านท้ายเห็นตั้งตรงและใต้ข้อขาลงไปเอียงไปทางหน้าเล็กน้อย กระดูกขาแข็งแรงมั่นคง หลังเท้าแข็งแรงลาดเอียงเล็กน้อย บริเวณเท้าได้สัดส่วน ขนาดใหญ่พอเหมาะ เดินได้ตรง แข็งแรง ปราดเปรียว

 

7

 

7

   2.5 ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ

ต้องมีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้ออย่างสมบูรณ์ ขาหน้าอยู่ห่างกันพองาม ขาใหญ่แข็งแรง

มีกล้ามเนื้อคลุมเต็ม กล้ามเนื้อที่หลังและเอวกว้าง และโค้งลาดลงมาทางสีข้างของลำตัว (คล้าย Quonset roof) เมื่อมองจากด้านท้ายกล้ามเนื้อตะโพกกลมเต็มกว้าง เมื่อวัวยืนต้องยืนในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดินเรียบร้อย ไม่มีสิ่งใดผิดปกติ

 

 

 

 

7

 

 

 

 

7

รวม 55 56

 

 


รายการ
คะแนน
พ่อ แม่
3. ลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะทางด้านการสืบพันธุ์

   3.1 สี

สีเดียวตลอดตัวหรือสองสีหลืบผสมกัน สีเทาและสีแดงเป็นที่นิยมกันมาก ในขณะที่วัวที่เป็นทางลาย รอยด่างตกกระหรือเผือกเป็นลักษณะไม่พึงประสงค์

 

 

 

1

 

 

 

1

   3.2 ศีรษะ

หน้าผากกว้าง แบน แต่มนตามขอบเล็กน้อย หน้าสั้นปานกลาง มีกล้ามเนื้อคลุมพอสวยงาม รูจมูกกว้าง ริมฝีปากดำ ดวงตาแจ่มใส และตั้งอยู่ห่างกันพองาม หูยาวและกว้าง โคนเขาอยู่ห่างกันพอสมควร แข็งแรง และยาวปานกลาง เขาวัวตัวเมียควรเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย

 

 

 

2

 

 

 

2

   3.3 คอและลำคอ

คอสั้น ในตัวผู้ต้องมีกล้ามเนื้อหนาเป็นมัดๆ ในตัวเมียคอบางค่อยๆ เรียบและโตขึ้นมารับกลมกลืนกับไหล่ ลำคอราบเรียบทั้งสองข้างและมีเหนียงหย่อนยาน

 

 

2

 

 

2

   3.4 ตะโหนก

ตัวผู้ต้องมีตะโหนกโตพอประมาณ ตั้งอยู่บนสันไหล่ใหญ่และหนาปานกลาง รูปร่างคล้ายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และโค้งย้อยไปทางหลังเล็กน้อย ตัวเมียมีตะโหนกบ้างแต่ไม่สูงนัก รูปร่างคล้ายวงรีรูปไข่และตั้งอยู่บนสันไหล่ในท่าตรง

 

 

 

2

 

 

 

1

   3.5 หนังหุ้มลึงค์และใต้สะดือ

หนังหุ้มลึงค์ควรมีความหย่อนยานขนาดปานกลางเท่านั้น และติดแนบกับลำตัว ไม่ควร

หย่อนยาน ลึงค์ที่หย่อนยานและเหนียงใต้สะดือที่หย่อนยานมากเกินไป จัดเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ (ห้อยทำมุมกับใต้ท้องไม่ควรเกิน 45 องศากับลำตัว)

 

 

 

3

 

 

 

2

   3.6 หาง

แนบติดจากลำตัวจากส่วนท้ายของบั้นท้ายดูเรียบร้อย ค่อนข้างยาวและพู่หางสีดำ

 

1

 

3

   3.7 ลักษณะทางด้านอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ

ตัวผู้ต้องแสดงลักษณะเพศชาย กล่าวคือ มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ตัวเมียก็ต้องมีลักษณะท่าทางเป็นเพศหญิงที่สมบูรณ์ คือมีลักษณะการให้ลูกและน้ำนมดี

3.7.1 เต้านม มีความจุน้ำนมได้มากพอประมาณ ขยายแนบกับใต้ท้องไปทางหน้าและส่วนท้ายของเต้านมตั้งได้สัดส่วน ไม่มีเนื้อที่เต้านมมากจนเกินไป หัวนมไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป วางอยู่ในแนวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

        3.7.2 ถุงอัณฑะ ในถุงอัณฑะ 2 ลูก ขนาดได้สัดส่วน 2 ข้างเท่าๆ กัน เจริญเติบโตดี ลักษณะใดที่ผิดปกติจากที่กล่าวนี้ถือว่าผิดลักษณะพึงประสงค์อย่างยิ่ง  

4

 

   3.8 ลักษณะที่แสดงถึงการปรับปรุงตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ผิวหนังหนาคลุมด้วยขนที่ละเอียดไม่ยาวเกินไป เมื่อจับดูดคล้ายมีน้ำมันและค่อนข้างหลวมเล็กน้อย เหนียงหย่อนยานพับไปมาได้ตั้งแต่คอหอยไปจนถึงหน้าอก หนังใต้ท้องหลวมยืดหยุ่นนุ่มพอควร

 

 

 

2

 

 

 

2

รวม 17 16
4. อุปนิสัยและอารมณ์

ท่าทางปราดเปรียวแจ่มใส ไม่ดุร้าย และฝึกหัดง่าย

 

6

 

6

รวมทั้งหมด 100 100

 

ลักษณะไม่พึงประสงค์ของวัวบราห์มัน

หน้าคด หน้าหรือดั้งจมูกคด ถือว่าไม่พึงประสงค์

ปากงุ้ม ไม่พึงประสงค์อย่างยิ่ง

  1. ขากะเผลก ถ้าเห็นชัดว่าไม่มีทางหายและทำให้กระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของสัตว์ “ก็ไม่พึงประสงค์” (หากว่าลักษณะนี้ไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์และได้ขึ้นทะเบียนแก่สมาคมไว้ก่อนแสดงอาการนี้ จะมายกเลิกหรือถอนการขึ้นทะเบียนไม่ได้)
  2. ขากระตุก หรือภาษาอีสานเรียกว่า ขาทก (Stringhalt) อยู่ในข่ายที่ไม่พึงประสงค์ แสดงอาการเห็นได้ชัดเจนมาก เมื่อปีนขึ้นผสมตัวเมียแต่ล้มลงเสียก่อน
  3. ขาแข็ง บริเวณหัวเข่าพับงอไม่ค่อยจะได้ อยู่ในข่ายที่ไม่พึงประสงค์
  4. ข้อพับ ทั้งสองข้างหันบิดเข้าหากัน ปกติมักจะทำให้ปลายเท้าบิดออกมาด้วย อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์
  5. ขาหลังคด เมื่อมองทางด้านข้าง – อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์
  6. ขาหน้าคด บีบเข้าหากันแล้วปลายเท้าบิดชี้ออกมา – อยู่ในข่ายที่ไม่พึงประสงค์
  7. ข้อเท้าอ่อน ทำให้ดูคล้ายจะงอ – อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์

เท้า เท้าเล็กโก่งงอ หรือกีบคด – อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์

ไม่ได้ขนาด อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์ พวกแคระแกร็น คัดออกได้

อัณฑะ พ่อโคที่มีอัณฑะเม็ดเดียว (ทองแดง) – ไม่พึงประสงค์ เว้นแต่ว่าได้ทำการผ่าตัดจนเข้าที่หมดแล้ว

หนังหุ้มลึงค์หย่อนยาน อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์

  1. ไม่มีสิ่งวิปริตทางพันธุกรรมถ่ายทอด (Freedom form Inherited Defects) วัวก็เหมือนคน คนเป็นโรคที่ได้รับทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ได้ เช่น หน้าคด อัณฑะเม็ดเดียว (Cryptochidism) ปากงุ้ม ปากยื่น ถ้าลักษณะใดก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนความเป็นอยู่ของมันมากก็ควรคัดทิ้ง
  2. คะแนนรูปร่างตามแนวพันธุ์ (Body and Type Score) อันนี้ก็เป็นการดูด้วยสายตาและให้คะแนนว่าวัวตัวนั้นๆ รูปร่างดีสมส่วนตรงตามสายพันธุ์ที่กำหนดหรือไม่

 

  1. สี

10.1 เป็นทางลายเสือ ตกกระเป็นจุดๆ หรือด่าง (ขนสีขาวบนพื้นสีผิวหนังแดดอ่อน จัดเป็นพวกวัวเผือก) – ไม่พึงประสงค์คัดออกได้

10.2 จมูกขาว กีบสีจาง (ปนแดงหรือขาว) พู่หางขาว – อยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์ (ถ้าทุกอย่างที่กล่าวมานี้มีในตัวเดียวกัน ให้คัดทิ้งได้)

  1. วัวสาวอันเกิดจากฟรีมาร์ติน (Freemartin) หมายถึง ลูกวัวที่เป็นลูกแฝด เกิดจากไข่ 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นตัวผู้ ส่วนอีกใบเป็นตัวเมีย ซึ่งตัวเมียมักเป็นหมัน-ถือว่าเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ให้คัดออกได้ ลักษณะเช่นนี้ถ้าเกิดกับตัวเมีย 100 ตัว โอกาสที่ตัวเมียจะเป็นหมันนั้นมีถึง 92 ตัว
  2. มีนิสัยตื่นตกใจง่าย (และไม่หาย) เปรียวจัด ไม่พึงประสงค์อย่างยิ่ง วัวพวกนี้จะยุ่งยากต่อการจัดการฝูงเมื่อมีปนอยู่ นอกจากตัวมันเองจะมีเนื้อเหนียวแล้ว ยังถ่ายทอดลักษณะเนื้อเหนียวไม่นุ่มไปสู่ลูกหลานได้อีกด้วย จึงไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์

วัวบราห์มันที่เรารู้จักครั้งแรกๆ เป็นตัวผู้ 24 ตัว ตัวเมีย 47 ตัว ตัวผู้ขนาดผสมพันธุ์ได้ ตัวเมียเป็นวัวสาวรุ่นพร้อมผสมพันธุ์ได้ เอาไปเลี้ยงแพร่พันธุ์ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จังหวัดสระบุรี ต้องยอมรับว่าสมัยนั้นเรายังไม่มีใครรู้เรื่องเกี่ยวกับ Animal Breeding เลย เราจึงไม่ได้คิดวางแผนปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์แต่อย่างใด แต่มีความคิดในเรื่องการเผยแพร่ส่งเสริมอยู่มากพอสมควร พ่อวัวราวครึ่งหนึ่ง (12 ตัว) นำไปให้เกษตรกรยืมไปผสมพันธุ์โดยไม่คิดมูลค่า แม่วัวของชาวบ้านก็เป็นวัวพื้นเมืองธรรมดาๆ (น้ำตาลปนแดง) ของภาคอีสานเรา ชาวบ้านเขาก็ปล่อยพ่อวัว บราห์มันเข้าฝูงตัวเขาไป เอาพ่อวัวไทยออก ไม่มีการจดบันทึกสถิติใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้วิธีสังเกตเอา อีก 3 เดือนต่อมา ชาวบ้านเกือบทั้งหมด (10-11 ราย) กลับมาที่สถานีฯ ท่าพระ ขอให้ไปเอาพ่อวัวคืนมา ถามเหตุผลว่าเพราะอะไร  เขาบอกว่าพ่อวัวไม่เอาไหนเลย ตัวเมียอยู่ทิศหนึ่ง พ่อวัวไปอยู่อีกทิศหนึ่ง ไม่เห็นผสมพันธุ์สักที เลยไปเอามาคืนมาตามที่ขอร้อง (เจ้าหน้าที่เราเองก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมมันไม่ยอมอยู่กับตัวเมีย) อีก 10 เดือนต่อมา ชาวบ้านทุกคนที่รับพ่อวัวไป กลับมาบอกด้วยความดีใจว่า ผมได้ลูกวัวสีขาวเต็มพรืดไปหมด กลับมาขอพ่อวัวคืน พร้อมกับพูดว่าไม่รู้มันผสมพันธุ์กันเมื่อไร แปลกจริงๆ ความจริงก็ไม่มีอะไรมาก เพราะเมื่อสมัยนั้น พวกวัวบราห์มัน (ซีบู) พวกนี้เขาจัดว่าเป็นวัว “ขี้อาย” (Shy Breeder) คือมันจะไม่ยอมผสมพันธุ์ในที่โล่งๆ ลักษณะของ Shy breeder ทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ เขาจึงคัดลักษณะ ขี้อาย ออกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว

นับแต่ปี 2497 เป็นต้นมา ราว 16-20 ปี วัวไทยภาคอีสานจำนวนมาก ถูกยกระดับพันธุ์ (Up-grading) จนเป็นวัวเหมือนบราห์มันเกือบทั่วทั้งภาค ส่วนใหญ่มีเลือดวัวบราห์มันเกิน 75% น่าเสียดายที่ช่วงวัวมีเลือดถึง 87.5% บราห์มันไม่มีใครริเริ่มรับรองว่าเป็นพันธุ์แท้ ข้อคิดก็มีอยู่เพียงว่า ถ้าเราวางแผนผสมพันธุ์แต่เนิ่นๆ ดีๆ เราคงมีวัวบราห์มันดีๆ ที่ให้ผลผลิตลูกสูง และ มีเนื้อมาก ป้อนความต้องการการบริโภคของคนไทยได้ ขอเพียงว่าอย่าเอาวัวเชื้อสาย เนื้อน้อย คุณภาพทางเศรษฐกิจต่ำมาแทรกพันธุ์ดีๆ ของเราก็พอ จะได้ไม่เสียเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ การนำวัวพันธุกรรมทางเศรษฐกิจต่ำมาใช้ เป็นการทำลายโครงสร้างการสร้างพันธุ์วัวดีๆ ของไทย ทำให้เสียเวลามาเริ่มกันใหม่ ทำลายเศรษฐกิจต้นทุนการผลิตอย่างมาก ฉะนั้น กรุณา “อย่าทำ” เพื่อส่วนตัว (ของคนไม่กี่คน) วัวบราห์มัน เลี้ยงง่าย อยู่สภาพแวดล้อมบ้านเราได้อย่างสบาย เกษตรกรคนไหนก็เลี้ยงได้ เพียงได้รับคำแนะนำการเลี้ยงดู และการจัดการบ้างก็เพียงพอ ใครใคร่จะเลี้ยงวัวพื้นเมืองต่อไป ก็จงเลี้ยงผลิตต่อไป เพราะเป็นของดี ถ้าคิดต้นทุนต่อหน่วยอาจต่ำกว่าวัวบราห์มัน (พูดกันมากแต่ยังไม่เห็นมีใครทำ)

 

ส่วนการเลี้ยงวัวบราห์มัน อยากให้มาคิดคร่าวๆ ดังนี้

เลี้ยงโดยกำหนด

– ระบบการผลิต

– คุณสมบัติของผู้ผลิต และใครบ้างที่จะผลิต

– วางแผนรองรับผลผลิตให้ไหลลื่นออกสู่ตลาดได้

– ที่สำคัญอย่างหนึ่งนั้น ผู้ผลิตควรมองภาพเพื่อนบ้านของเราบ้างว่าเขามีของดีๆ อย่างเราหรือเปล่าซึ่งน่าจะ

เตรียมพร้อมขายพันธุ์แก่เพื่อนบ้าน การขยายพันธุกรรม กำไรจะสูงกว่ามาก ซึ่งน่าจะทำควบคู่กันไป ปัญหาตลาดเป็นเรื่องใหญ่

ใครมีวัวบราห์มัน (เพศเมีย) มากๆ จะอยู่ในฐานะสบายใจ เพราะความต้องการ (demand) ในตลาดยังสูงมาก ในขณะที่ปริมาณการผลิต (Supply) ไม่พอ จึงอยากเห็นความร่วมมือร่วมใจการผลิตวัวบราห์มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เหมือนในสหรัฐอเมริกา) เราก็จะดีได้

สมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคไทยบราห์มัน (Thai Brahman Breeders Association – TBBA) ถือกำเนิดจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2531 โดยความริเริ่มจากเจ้าหน้าที่รัฐ (กรมปศุสัตว์) ด้วยความมุ่งหมายในหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกว่า อยากให้สมาคมนี้เป็นศูนย์รวมการผลิต การผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ และการขยายพันธุ์วัวบราห์มัน ให้อยู่ในมือของภาคเอกชน (เกษตรกร) โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เคยคิดจะดำเนินการด้วยตนเองเลย การดำเนินงานโดยภาคเอกชนจะมีความคล่องตัวสูงกว่ามาก หากองค์กรนี้สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันเป็นคณะใหญ่ ซึ่งหวังว่า เราคงทำได้

 

ทำไมต้องเป็นวัวบราห์มัน

ในหลักการของการเลี้ยงสัตว์ เขาถือกันว่า จงทำสัตว์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่อย่าทำสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับสัตว์  เพราะประการหลังต้นทุนการผลิตจะสูงจนยากแก่การลงทุน

  1. วัวบราห์มันเป็นวัวในเขตร้อนอยู่แล้ว เพราะต้นพันธุ์อยู่ในอินเดียและปากีสถาน เมื่อนำเอามาเลี้ยงในพื้นที่มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน สภาพแวดล้อมเดียวกัน จึงไม่เสียเวลาที่จะต้องปรับสิ่งแวดล้อมให้สิ้นเปลือง
  2. ขอยกตัวอย่างการเลี้ยงวัวที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง (สมัยนั้น) เมื่อปี 2510-2514 ตัวเลขที่ปรากฏชัดเจนเปรียบเทียบระหว่างวัวไทย 200 แม่ (ซื้อจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง) กับวัว (สาว) บราห์มันที่มีอยู่ในขณะนั้น 150 แม่ ได้ข้อมูลดังนี้

 

พันธุ์วัว น้ำหนักแรกเกิด

(เฉลี่ย 2 เพศ)

น้ำหนักหย่านม (205 วัน)

(เฉลี่ย 2 เพศ)

พื้นเมือง 14-15 กิโลกรัม 120-121 กิโลกรัม
บราห์มัน 28-31 กิโลกรัม 178-190 กิโลกรัม

 

น้ำหนักหย่านมของวัวบราห์มันและพื้นเมืองเมื่ออายุ 205 วัน น้ำหนักวัวบราห์มัน สูงกว่าวัวพื้นเมืองโดยเฉลี่ยประมาณ 67 กิโลกรัม และเป็นการเลี้ยงในแปลงหญ้าอย่างเดียว มีอาหารผสมเพิ่มเติมในฤดูแล้งเพียง 1-1.5 กิโลกรัม ต่อวัน การจัดการเรื่องแปลงหญ้า (Pasture Management) ดำเนินการอย่างเข้มข้น ทุ่งหญ้ามีคุณภาพดีตลอดเวลา

จึงเห็นได้ว่า ถ้าเรามีวัวบราห์มันเป็นวัวพื้นฐาน (Foundation stock) เราก็จะก้าวกระโดดได้เร็วขึ้น

ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าวัวพื้นเมืองไม่ดี วัวพื้นบ้านมันปรับตัวเองได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่เคยปรับปรุงมันจริงๆ จังๆ มาแต่กาลก่อนเท่านั้นเอง ทำตอนนี้ช้าไปหน่อย ไม่ทันผู้บริโภค ข้อดีที่สุดของวัวพื้นเมืองก็คือ เลี้ยงดีๆ ให้ลูกปีละตัว ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะเคยเลี้ยงวัวพื้นเมือง 200 แม่ ระหว่างปี 2510-2514

