การจดทะเบียนสัตว์พาหนะ

สวัสดีคะ กลับมาพบกับคอลัมน์ มุมบริการ กันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้จะมานำเสนอเรื่อง การจดทะเบียนสัตว์พาหนะ หรือเราจะเรียกอีกอย่างว่า “การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์” ซึ่งเจ้าของสัตว์บางประเภทต้องนำสัตว์ที่อยู่ในครอบครองไปจดทะเบียนตั๋วรูปพรรณสัตว์ แล้วทำไมต้องจดทะเบียน จดที่ไหน อย่างไร มุมบริการจึงเสนอภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มาเผยแพร่ให้ท่านที่สนใจทั่วไปได้รับทราบข้อมูล

พ.ร.บ.ทะเบียนสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482 ได้ให้ความหมายของสัตว์พาหนะไว้ดังนี้

“สัตว์พาหนะ” หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำหรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ

“ตำหนิรูปพรรณ” หมายความว่า ลักษณะสัณฐานโดยเฉพาะของสัตว์พาหนะแต่ละตัวซึ่งเป็นอยู่เอง หรือ

ซึ่งทำให้มีขึ้นใช้เป็นเครื่องหมาย

“ตั๋วรูปพรรณ”- หมายความว่า เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ

การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ

Advertisement

(1) ช้างมีอายุย่างเข้าปีที่แปด

(2) สัตว์อื่นนอกจากโคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก

Advertisement

(3) สัตว์ใดได้ใช้ขับขี่ลากเข็นหรือใช้งานแล้ว

(4) สัตว์ใดที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร

(5) โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดก

ให้เจ้าของหรือตัวแทนพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านหรือพยาน นำสัตว์พาหนะไปจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อนายทะเบียนท้องที่ที่สัตว์นั้นอยู่เมื่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของสัตว์หรือตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้องเมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้วจึงจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณให้

การย้ายและจำหน่ายทะเบียน

การย้ายสัตว์พาหนะไปต่างอำเภอ นอกจากกรณีการเช่า เช่าซื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราว เจ้าของหรือตัวแทน ต้องนำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งความต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ ที่ย้ายไป ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่เรียกค่าธรรมเนียม แล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ

ถ้าสัตว์พาหนะตาย ให้เจ้าของหรือตัวแทนแจ้งความและส่งมอบตั๋วรูปพรรณสัตว์ที่ตายนั้นต่อนายทะเบียนท้องที่หรือกำนัน เพื่อจัดส่งต่อ

นายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบว่าสัตว์นั้นตาย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับสาระน่ารู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสัตว์พาหนะ อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่กำลังเลี้ยงสัตว์หรือมีความสนใจที่จะเลี้ยงสัตว์พาหนะประเภทดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน