เผยแพร่ |
---|
รัฐบาลได้ ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยฐานความรู้
ด้านการวิจัย และนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งหวังให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการ
การดำเนินงานทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับภาคประชาชนและความเข้มแข็งของชุมชน โดยมุ่งเน้นเสริมสร้างให้ เกิดพลังของชุมชน สู่การอยู่ดี กินดี มีอาชีพ มีรายได้ และมีความพอเพียง เป็นฐานพลังที่จะสร้างความยั่งยืนโดยการใช้องค์ความรู้ จากการวิจัยและนวัตกรรมเป็นต้นทุนทางเทคโนโลยีที่จะสร้างมูลค่า พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้ประชาชนและชุมชนมีรายได้สูงขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างพอเพียงและพอดีกับความต้องการของภาคประชาชนในแต่ละชุมชนอย่างเข้มแข็งได้ต่อไป ในการดำเนินงานเพื่อให้ เกิดการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาร่วมกับการใช้องค์ความรู้
จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับชุมชนและพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชนและชุมชนในด้านอาชีพ การอยู่ดีมีสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสร้างโอกาสในการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงร่วมกับกองทัพบก จัดกิจกรรมการขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ภายใต้ “โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และ วช : พอเพียงเพิ่มพลังชุมชน มั่นคงด้วยวิจัยและนวัตกรรม” วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ณ มณฑลทหารบกที่ 24 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ พลโท สมศักดิ์ สมรักษ์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารรบก เป็นประธาน เปิดงานร่วม และพลตรีชาญชัย เอมอ่อน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 24 กล่าวต้อนรับ เวลา 09.30 น.
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ วช. ได้นำกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง “การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และ ชีเคเคยู 12” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการฝึกอบรมเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เกษตรกรจะได้รับไก่พื้นเมืองพันธุ์ ประดู่หางดำ มข. 55 หรือไก่พื้นเมืองพันธุ์ ชีเคเคยู 12 ซึ่งเป็นนวัตกรรมของศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ พร้อม ด้วยคู่มือการเลี้ยง และอาหารไก่พื้นเมืองในระยะเริ่มต้น เกษตรกรที่ได้รับปัจจัยการผลิตหลังจากฝึกอบรมผ่านไปแล้ว ต้องดูแลเลี้ยงดูไก่ดังกล่าวตามคำแนะนำ และการฝึกอบรมเป็นอย่างดี โดยเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่จะประกอบ ด้วย 1) การผสมพันธุ์ การเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 2) การฟักไข่โดยวิธีธรรมชาติหรือฟักไข่โดยแม่ไก่ การฟักไข่โดยใช้เครื่องฟัก 3) การจัดการเลี้ยงดู ได้แก่ การกกลูกไก่ อาหารและการให้อาหาร การให้วัคซีน และ 4) โรงเรือนไก่พื้นเมืองหรือเล้าไก่พื้นเมือง โดยมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมการอบรมกว่า 100 คน