“สหกรณ์แก้วเกษตร” เผย เคล็ดลับดึงลูกหลานกลับบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน แนะปลูกผักอินทรีย์ 100% ตอบโจทย์สายรักสุขภาพ

นางจรรยา อินทะนิน ผู้จัดการสหกรณ์แก้วเกษตร จำกัด จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า การทำเกษตรจะปลูกผักอินทรีย์ 100% ตามแนวทางของสหกรณ์ฯ ว่า ต้องมีใจรักสุขภาพ ต้องเข้าไปอบรมทุกขั้นตอนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากสหกรณ์จังหวัด จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมไปถึงการได้รับการส่งเสริมจากนโยบายของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. เกษตรและสหกรณ์ ที่เมล็ดพันธุ์ต้องรู้ที่มา โดยทางกรมวิชาการเกษตรได้เข้ามาแนะนำและช่วยตรวจสอบด้วย

 

สำหรับ สหกรณ์แก้วเกษตร จำกัด จังหวัดนครปฐม มีภารกิจ สนับสนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์เเละจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบสินค้าปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ที่ทำผักและผลไม้อินทรีย์ โดยมีการยืนยันการตรวจสอบ คือมีใบมาตรฐานออร์เเกนิกไทยเเลนด์เป็นเครื่องรับรอง ทางสหกรณ์ถึงจะรับซื้อสินค้านั้น ปัจจุบันมีลูกค้าเป็นห้างสรรพสินค้าโมเดิร์นเทรด โดยส่งไปกระจายสินค้าส่งท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มต้นดำเนินธุรกิจตั้งแต่ ปี 2561 แต่เมื่อ ปี 2563 ก็ได้รับผลกระทบกับโรคระบาดโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลง ที่นี่เน้นย้ำว่า ส่งเสริมให้ปลูกพืชผักและผลไม้อินทรีย์ ถ้าไม่มีเกษตรกรก็จะไม่มีผลผลิตที่ดี และที่สำคัญผลผลิตทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่คัดกรองอย่างรัดกุม เพื่อเป็นอินทรีย์ 100%

ขณะที่ นางอนงค์ ภักดี เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ 100% เปิดเผยว่า การปลูกผักอินทรีย์จึงต้องทำด้วยใจรัก และในอนาคตจะพาลูกหลานกลับบ้านเพื่อมาสืบทอดการเป็นเกษตรกร ปัจจุบันผักอินทรีย์ถ้าปลูกดีและดูแลเป็นอย่างดีจะมีรายได้ดี อย่างเกษตรกรบางคน ปลูกสระแหน่ ราคากิโลกรัมละ 80 บาท เลยทีเดียว สอดคล้องกับ นายสมชาติ ฐิติสรวงเกษม เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ 100% ยืนยันว่าสร้างรายได้และดีต่อสุขภาพทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค

Advertisement

 

Advertisement

ด้าน นางปารณีย์ ลมกิ่ง สหกรณ์จังหวัดนครปฐม กล่าวว่า สหกรณ์แก้วเกษตร จำกัด ได้รับการดูแลและการแนะนำถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ที่สำคัญที่สุดได้รับการเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครปฐมอย่างดีเยี่ยม มีการเข้าตรวจเยี่ยม แนะนำการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์แก้วเกษตร จำกัด ให้พัฒนา และรับรู้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์เพื่อนำไปแก้ไขและต่อยอดเกิดการสร้างรายได้ และนำผลผลิตสู่ผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพ