เผยแพร่ |
---|
ในยุคปัจจุบันนี้ โลกของเรากำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การหางานใหม่ๆ หรือการค้นหา Thai Job ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล กลายมาเป็นเนื้องานสิ่งสำคัญ ที่สามารถจะพลิกโฉมวงการเกษตรกรรมได้อย่างน่าสนใจ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตร ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เกษตรกรไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยให้เกษตรกรไทยปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นผลพลอยได้จากการเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างผลผลิต และการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และพื้นที่สูงที่การเข้าถึงเทคโนโลยีอาจจะเป็นเรื่องยากและมีความท้าทาย การเปลี่ยนแปลงนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรกรไทย และยังช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทยในโลกดิจิทัลอีกด้วย
เทคโนโลยีที่จะนำพาเกษตรกรสู่โลกดิจิทัล
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในทุกภาคส่วน รวมไปถึงภาคการเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของเศรษฐกิจไทย เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ได้เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หรือการทำตลาดของเกษตรกร ไม่เพียงแค่ช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรไทย ด้วยการสนับสนุนของเทคโนโลยีในโลกดิจิทัล เกษตรกรไทยจึงจะสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ ไม่เพียงเพื่อความอยู่รอดในยุคที่มีการแข่งขันสูง แต่เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และความยั่งยืนในอนาคตเกษตรกรได้ในระยะยาว การนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคเกษตรมีหลากหลายทางเลือกที่สามารถปรับใช้งานได้จริง อาทิ
• การเกษตรที่แม่นยำ (Precision Agriculture) คือ การใช้เซ็นเซอร์ และระบบ GPS เพื่อตรวจสอบหาสภาพดิน และการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำในการใช้ปุ๋ยและน้ำที่ถูกต้อง
• ระบบ IoT (Internet of Things) คือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามสภาพอากาศ เซ็นเซอร์ตรวจสอบคุณสมบัติของดิน หรือตรวจสอบความชื้นของดินแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์พกพา เพื่อช่วยวางแผนเพาะปลูกพื้น และช่วยคำนวณปริมาณน้ำในพื้นดิน
• AI และ Big Data คือ ระบบปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถจะวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บเกี่ยว อาทิ สภาพอากาศ ราคาซื้อขาย และตลาดการค้าสินค้าเกษตร เพื่อจะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจในการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่เกษตรกรบนพื้นที่สูง ทำได้อย่างไรบ้าง
การที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่เกษตรกรบนพื้นที่สูงถือเป็นเรื่องที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก แต่กลับกลายเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่สูงและพื้นที่ห่างไกล โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางที่สำคัญมีดังนี้
• การเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ การนำเทคโนโลยีแอปพลิเคชันมือถือใช้เพื่อการเกษตร ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้แอปพลิเคชันที่ให้คำแนะนำการเพาะปลูก ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลา และโรคที่เกี่ยวกับพืช อาทิ แอปพลิเคชัน Agri-Map หรือแอปสภาพอากาศแบบเรียลไทม์
• การใช้เซ็นเซอร์และ IoT (Internet of Things) คือ การใช้เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน อุณหภูมิ และระดับน้ำ เพื่อช่วยเกษตรกรบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างแม่นยำ หรือการใช้เซ็นเซอร์ตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อช่วยเกษตรคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า
• การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจและวางแผนพื้นที่การเพาะปลูก คือ การใช้โดรนสำรวจพื้นที่ ถ่ายภาพ เพื่อวิเคราะห์ความลาดชัน ดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อวางแผนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะในสภาพพื้นที่นั้นๆ
• การตลาดดิจิทัลและการค้าออนไลน์ คือ การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อขายผลผลิตทางการเกษตรโดยตรงถึงผู้บริโภค และยังส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรในท้องถิ่นนั้นเอง
การนำมาซึ่งผลผลิต
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ในหลากหลายด้าน โดยการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การวางแผนเพาะปลูก การจัดการทรัพยากร การดูแลรักษาพืชผล จนถึงการเก็บเกี่ยว และการกระจายสินค้า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความสูญเสียในการผลิต และช่วยให้กระบวนการเกษตรกรมีความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มผลผลิต มีดังนี้
• การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศและดิน คือ การใช้เซ็นเซอร์ IoT เพื่อประเมินความพร้อมของคุณภาพดิน น้ำ อุณหภูมิ ความชื้น และระดับสารอาหารในพื้นดิน ซึ่งจะช่วยเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่และช่วงเวลาการเพาะปลูก ลดการสูญเสียจากการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
• การพยากรณ์สภาพอากาศ คือ ใช้ AI หรือข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า เกษตรกรจึงสามารถวางแผนเพาะปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล โดยลดผลกระทบการสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ
• การดูแลพืชผลด้วยเทคโนโลยี คือ การใช้โดรนตรวจสอบพื้นที่การเกษตร ซึ่งโดรนสามารถตรวจจับสุขภาพพืช เช่น โรคของพืช ศัตรูพืช หรือการขาดน้ำได้จากภาพถ่าย เพื่อช่วยให้เกษตรกรแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
• การติดตามการเจริญเติบโตของพืช คือ การใช้แอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ในพื้นที่ เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตาม และปรับการดูแลพืชแบบเรียลไทม์
ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเกษตรกรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในชีวิตจะเห็นยอดขายที่เพิ่มได้ชัดในหลายด้าน อาทิ
1. การเพิ่มช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ คือ การลงสินค้าเกษตรในแพลตฟอร์ม E-commerce หรือ Social commerce เพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น และยังช่วยโปรโมตสินค้าเกษตร หรือสินค้าชุมชนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
2. การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือ Niche Market การขายสินค้าเกษตรเฉพาะทาง อาทิ ผักออร์แกนิก ผลไม้สด หรือผลไม้แปรรูป ผ่านตลาดออนไลน์ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด คือ การใช้ Big Data วิเคราะห์แนวโน้มตลาด เพื่อช่วยให้เกษตรกรทราบถึงข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมากขึ้น อาทิ พืชที่มีความต้องการสูง หรือฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการขาย
4. การขยายตลาดด้วยการขนส่งที่รวดเร็ว คือ การนำเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ในการติดตามสินค้าแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สินค้าเกษตรส่งถึงมือลูกค้าในสภาพสมบูรณ์และรวดเร็ว ทำให้เกิดยอดขายที่เพิ่มตามลำดับ
5. การตลาดแบบเรียวไทม์ หรือ Real-Time Marketing คือ การใช้สื่อออนไลน์ในการถ่ายสดขายสินค้าเกษตร บน Facebook หรือ TikTok เพื่อขายสินค้าเกษตรแบบเรียวไทม์ สร้างยอดขายได้ทันที
การทำงานที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป ด้วยโลกดิจิทัล
การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาคเกษตรสามารถช่วยลดการทำงานที่ไม่จำเป็นและเปิดโอกาสในการ หาพนักงาน ในรูปแบบใหม่ได้หลากหลายวิธี ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน อาทิ
• การใช้ระบบอัตโนมัติ คือ การติดตั้งระบบอัตโนมัติในการจ่ายน้ำ และการใส่ปุ๋ย ช่วยลดแรงงานในการดูแลพืช
• การกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชแบบอัตโนมัติ คือ การใช้โดรนพ่นยาฆ่าแมลงในเฉพาะจุดที่จำเป็น ลดความจำเป็นในการพ่นยาแบบครอบคลุมทั้งแปลง หรือใช้ระบบเตือนภัยศัตรูพืชด้วยเทคโนโลยี IoT แจ้งเตือนเมื่อพบศัตรูพืช ลดการทำงานด้วยการตรวจสอบศัตรูพืชด้วยตนเอง
• การใช้ระบบจัดการฟาร์มแบบดิจิทัล คือ การนำซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลการเพาะปลูก เช่น การวางแผนเก็บเกี่ยว การฉีดยา หรือการใช้ปุ๋ย ช่วยลดการทำเอกสารและบันทึกข้อมูลแบบเป็นระบบ
การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำให้เกษตรกรทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำงานหนักหรือลำบากในแบบเดิมอีกต่อไป พร้อมกับโอกาสในการเติบโตในตลาดโลกที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวันนี้