เปิดเคล็บลับการปลูกโกโก้ ทำได้ง่ายๆ ไม่ยากอย่างที่คิด !

     “โกโก้” พืชเศรษฐกิจเขตร้อน ที่มักปรากฏตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของเราในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ของหวาน หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคก็สามารถพบเจอส่วนผสมของโกโก้ได้ทั้งสิ้น โดยของแปรรูปที่ทำจากโกโก้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็เห็นจะหนีไม่พ้นนมหวานแสนอร่อยอย่าง “ช็อกโกแลต” อันเป็นที่โปรดปรานของใครหลายต่อหลายคน ซึ่งโดยมากเรามักจะคิดว่าช็อกโกแลตต้องมาจากต่างประเทศเท่านั้นจึงจะเป็นโกโก้ที่ดี แต่แท้จริงแล้ว โกโก้ที่มาจากประเทศไทยเองก็มีดีไม่แพ้โกโก้จากประเทศอื่นๆ เลย และไม่ว่าใครก็สามารถปลูกโกโก้ในพื้นที่ของตัวเองได้ ! วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูวิธีและขั้นตอนการปลูกโกโก้อย่างง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น 

การปลูกโกโก้ 

     สำหรับผู้ปลูกโกโก้เบื้องต้น จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในประเทศไทยมีพันธุ์โกโก้ที่ปลูกเพื่อแปรรูปอยู่ 3 ชนิด คือ พันธุ์ชุมพร พันธุ์ IM1 และพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ผ่านการตอน ติดตา ทาบกิ่ง และการเพาะเมล็ด โดยแบ่งลักษณะการปลูกออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 

  1. การปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว 

สำหรับการปลูกโกโก้ในลักษณะของพืชเชิงเดี่ยว ควรปลูกในระยะห่าง 3×3 หรือ 3×4 เมตร และหากเลือกปลูกในที่โล่งแจ้ง ควรคลุมด้วยซาแรน เพื่อให้ต้นโกโก้ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม และแสงแดดได้ดี 

  1. การปลูกเป็นพืชแซมคู่กับพืชอื่นๆ ควรปลูกห่างจากโคนของพืชหลักในไร่อย่างน้อย 2 เมตร และควรเว้นระยะห่างระหว่างต้นโกโก้ไม่น้อยกว่า 3 เมตร 

    โดยในการปลูกโกโก้ทั้งสองแบบ ควรปลูกในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร เพราะหากเป็นพื้นที่อื่น อุณหภูมิต่ำซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการออกดอกและติดผลของต้นโกโก้

การดูแลโกโก้ 

Advertisement

แสงแดด ในช่วงที่โกโก้ต้นเล็ก ทนแสงแดดได้ถึง 30% ในระยะที่ต้นเล็กจึงควรให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต้องมีพื้นอื่นๆ ช่วยในการพรางแสงหรือคอยให้ร่มเงากับต้นโกโก้จนกว่าต้นโกโก้จะสามารถทนต่อแดดจัดได้ จึงค่อยให้ต้นโกโก้ออกแสงแดด แต่หากเป็นโกโก้ที่ปลูกแซมกับพืชอื่นๆ มีข้อควรระวังคือ ต้นโกโก้อาจไม่ได้รับแสงอย่างเพียงพอเมื่อต้นเริ่มโต ซึ่งมักจะทำให้การปลูกโกโก้แซมกับพืชอื่นๆ ได้ผลผลิตน้อยกว่าการปลูกโกโก้แบบเชิงเดี่ยว

Advertisement

น้ำ เนื่องจากต้นโกโก้เป็นพืชในเขตร้อนชื้น จึงต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกโกโก้จึงควรมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอหรือมีแหล่งน้ำที่สามารถให้น้ำแก่ต้นโกโก้ได้เพียงพอตลอดทั้งปี แต่เนื่องจากระบบรากของต้นโกโก้เป็นแบบกระจาย ไม่ลงลึก ในช่วงฤดูฝนจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากหากมีฝนตกติดต่อกันหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ต้นโกโก้อาจเอนตัวหรือล้มได้ และหากต้นเกิดล้ม ควรรีบพยุงต้นขึ้นเพื่อป้องกันรากขาดและบรรเทาการกระทบกระเทือนที่อาจเกิดกับรากของต้นโกโก้ 

การให้ปุ๋ย 

     โดยปกติแล้วต้นโกโก้จะโตเร็ว จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ นัก วิธีการใส่ปุ๋ยจึงเป็นการใส่ในอัตราส่วนที่ต้นโกโก้ต้องการ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ 

  1. ต้นโกโก้เล็ก ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อปี ใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีเรโช (fertilizer ratio) 2 : 1 : 1 เช่น 15-5-5 หรือ 16-8-8 ในจำนวน 40-100 กรัมต่อต้นต่อปี 
  2. ต้นโกโก้ที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อปี ร่วมกับปุ๋ยเคมี 2 : 1 : 3 เช่น 15-5-15, 15-5-20 หรือ 15-15-15 ในอัตราส่วน 100 กรัมต่อต้นต่อปี และควรแบ่งใส่ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน 

โรคและแมลง

เนื่องจากต้นโกโก้ไม่ค่อยมีแมลงหรือศัตรูพืชมาก่อกวนนัก แต่ก็ยังพบหนอนเจาะต้นและกระรอกที่คอยเข้ามากินผลห่ามของโกโก้อยู่มาก จึงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ควรมีการสอดส่องร่วมด้วย 

ในขณะที่โรคที่มักพบในโกโก้คือ โรคผลเน่า โรคใบแห้ง โรคไหม้ และแอนแทรกโนส ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการนำผลที่ติดโรคไปเผาทิ้ง และตัดแต่งกิ่งให้มีความโล่งโปร่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://npkthailand.com/knowledge/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%A1 

https://www.baanlaesuan.com/322631/garden-farm/cocora_cacao_farm