ถอดรหัสความสำเร็จของเกษตรกร นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 26

ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 26 โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักโครงการและจัดการความรู้ (OKMD) มูลนิธิธรรมดี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมศึกษาโมเดลความสำเร็จของเกษตรกร ที่สร้างตัวอย่างอย่างยั่งยืน ณ โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พิธีมอบหนังสือมรดกให้แห่งแผ่นดินให้กับ ผอ.โรงเรียนบ้านเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี

หนึ่งตัวอย่างโมเดลความสำเร็จสู่การเป็นเศรษฐีอย่างยั่งยืนของไร่นาสวนผสมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของ คุณชรินทร์ กลั่นแฮม เกษตรกรที่ยึดหลักการพัฒนาตามแนวทางของโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการบูรณาการของภูมิปัญญาชาวบ้านกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาที่ดินทำกินให้มีความอุดมสมบูรณ์จนมีความเหมาะสมสำหรับการเกษตร ชรินทร์เล่าให้ฟังว่า “เรา ปลูกพืชทุกชนิดที่กิน กินพืชทุกชนิดที่ปลูก เหลือก็นำออกขาย บนพื้นที่ 8 ไร่สามารถปลูกไม้ผลนานาชนิดให้อยู่ด้วยกัน ทั้งมะม่วง มะละกอ ขนุน ชมพู่ ลำไย พืชผักสวนครัว และอื่นๆ แต่ที่ทำรายได้อย่างต่อเนื่องคือ ฝรั่ง ที่มีผลผลิตออกทั้งปี โดยทุกๆ 10 วันสามารถเก็บเกี่ยวผลฝรั่งได้ 3 ตัน หรือ 3,000 กิโลกรัม ส่งตลาดในราคาขายส่งได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาท คำนวณคร่าวๆ เฉพาะผลไม้ฝรั่งทำรายได้ให้เป็นแสนต่อเดือน หลักคิดอีกเรื่องที่คุณชรินทร์ให้คำแนะนำคือ อย่านำรายได้ที่เราได้มาใช้ทั้งหมด เราต้องเก็บออมไว้ ส่วนหนึ่งก่อนค่อยใช้เงิน”

คุณวิชชุดา ไตรธรรม ร่วมปลูกต้นมะลิ ณ ศูนย์บริการการพัฒนาสวนไม้ดอกไม้หอมไทย มูลนิธิชัยพัฒนา

นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความภาคภูมิใจในการทำโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา เป็นบทพิสูจน์ของหลักการ “ทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น” ที่สร้างความเป็นเศรษฐีได้อย่างยั่งยืน และทำให้ทุกคนเห็นภาพความเชื่อมโยงในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อของสหประชาชาติ UNSDG 2030

หลักการพัฒนาตามแนวทางของโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 27 เตรียมลงพื้นที่ ในโครงการพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2566 ณ โครงการอุทยานการอาชีพ ชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม หน่วยงานหรือองค์กรที่สนใจร่วมเรียนรู้นวัตกรรมศาสตร์พระราชา สามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิธรรมดี เว็บไซต์ http://www.do-d-foundation.com ตามรอยพระราชา – The King’s Journey Facebook : มูลนิธิธรรมดี และ LINE Official : @dfoundation