ปล้องไม้ไผ่-หลอดไฟ อุปกรณ์ดักมอดข้าวสาร

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย พบว่ามีหลายครัวเรือนประสบปัญหาในการจัดเก็บข้าว เนื่องจากข้าวเป็นธัญพืชที่มีคุณค่า และเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของเหล่าแมลง จึงทำให้ข้าวกลายเป็นอาหารชั้นโปรดของแมลง โดยเฉพาะด้วงงวง หรือที่เรียกกันว่า มอดข้าวสาร

มอดจะเข้ามากัดกินข้าว ทำให้คุณภาพข้าวเสียหาย ที่ผ่านมาเคยมีการแนะนำการเก็บข้าวสารให้พ้นจากการกัดกินของมอด  เช่น นำข้าวสารใหม่ใส่ใบมะกรูด และพริก แล้วเทเกลือ ไว้ในข้าวสาร เนื่องจากเกลือจะทำให้มอดแสบตา หรือบางรายจะใช้ช้อนสแตนเลส ลูกกุญแจ และตะปู หรือใบกระวานใส่ในที่เก็บข้าวสาร แต่ที่สำคัญที่สุดควรหมั่นนำข้าวสารมาตากแดด

สำหรับข้าวเก่า ที่มีมอดอยู่แล้ว บางราย นำข้าวสารมาตากแดดให้มอดตาย แล้วเก็บใส่ในกล่องที่เป็นสูญญากาศ จากนั้นก็แบ่งใส่ถังเล็กสำหรับใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ และบางตำราแนะว่า เอาข้าวแช่ตู้เย็น โดยการปิดปากถุงข้าวสารให้แน่น ความเย็นจะช่วยให้มอดไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นได้น้อยมาก

1463573958

ด้วยเหตุนี้ ด.ช.ณัฐพล วงค์บุตร, ด.ช.รังสรรค์ จันทร์ลาพันธ์, ด.ญ.เอ็นดู เภาดี, ด.ญ.ประกายแก้ว ศิรินัย และด.ช.ภาณุ ธิดาแก้ว จากโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันคิดทำโครงงาน ประดิษฐ์กับดักมอดข้าวสาร ที่มีคุณสมบัติในการดักมอดข้าว สามารถใส่ในภาชนะข้าวสารได้

วัสดุที่ใช้ทำจากไม้ไผ่ เป็นวัสดุธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น กับดักชิ้นดังกล่าวมีหลักการทำงานโดยอาศัยความร้อน โดยการทดลอง เพื่อทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของสิ่งสองสิ่ง คือ ข้าวและกระบอกไม้ไผ่ และผลของการใช้หลักการนี้สามารถกำจัดมอดที่มีอยู่ในข้าวสารเพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพของข้าวให้วัสดุที่ใช้นานขึ้น

ขั้นตอนการผลิตสิ่งประดิษฐ์

1.นำไม้ไผ่ที่มีลักษณะเป็นปล้องกลวงตลอดความยาวโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน ประมาณ 3 เซ็นติเมตร

2.ตัดไม้ไผ่เป็นท่อน ท่อนละ 15-20 เซนติเมตร

3.นำกระบอกไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อนเรียบร้อยแล้ว มาเจาะรูรอบๆ กระบอก เป็นลักษณะฟันปลา จำนวน 30 รู โดยใช้สว่านมือ เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 4 มิลลิเมตร

4.ทำฝาปิดปากกระบอกไม้ไผ่

5.ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ

6.ติดตั้งหลอดไฟไว้ที่ฝาถัง

อุปกรณ์ ประกอบด้วย ไม้ไผ่ เลื่อย สว่านมือ และกระดาษทราย
อุปกรณ์ ประกอบด้วย ไม้ไผ่ เลื่อย สว่านมือ และกระดาษทราย

วิธีทดลอง ที่ผ่านมากลุ่มผู้จัดทำเคยทำการทดลอง การใช้กับดักมอด โดยแบ่งถังข้าวสารเป็น 2 ถัง ถังใบที่ 1 เป็นถังที่ประกอบหลอดไฟและบรรจุข้าว 7 กิโลเมตร ที่มีมอดอยู่ประมาณ 500 ตัว, ส่วนถังใบที่ 2 เป็นถังที่ไม่มีหลอดไฟ บรรจุข้าวสาร 7 กิโลกรัม ที่มีมอดอยู่ถังละ 500 ตัว

จากนั้นนำถังทั้งสองวางไว้ในบริเวณห้องเดียวกัน โดยถังที่ใช้ไฟจับเวลา 2 ชั่วโมง แล้วเปิดฝาถังดึงกับดักมอด เคาะนับจำนวนมอด และนำกับดักมอดของถังที่ 2 ที่ไม่มีไฟมาเคาะจำนวนมอดที่เข้ามาอยู่

สรุปผลการทดลอง พบว่า เมื่อนำถังที่บรรจุข้าวสารทั้งสองถัง โดยมีถังที่มีหลอดไฟและมีกับดักมอดเสียบอยู่ตรงกลาง จะมีมอดเข้ามาอยู่ในกับดักมากกว่าถังข้าวที่ไม่มีหลอดไฟ

ประโยชน์ผลงานประดิษฐ์

1.ได้กับดักมอดข้าวสารจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น

2.กับดักมอดข้าวสารที่สร้างขึ้นปราศจากการใช้สารเคมีและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งมีชีวิตใกล้เคียง

3.ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

4.สามารถนำกับดักมอดข้าวสารที่ได้ไปพัฒนาและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการประกอบอาชีพหรือโอท็อปได้

1463574013

สำหรับมอด จะวางไข่ไว้ที่ข้าวเปลือก เมื่อนำไปขัดสีเป็นข้าวสารก็ไม่สามารถขัดสีไข่มอดออกไปให้หมด ทำให้ข้าวสารเกิดมอด สำหรับท่านใดจะทดลองอย่างกลุ่มนักเรียนโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ก็ลองทำดูได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์อย่างง่าย ที่สำคัญใช้ความร้อนเป็นตัวช่วย

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์