MR. CORN (ตอนที่ 2)

การเปลี่ยนใจคน มันยาก โดยเฉพาะ คนแก่ เกษตรกรที่ทำแต่นาข้าวเลี้ยงชีพมาตลอดชีวิต คุณว่ายากมั้ย ยากสิ แต่ถามว่า ทำได้ป่าว ทำได้สิ

หลังจากที่นิดและโอเล่ ตัดสินใจเริ่มโครงการเปลี่ยนนาข้าว เป็นข้าวโพด มาถึงวันนี้ ก็ใช้เวลา 3 ปี วันนี้ก็มาถึงวันที่ ชาวนาหลายคน เริ่มหันมาปลูกข้าวโพดแล้ว และแล้วก็ตามกันมาทั้งหมู่บ้าน

เมื่อถามทั้งสองคนว่า ทำไง ถึงได้มาอย่างนี้ คำตอบเดียวที่มีคือ คุณต้องเข้าใจเขาให้มากๆ ว่า อาชีพของเขา เป็นอาชีพที่เสี่ยงมาก

แม้ว่า รัฐบาลประกาศ มอบเงิน 2,000 บาท ซึ่งมากกว่ากำไรที่ได้จากการปลูกข้าว เพื่อสนับสนุนชาวนาว่า อย่าปลูกข้าว แต่เรื่องจริง ไม่มีใครกล้าเปลี่ยนใจอยู่ดี นั่นเพราะเกษตรกรเขาไม่รู้วิธีปลูก ไม่รู้ว่า รัฐให้จริงรึป่าว รู้แค่อย่างเดียวว่า เกี่ยวข้าวเมื่อไร ราคาจะดีไม่ดี เขาก็ขายได้

ทีมส่งเสริมการปลูกข้าวโพด ซีพี

หรือแม้แต่ เอกชนจะเปรียบเทียบราคา ต้นทุน กำไร ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามากกว่า การเปลี่ยนใจ ก็ยังไม่เกิดมากเท่าไร

นั่นก็เพราะว่า พวกเขา ขาดความมั่นใจ ว่าสิ่งใหม่จะดีกว่า ความเสี่ยงตัวใหม่ที่ยากจะเลือก

จนกว่าจะเห็นใครสักคนเปลี่ยนแล้วสำเร็จ ความมั่นใจเริ่มมา

ตราบใดที่ยังสร้างความมั่นใจไม่ได้ ชาวนาเขาก็ต้องเลือกที่จะเสี่ยงกับเรื่องเดิมๆ เพราะว่า …อย่างใด เขาก็ได้เงินชัวร์

หลายครั้งที่รัฐพยายามบอกให้ไปปลูกอย่างอื่น มันไม่เคยสำเร็จ เพราะไม่มีกองเชียร์ ให้น้ำ ให้ยาดม ผ้าเย็น

การบอกกล่าวจาก กทม. กระจายเป้าให้จังหวัด ไปบอกชาวบ้าน ผลที่ได้คือ กลับบ้านไปเถอะจ๊ะ บอกแล้วไม่รับซื้อ

สำหรับเกษตรกรแล้ว ความเชื่อมันอยู่ที่การรับซื้อ และการรับซื้อที่เป็นรูปธรรมคือ การกำหนดจุดรับซื้อที่ชัดเจน

เคล็ดลับคือ เราต้องอึดพอที่จะเสริมแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ ให้เรื่อยๆ แม้ว่าทางการจะบอกว่า ใครที่ปลูกข้าวโพดแทนข้าวนาปี จะได้เงิน 2,000 บาท ก็อาจจะมีแค่ไม่กี่รายที่คิดว่า เอาวะ เปลี่ยนก็เปลี่ยน อย่างไรก็ได้ 2,000 แต่คนแบบนี้นะ มีไม่มาก

บางส่วน รอดู เมื่อมีคนสำเร็จจะขยับตาม พอผ่านไป 40 กว่าวัน ข้าวโพดเริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว การเรียนรู้บทใหม่ ก็เริ่มขึ้น ที่ ลานตาก และจุดรับซื้อ ซึ่งมักจะเช่ากันตามโรงสี

ณ จุดนี้ เราได้เห็น ผลผลิตข้าวโพดของเกษตรกร รวบรวมมาเทรวมกัน และยังได้เห็นภาพข้าวโพดที่ปนกับเศษหญ้า ตอซัง หรือใบข้าวโพด

นี่แหละคือ จุดที่ต้องเรียนรู้ เรื่องหลังเก็บเกี่ยว ที่เกษตรกรไทยต้องเรียนรู้ให้มากๆ เพราะมันจะทำให้เขาได้เงินเยอะหรือน้อย ข้าวโพดปนเศษต่างๆ ก็มาคัดแยก ก็ได้ราคาน้อย

ข้าวโพดที่ไม่ตากแห้งให้ดี ก็มีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสูง ราคาขายได้ก็น้อย

เกษตรกร ที่คิดปลูกข้าวโพด เพียงเพื่อได้เงินสนับสนุน 2,000 บาท ต่อไร่ เช่น ถ้ามีที่ดิน 15 ไร่ ก็ได้ 30,000 บาท อาจดีใจ แต่เมื่อหันไปเห็นเพื่อนอีกคนก็มีที่ดินเท่ากัน รายนั้น ได้กำไร 50,000 บาท

ถ้าตั้งใจปลูกให้ได้ผลผลิตต่อไร่มาก ก็ขายได้มาก และหลังเก็บ ถ้าอดทนตากอีกสัก 7 วัน ก็ได้ราคาสูงสุดที่ความชื้น 14%

โธ่! ปีหน้าเราต้องสู้