ผู้เขียน | ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
พาณิชย์ เปิดโครงการแปรรูปมันสำปะหลัง หวังผลักดันให้เกษตรกรเข้าร่วมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องเห็นช่องทางการค้า การส่งออก สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่กินได้
นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเปิดโครงการแปรรูปมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชนว่า กระทรวงพาณิชย์เปิดตัวโครงการดังกล่าว เป้าหมายหลักต้องการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรไทยเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือ ให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเอง ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเข้าโครงการดังกล่าว ล่าสุดเข้าร่วมกว่า 1,200 ราย
โดยกระทรวงพาณิชย์ก็จะผลักดันให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น เนื่องจากเห็นช่องทางการทำตลาดโดยเฉพาะผลิตภันฑ์ที่ทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งมีความต้องการอย่างมากในการบริโภค โดยเกษตรกรสามารถดำเนินการผลิตเองได้ โดยกระทรวงพาณิชย์ก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการอบรมให้ความรู้ และพัฒนาสินค้าที่ผลิตจากมันสำปะหลังออกไปจำหน่ายในตลาด ซึ่งก็จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมในการพัฒนาและการเพาะปลูกในมันสำปะหลังที่สามารถบริโภคได้
“มันสำปะหลังที่บริโภคได้จะต่างจากมันสำปะหลังที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ พลังงาน มีด้วยกันไม่กี่สายพันธ์ เช่น มัน 5 นาที มันพิรุณ 2 และมันระยอง 2 ที่สามารถนำมาผลิตเพื่อการบริโภคของคน ซึ่งเป็นมันที่ขายได้ราคาดี จึงต้องการส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชบย์ได้ส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกใน 3 จังหวัด เช่น ขอนแก่ง นครราชสีมา และกำแพงเพชร”
นอกจากนี้ ยังต้องการให้หันมาเพราะปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล เนื่องจากมีความต้องการและขายได้ราคาดี กว่ามันเส้นซึ่งตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีน อีกทั้ง แนวโน้มการผลิตพลังงานจะขยับขึ้นมาผลิต E20 และ E85 ซึ่งความต้องการมันสำปะหลังก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาก็ดีอยู่เฉลี่ยอยู่ที่ 1.90- 2 บาทต่อกิโลกรัม ในเชื้อแป้งที่ 25% ที่มีการรับซื้อ ซึ่งก็จะสามารถดูดซับมันสำปะหลังได้มาก โดยผลผลิตมันในปี 2560 ก็คาดอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการต่อปีอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านตัน ปัจจุบันมันสำปะกำลังทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง