ราชกิจจาฯ ประกาศจัดเก็บ ‘สารพิษอันตราย’ ต้องแจ้งภายใน 15 วัน

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 1511/2562  เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เรื่อง การดำเนินการกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 วัตถุอันตรายตามคำสั่งนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายไกลโฟเซต ไกลโฟเซต -เซสควิโซเดียม ไกลโฟเซต – โซเดียม ไกลโฟเซต – ไดแอมโมเนียม ไกลโฟเซต – ไตรมีเซียมไกลโฟเซต -โพแทสเซียม ไกลโฟเซต – โมโนเอทิลแอมโมเนียม ไกลโฟเซต – โมโนแอมโมเนียม ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมคลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส – เมทิล พาราควอต พาราควอตไดคลอไรด์และพาราควอตไดคลอไรด์ [บิส (เมทิลซัลเฟต)]  ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา  18 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

ข้อ 2 ให้วัตถุอันตราย ตามข้อ 1 ที่อยู่ในความครอบครอง ก่อนวันที่ประกาศกำหนดให้วัตถุอันตรายนั้นเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ต้องแจ้งปริมาณที่มีไว้ในครอบครอง ภายใน 15 วัน  นับแต่ประกาศกำหนดให้วัตถุอันตรายดังกล่าว เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4  มีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้

2.1 กรุงเทพมหานคร แจ้งที่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
2.2 ภูมิภาคแจ้งที่
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา

ข้อ 3  ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ตามข้อ 2  ส่งมอบวัตถุอันตรายดังกล่าว ที่อยู่ในความครอบครอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แจ้งปริมาณการครอบครอง ดังนี้

3.1 กรุงเทพมหานคร ส่งมอบที่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
3.2 ภูมิภาคส่งมอบที่
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
– สำนักวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและพัฒนำกำรเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา

คำสั่งนี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 29 ต.ค. พ.ศ. 2562