มีความเห็นว่า ควรผลิตวัวพื้นเมืองต่อไปเพื่อให้สามารถสร้างวัวบราห์มันโดยวิธียกระดับพันธุ์จากพื้นเมืองให้มีเลือดของวัวบราห์มันสำหรับเป็น Foundation Stock ในการผลิต วัวเนื้อ วัวนม ต่อไป

  1. หลายท่านวิตกกังวลว่า วัวบราห์มันมีความสมบูรณ์พันธุ์ค่อนข้างต่ำ และช่วงการตกลูก (Calving interval) ห่าง โดยธรรมชาติวัวบราห์มันอุ้มท้อง 290-295 วัน ในขณะที่วัวไทยระยะอุ้มท้อง 275-278 วัน เดี๋ยวนี้อายุที่ผสมพันธุ์ได้ ของทั้งสองพันธุ์ก็อยู่ในราว 17-20 เดือนพอๆ กัน

เห็นว่าถ้าเราเลี้ยงดูวัวบราห์มันด้วยแปลงหญ้าดีๆ มีอาหารสำรองในฤดูแล้งคุณภาพดีๆ ก็สามารถทำให้ช่วงการตกลูกของวัวบราห์มันอยู่ระหว่าง 385-390 วันได้ ท่านต้องทำงานหนักและจริงจังกับมัน

การผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ (ตัวผู้ 1 : ตัวเมีย 25) โดยกำหนดฤดูผสมพันธุ์ (Breeding  season) 90-100 วัน เป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญ เพื่อค้นหาวัวที่มีความสมบูรณ์พันธุ์สูงไว้ในครอบครอง

ผู้เขียนนิยมทำแบบพื้นฐานความจริงดั้งเดิม เราก็จะได้วัวเป็นรุ่นๆ ขนาดสม่ำเสมอกัน (Uniformity) เป็นที่สะดุดตา สะดุดใจแก่ผู้ซื้อ และที่สำคัญคือ ง่ายแก่การจัดการ

2 1

“การจัดการทั้งตัววัวและอาหาร เป็นหัวใจของการผลิตที่มีประสิทธิภาพ”

ประวัติศาสตร์การเลี้ยงวัวเนื้อและวัวนมของเราก่อนปี 2497 (ก่อนรู้จักวัวบราห์มัน)

  1. เรามีวัวสีขาว (เทา) เรียกสมัยนั้นว่า วัวบังกาลา บางทีก็เรียกว่า บังกะลอร์ เป็นวัวซีบูชนิดหนึ่ง (เข้าใจว่าคงมาจากบังกลาเทศ) มีเป็นฝูงใหญ่เหมือนกันที่ลำพญากลาง และทับกวาง ต่อมาก็จางหายไป
  2. ปี 2495 มีการนำเข้าวัวเรดซินดิ ไม่ทราบจำนวน มาทดลองรีดนมที่ทับกวาง ขาดความเข้มข้นการรักษาพันธุ์ ก็จางหายไปในที่สุด แต่ชาวอินเดียที่เลี้ยงวัวนมเอาทั้งวัวบังกาลา และเรดซินดิไปรีดนมก็มี (เขตรอบๆ ชานเมืองกรุงเทพฯ)
  3. ปี 2495 กรมปศุสัตว์ได้รับความช่วยเหลือจาก USOM เรียกว่า Heifer Project นำเข้าวัว บราวน์สวิส (Brown Swiss) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ไม่ทราบจำนวนมาทดลองเลี้ยงวัวรีดนมที่ท่าพระขอนแก่น วัวบราวน์สวิสชุดนี้มาจากรัฐ Wisconsin สหรัฐอเมริกา

