ไผ่จีนมีหลายชื่อ ผลผลิตกว่า 30 หน่อต่อกอต่อปี

จริงๆ แล้ว ไผ่ในเมืองไทยมีมากหนักหนา กระนั้นก็ตามเมื่อค้นพบไผ่สายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่อยู่ในวงการก็อดไม่ได้ที่จะให้ความสนใจ

แต่ก่อนเก่าโบราณมีการนำไผ่จากจีนเข้ามาปลูกคือ ไผ่ตง ระยะเวลาน่าจะกว่า 100 ปีแล้ว

ราว 10-20 ปีมานี้ มีการนำไผ่ชนิดใหม่จากจีนเข้ามา ลักษณะโดดเด่นมาก คือเจริญเติบโตและให้หน่อเร็ว

แต่ที่มานั้นยังสับสน ว่านำเข้ามาตั้งแม่เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้นำเข้ามา

6

ยุคแรกๆ เมื่อไผ่ชนิดนี้ ไปเจริญแพร่พันธุ์อยู่ที่ใด คนในท้องถิ่นจะตั้งชื่อขึ้นใหม่ ทำให้ไผ่จีนที่คุณสมบัติโดดเด่นมีมากกว่า 5 ชื่อ

ในเขตตัวเมืองกาญจนบุรี เรียกกันว่า ไผ่ตงลืมแล้ง

ที่อำเภอไทรโยค เรียกว่า ไผ่กิมซุ่ง

คุณทรงยศ พุ่มทับทิม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ไปพบที่ระยอง จึงนำไปศึกษาอยู่ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เรียก ไผ่จีนเขียวเขาสมิง

ชาวนครสวรรค์เรียก ไผ่อินโดจีน

ยังมีชื่ออื่นๆ อีก

คุณสมบัติที่พบเห็นอยู่ของไผ่ชนิดนี้ หากสภาพแวดล้อมดีพอสมควร จะเจริญเติบโตเร็ว หลังปลูกเพียง 4-7 เดือน ก็เริ่มให้หน่อได้แล้ว

จำนวนหน่อต่อกอดก แต่ต้องหมั่นสางลำออก อย่าให้ลำมากหรือแน่นมากเกินไป หากลำมากจำนวนหน่อที่ออกมาจะน้อย หน่อมีขนาดเล็ก ให้ดีควรไว้ลำ 6-7 ลำ ต่อกอ โดยสางลำที่อายุมากออกไปใช้งาน

คุณบุญลือ สุขเกษม และภรรยา
คุณบุญลือ สุขเกษม และภรรยา

ที่จังหวัดตราด เคยเก็บตัวเลขไว้ พบว่า ไผ่จีนให้หน่อได้ 30 หน่อ ต่อกอ ต่อปี น้ำหนัก ต่อหน่อ 1.5-2.5 กิโลกรัม หน่อไผ่จีนนำไปปรุงอาหารได้ทุกอย่าง

ลำไผ่จีนก็ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการเผาถ่าน

bc34

bc32

bc33

พื้นที่ใดมีน้ำดี สามารถทำให้ออกก่อนฤดูได้

สิ่งหนึ่งที่ผู้ปลูกไผ่ชนิดนี้ประทับใจมากนั้น ผืนดินที่รกเรื้อไปด้วยหญ้า เมื่อปลูกไผ่จีนได้ 2-3 ปี บริเวณนั้นจะร่มเย็น พื้นล่างไม่มีวัชพืชขึ้น

เริ่มแรกที่มีการเผยแพร่เรื่องของไผ่จีน สนนราคาต้นพันธุ์ค่อนข้างสูง ซึ่งวิธีขยายพันธุ์ทำได้ง่ายโดยการตอน ทุกวันนี้ ต้นพันธุ์ไผ่จีนราคาย่อมเยา สามารถซื้อหาไปปลูกได้ทีละมากๆ

พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบไผ่นี้ เพราะสามารถสร้างป่าได้เร็ว หน่อไผ่ก็จำหน่ายได้ดี เพราะมีการบริโภคกันมาก

     คุณบุญลือ สุขเกษม เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ศึกษาไผ่จีนอย่างจริงจัง ติดต่อเกษตรกรรายนี้ได้ที่ 41/3 หมู่ที่ 1 ตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โทรศัพท์ (086) 127-1256