สะตอ…เอกลักษณ์ ชาวปักษ์ใต้

สะตอ

สะตอ พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่ภาคใต้มาช้านาน ด้วยความอร่อยล้ำมีกลิ่นเฉพาะตัว ใครกินแล้วกลิ่นติดปากอยู่นาน ผนวกกับปัจจุบันสะตอสามารถปลูกได้ในภาคอื่นนอกจากภาคใต้ จึงเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจปลูกกันไว้รอบรั้วบ้าน

สะตอ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดชุมพร หรือสุราษฎร์ธานี เรียกว่า “สะตอ” หรือ “กะตอ” หรือตามแต่ละท้องถิ่นในภาคใต้เรียก

สะตอ

นอกจากสะตอจะปลูกกันมากในทางภาคใต้ของประเทศไทยแล้วยังมีปลูกในประเทศมาเลเซียรวมถึงอินโดนีเซียด้วย สายพันธุ์สะตอที่ปลูกอยู่ในภาคใต้คือ พันธุ์สะตอข้าว สะตอดาน

นอกจากสะตอมีการปลูกไว้ในสวนหรือหัวไร่ปลายนาแล้วยังมีเกษตรกรทำสวนสะตอปลูกส่งขายสู่จังหวัดภาคใต้ ส่วนหนึ่งได้มีการส่งขายเข้ามาภายในกรุงเทพมหานครด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชื่อสามัญ Pakria ชื่อวิทยาศาสตร์ Pakria speciosa Hassk. จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae

ลำต้นค่อนข้างสูง ประมาณ 20-30 เมตร เปลือกหนาสีน้ำตาล ผิวเรียบ มีรากแก้วช่วยพยุงลำต้น

เมล็ดสะตอเกิดจากรังไข่ที่ผสมแล้ว เมล็ดมีสีเขียวเรียงตามแนวขวางกับฝัก เมล็ดมีรูปร่างรี สะตอหนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 7-20 เมล็ด

สะตอ

ลักษณะใบของต้นสะตอก้านทางใบมีลักษณะเป็นคู่ บริเวณส่วนของก้านทางใบมีใบขนาดเล็กเป็นรูปพาย

ฝักของสะตอเกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว มีลักษณะตรงห้อยจากตุ่มดอกเป็นพวงลงมาสีค่อนข้างเขียว ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน ฝักแก่มีสีเขียวเข้ม

ผลดิบของสะตอสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้โดยต้อง  สังเกตุสะตอที่มีฝักแก่ซึ่งเมล็ดจะไม่อ่อนมากเมื่อนำมารับประทานแล้วมีรสชาติที่อร่อยกว่าสะตออ่อน

สะตอสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น เป็นผักเหนาะ (ผักทานคู่กับแกง) สะตอผัดกุ้ง สะตอผัดหมู หรือสะตอดอง นอกจากสะตอสามารถนำมาประกอบอาหารได้แล้ว ภายในเมล็ดของสะตอยังให้คุณค่าทางสารอาหารมากมาย เช่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ปัญหาโรคไต ช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

สะตอ

หากรับประทานสะตอแล้ว ผู้รับประทานมีกลิ่นปากสามารถแก้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามลงไปจะสามารถดับกลิ่นของสะตอลงได้

แนวทางการปลูกสะตอ หากต้องการทำเป็นการค้าควรปลูกให้อยู่ในระยะปลูก 12 คูณ 12 เมตร (ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว) เนื่องจากสะตอเป็นพืชที่เมื่อเติบโตแล้วต้นมีขนาดใหญ่ต้องการพื้นที่ในการแผ่กิ่งให้ผลจึงควรปลูกในบริเวณสวนหรือพื้นที่ห่างจากบ้านพักอาศัยไม่มากนัก

โดยขุดหลุมให้ได้ขนาดพอดีกันกับต้นสะตอที่จะนำมาปลูก สำหรับดินที่ใช้ปลูกสะตอควรเป็นดินแดงหรือดินร่วนแดงผสมกรวด เพื่อให้รากของสะตอสามารถยึดติดกับดินในแปลงปลูกได้ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสะตอได้ 11 ต้น

การบำรุงต้นสะตอนั้นไม่ได้มีวิธีการที่ยากนักเพียงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบำรุงให้ต้นสะตอช่วงก่อนติดฝัก (ออกโม้ง) เพียงเท่านี้ก็ได้ฝักสะตอสีเขียวสดพร้อมจำหน่ายหรือรับประทานเองที่บ้านแล้ว

แหล่งปลูกสำคัญคือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก

แต่ปัจจุบันพื้นที่ขยายไปยังจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ กาญจนบุรี รวมทั้งภาคเหนือหลายจังหวัด