พ่อวัวบราวน์สวิสหลายตัวนำมารีดน้ำเชื้อโดยกองผสมเทียม (ขณะนั้น) ผสมกับวัวพื้นเมือง บังกาลา และเรดซินดิ

ฉะนั้น ในช่วงปี 2498-2503 จะเห็นวัวลูกผสมรีดนม

บราวน์สวิส x พื้นเมือง

บราวน์สวิส x บังกาลา (ซีบู)

บราวน์สวิส x เรดซินดิ

กระจายอยู่ทั่วๆ ไปตามแหล่งเลี้ยงวัวนม รวมทั้งที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง 33 แม่ด้วย

  1. ปี 2511 มีการนำเข้าวัวเรดซินดิและซาฮิวาล จากปากีสถาน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2511 เป็นตัวเมีย 100 ตัว ตัวผู้ 11 ตัว โดยกรมปศุสัตว์และฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ซื้อร่วมกัน 111 ตัว

ประการสุดท้าย อยากฝากข้อสังเกตว่า “วัวบราห์มันตัวเมีย” เป็นวัวที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นแม่วัวพื้นฐาน ไม่ว่าท่านจะเน้นไปที่การผลิต

ก. วัวเนื้อ ดังเช่น วัวเนื้อพันธุ์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่มีเลือดวัวยุโรป 5/8 และบราห์มัน 3/8 หรือ

ข. วัวนม การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์อาจมีความละเอียดอ่อนกว่าวัวเนื้อ มีเป้าหมายหลักเกณฑ์ดีๆ ก็จะได้วัวรีดนมที่ดีในสภาพแวดล้อมบ้านเราได้

ทุกวันยังเชื่อกันว่าต้องมีเลือดวัวนม (ยุโรป) สูงๆ ให้นมวันละ 30-40 ลิตร ความจริงวัวให้นมขนาดนี้ในบ้านเราต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร ฮอร์โมน ยาปฏิชีวน วิตามิน ฯลฯ มากมาย นม 30-40 ลิตร จะยืนได้สักกี่วัน มีวัวพวกนี้จำนวนมากรีดนมมา 2-3 ปี ยังไม่ให้ลูกเพิ่มเลย สู้เลี้ยงวัวเลือดต่ำลงมาหน่อย ให้นมปีละ 4,200-4,500 กิโลกรัม ต่อระยะให้นม (300-305 วัน) ค่าอาหารถูกกว่าไม่เจ็บไม่ป่วย ให้ลูกปีละตัว น่าจะดีที่สุด จึงขอให้มองในแง่ของ Optimal Production ดีกว่า

ข้อคิดอีกประการหนึ่งของการเลี้ยงวัวบราห์มัน ซึ่งอยากให้ทุกท่านคิดใคร่ครวญก่อนตัดสินใจคือ จงเลี้ยงวัวอย่างที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่อย่าเลี้ยงเพื่อความสวยงาม (Aesthetic purpose) ดูไม่นานก็เบื่อ

พึงระลึกเสมอว่า สมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคอเมริกันบราห์มัน (ABBA)ในสหรัฐ เขามีวัวอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ อเมริกันบราห์มันเทา (คนไทยว่า บราห์มันขาว) และอเมริกันบราห์มันแดง (American Red Brahman) สมาคมถือว่าทั้งเทาและแดงมีคุณภาพและศักดิ์ศรีเท่ากัน ถาม Mr. John Jefcoat อดีตเจ้าของฟาร์ม Double J Ranch เมือง Scott Louisiana ว่าทำไมการสร้างพันธุ์วัวเนื้อในอเมริกาจึงใช้บราห์มันเทาทุกพันธุ์เลย (ถามที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549) แกตอบว่าคนอเมริกันนั้นมุ่งที่ปริมาณเนื้อและคุณภาพเนื้อในตัววัวเป็นหลัก จึงนำเอาบราห์มันเทามาใช้ เพราะมี แหล่งพันธุกรรม (Gene pool) มากกว่าพันธุ์สีแดง 

ตอนหน้าตอนจบ พบกับการพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงดูวัวบราห์มัน