สมุนไพรพื้นบ้านแปรรูป สร้างรายได้ ฝืมือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรำมะสัก อ่างทอง

สมาชิกกลุ่ม

กระแสการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น แชมพู สบู่ ครีมอบตัว ขัดตัว ยาหม่อง ยาสีฟัน  ครีมอาบน้ำ ฯลฯ จนกลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับคนในชุมชนซึ่งได้ใช้เวลาว่างจากอาชีพหลักมารวบกลุ่มทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว

กลุ่มแม่บ้านเกษตกรรำมะสัก ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นหนึ่งกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จนกลายเป็นที่รู้จักของคนในหลายพื้นที่และขยายวงกว้างไปยังต่างประเทศด้วยเวลาเพียงไม่นาน

 

สร้างอาชีพ จากวัตถุดิบพื้นบ้าน

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรำมะสัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 โดยการนำของคุณสงัด พรหมเนตร ประธานกลุ่มคนปัจจุบัน  ซึ่งคุณสงัด เล่าฟังว่า จุดเริ่มต้นของการนำสมุนไพรมาแปรรูป เกิดจากความคิดส่วนตัว บวกกับความรู้และความชำนาญที่ติดตัวมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ

คุณสงัด พรหมเนตร

“หลังจากไม่ประสบความสำเร็จกับอาชีพรับจ้าง  ก็เข้าหางานทำในกรุเทพฯ โดยไปอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องและเริ่มต้นด้วยการเป็นแม่ค้าทำขนมไทยขาย ทำได้ระยะหนึ่งก็พอมีรายได้มาใช้จ่ายและเก็บสะสมไว้ จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยว เปิดหูเปิดตา ทำให้เราได้ไปเห็นลูกประคบสมุนไพรว่างจำหน่ายอยู่ และหลังจากกลับจากเที่ยวก็มานั่งคิดว่าส่วนผสมในลูกประคบนั้น เป็นสิ่งที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่นบ้านเรา เราก็มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ จึงสนใจที่จะลูกประคบส่งขายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอาชีพ ”

คุณสงัด เริ่มทำลูกประคบสมุนไพรส่งให้กับร้านค้า โดยใช้พื้นที่ลานวัดเป็นสถานที่ตากสมุนไพร  ซึ่งทุกกระบวนการจะผ่านแรงงานคน เนื่องจากยังไม่มีเงินทุนชื้อเครื่องจักรเข้ามาช่วย

“ทุกครั้งที่มีออร์เดอร์เข้ามา เราจะกลับมาทำที่บ้าน  พอเสร็จก็จะเอาไปส่ง หลังจากส่งแล้วก็จะมาทำขนมขาย ทำเช่นนี้มาระยะหนึ่ง ก็เพิ่มลูกสมุนไพรอบตัว เพราะเห็นว่าตัวยาที่ใช้ตัวเดียวกัน แต่การแปรรูปต่างกันตรงที่ ลูกประคบจะใช้วิธีการตำ ส่วนสมุนไพรอบตัวจะใช้วิธีสับเป็นชิ้นเล็กๆ ”

ส่วนผสม สมุนไพรพื้นบ้าน

ในระหว่างที่ผลิตลูกประคบและสมุนไพรอบตัวส่งจำหน่ายอยู่นั้น ได้ศึกษาเรียนรู้ ทดลองทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขั้นตอนและสูตรจะใช้วิธีการสอบถามจากผู้รู้ ซึ่งบางก็บอก บางก็ไม่บอก นำมาปรับปรุงเป็นของตนเอง

ปริมาณสินค้าถูกสั่งเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทำให้พี่สงัดมาเชิญชวนคนรู้จักในชุมชนมาช่วยทำ โดยใช้พื้นที่รอบๆ บ้านประกอบกิจกรรมทุกอย่าง ส่วนวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็น ขิง ขา ตะไคร้ ขมิ้น และอื่นๆ หาเก็บและชื้อได้ในราคาที่ถูกตามท้องถิ่น

ขี้ผึ้งสมุนไพร

จัดระบบ ก่อตั้งกลุ่ม สร้างคุณภาพ ขยายตลาด

ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมา จำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องและเริ่มมีหน่ายงานเข้ามาเชิญให้ออกร้าน จนเป็นที่รู้จัก หลายคนให้ความสนใจ พอปี 46 มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งทางรัฐบาลได้ให้งบสนับสนุนชุมชนละ 1 ล้านบาท เพื่อมาพัฒนาอาชีพคนในพื้นที่ให้มีรายได้ พี่สงัดจึงเขียนโครงการขอทุนมาสนับสนุนในกลุ่ม

การขอทุนสนับสนุน มีข้อแม้ว่า ต้องมีสมาชิกรวมกันเป็นกลุ่ม จะขอมาทำส่วนตัวไม่ได้ ดังนั้นพี่สงัดจึงก่อตั้งกลุ่มขึ้นมา ด้วยสมาชิกทั้งหมด 16 คน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบถูกต้องตามหลักเกณฑ์ โดยมีชื่อว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรำมะสัก

ลูกประคบ ผลิตภัณฑ์ทำเงินตัวแรก

กลุ่มแม่บ้านเกษตกรรำมะสัก ดำเนินกิจการด้วยสมาชิก 16 คน ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด และพัฒนาต่อยอดมาถึง ณ วันนี้มีสมาชิกประมาณ 70-80 คน มีผลิตภัณฑ์กว่า 100 ชนิดที่ผลิตออกมาจำหนายและขึ้นทะเบียนรออีก 300 ชนิด

“ทุกๆ วันเราจะมีกิจกรรม สลับสับเปลี่ยนกันไป จะใช้ระยะเวลาในการทำทั้งกระบวนการแต่ละชิ้น ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียวได้ บางแผนกก็สามารถนำกลับไปทำที่บ้าน พอถึงเวลาก็จะไปรวบรวมกลับมาบรรจุใส่ภาชนะเพื่อส่งต่อให้ลูกค้าที่กลุ่ม โดยแต่ละวันเราสามารถผลิตลูกประคบได้ถึง 2000 ลูก ลูกอบตัว 300-400 ลูก”

ส่วนตลาดนั้น ส่วนใหญ่จะมีอยู่ทุกที่ กระจ่ายอยู่ทั่วไป มีลูกค้ามารับชื้อไปจำหน่ายขายต่อ ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะมีคนเข้ามารับชื้อไปจำหน่ายอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง

สมาชิกกลุ่ม

นอกจากจะส่งขายให้กับตัวแทนจำหน่ายแล้ว กลุ่มยังมีหน้าร้านเปิดบริการให้กับคนในชุมชนและพ่อค้าแม่ค้าขาจรได้ชื้อหากัน ซึ่งบางวันทำเงินได้ถึง 1 แสนบาท

คุณสงัด กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่กลุ่มเดิมหน้ามาถึงทุกวันนี้ มีหลายหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุน ด้านเงินทุน หาชื้อเครื่องจักร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนหาตลาด

“เทศบาล เกษตรและสหกรณ์จังหวัด พัฒนาชุมชน และอีกหลายๆหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ ทำให้กลุ่มได้มีงานทำ มีรายได้เสริมสร้างความยั่งยืนให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี”

จากการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในเรื่องของเงินทุนแล้ว การส่งเสริมให้ความรู้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้วันนี้กลุ่มพัฒนานำสมุนไพรมาสกัดและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับสินค้า