เผยแพร่ |
---|
ด้วยดอยแปกแซม อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่หุบเขา ห่างไกลความเจริญ ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการปลูกฝิ่น โครงการพระราชดำริฯ ต้องการให้กลุ่มประชาชนปลูกพืชที่มีประโยชน์ทดแทนการปลูกฝิ่น
เพื่อสนองพระราชดำริให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจึงเลือกสมุนไพรตังกุย ชื่อวิทยาศาสตร์ (Angelica sinensis (Oliv.) Diels.) วงศ์ Umbelliferae ไทยเรียก โกฏเชียง พันธุ์ที่มีศักยภาพสามารถเพาะปลูกขึ้นในประเทศไทยมาเพาะปลูกแทนการปลูกฝิ่น ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่มีความพร้อมกอปรกับข้อมูลสนับสนุนถึงศักยภาพด้านเวชสำอางของสมุนไพรตังกุย จึงเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิวจากสมุนไพรตังกุย เพื่อลดการนำเข้า/ทดแทนเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิว ให้ประชาชนมีทางเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรราคาถูกและผลข้างเคียงน้อยกว่า ก่อให้เกิดการพึ่งตนเอง เสริมสร้างงานแก่กลุ่มเกษตรกรและภาคเอกชนอันนำมาซึ่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
จุดเด่น สารสกัดแอลกอฮอล์ของรากตังกุย (Angelina sinensis) มีผลผลิต 13.83% พบสารสำคัญคือ ไลกัสติไล (Ligustilide) และกรดเฟอร์รูลิก (Ferulic acid) ที่ 1.476 และ 0.234 % โดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก นำสารสกัดไปทดสอบพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่ 181.5±13.79 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ทำการพัฒนาสูตรโดยใช้เทคนิคนาโนพาร์ติเคิลได้ขนาด 87.9 ± 0.46 นาโนเมตร นำผลิตภัณฑ์นี้ไปทดสอบพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่ 151.00 ± 4.92 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรและทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านการกระชับผิวต่ออาสาสมัครโดยวิธี cutometer พบว่าอาทิตย์ที่ 4 และ 8 ผลิตภัณฑ์นี้สามารถกระชับผิวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ติดต่อได้ที่ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โทร. 0-2577-9436-38 หรือ Call center วว. โทร.0 2577 9300 ในวันและเวลาราชการ E-mail : [email protected]