เผยแพร่ |
---|
องค์กรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น เตรียมจัดสัมมนานานาชาติออนไลน์ “สมาร์ทฟู้ดเชน ประจำปี 2563 (International Smart Food Chain Symposium 2020)” การพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลระดับโลกที่จะช่วยให้การผลิต กระจายและบริโภคอาหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กลุ่มสมาร์ทฟู้ดเชน (Smart Food Chain Consortium) ซึ่งเป็นโครงการของเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพและการเกษตรที่ชาญฉลาด ซึ่งบริหารงานโดยโครงการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ข้ามกระทรวง หรือ Cross-ministerial Strategic Innovation Promotion Program (SIP) และองค์การวิจัยเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ National Agriculture and Food Research Organization (NARO) และ Keio Research Institute at SFC ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับสมาร์ทฟู้ดเชน ประจำปี 2563
โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก และได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างการใช้งานแพลตฟอร์มสมาร์ทฟู้ดเชน ที่ชื่อ “WAGRI-dev” สู่นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใกล้ชิดกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมโครงการนี้ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการเกษตรแบบสมาร์ทในภูมิภาคเอเชีย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการสร้างนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (อุตสาหกรรมสมาร์ทไบโอและเทคโนโลยีพื้นฐานด้านการเกษตร) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ และการประมง ตลอดจนถึงขั้นตอนการบริโภค กล่าวคือ ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ
โดยกำหนดจัดสัมมนา ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 ณ G-Lab, Mita Campus, Keio University ประเทศญี่ปุ่น และที่สำนักงานใหญ่ของ FAO ในกรุงโรม ประเทศไทย เวียดนาม และพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งเผยแพร่ข้อมูลพร้อมกันในระดับนานาชาติผ่านอินเทอร์เน็ต ไปยัง 20 ประเทศในเอเชีย (ประเทศสมาชิก Asian Productivity Organization)
การจัดงานดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การบรรยายหลักโดย Dr. Rosa Rolle, Senior Enterprise Development Officer, Team Leader, Food Loss and Waste, Nutrition and Food Systems Division เกี่ยวกับ Smart Food System และ คุณโคบายาชิ โนริอากิ ผู้รับผิดชอบอุตสาหกรรมสมาร์ทไบโอและเทคโนโลยีพื้นฐานทางการเกษตร ภายใต้ SIP
2.การบรรยายหัวข้อความปลอดภัยทางอาหารและสมาร์ทฟู้ดเชน และหัวข้อการแนะนำความพยายามในการใช้ประโยชน์ในการกระจายเครือข่ายสมาร์ทฟู้ดเชน
3.การอภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความคาดหวังในการพัฒนาสมาร์ทฟู้ดเชนในระดับนานาชาติ ผลกระทบจากระบบสมาร์ทฟู้ดเชน ไม่เพียงในแง่ของเศรษฐกิจและธุรกิจกระจายสินค้า แต่ยังรวมถึงมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 และประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยทางอาหารด้วย โดยผู้บรรยายมาจากตัวแทนผู้จัดงานสัมมนา ตัวแทนนักวิชาการ ผู้บรรยายรับเชิญจากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ดร. นพดล คีรีเพ็ชร นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ร่วมเป็นผู้บรรยายในงานครั้งนี้ด้วย
จุดมุ่งหมายหลักของการจัดสัมมนาดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมแพลตฟอร์มข้อมูล “WAGRI-dev” ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในโลก จะช่วยให้เกิดความเป็นไปได้ที่แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีความใกล้ชิดกับการเกษตรแบบสมาร์ทของญี่ปุ่น จะได้ใช้ประโยชน์จากสมาร์ทฟู้ดเชนในการพัฒนาการเกษตรนวัตกรรมใหม่ในประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียต่อไป
ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ เว็บไซต์ https://www.wagri.world/symposium/