ยุวเกษตรกรดีเด่น โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย สร้าง 8 ฐานการเรียนรู้

กลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย เลขที่ 2 หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำเลา อำเภอร้­องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียนเกือบ 200 คน จัดการเรียนการสอน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนตั้งอยู่กลางชุมชน ซึ่งคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนทำนา ทำสวน ปลูกผัก แต่ปัญหาที่พบคือ เยาวชนไทยในปัจจุบันไม่สนใจในอาชีพเกษตรกรรม เพราะมีทัศนคติที่ไม่ดี เห็นผู้ปกครองทำงานหนัก รายได้ไม่คุ้มค่าการลงทุน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอร้องกวาง สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ จึงหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดทิศทางการเพิ่มความรู้ในเชิงเกษตรให้กับนักเรียน โดยจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้น เมื่อปี 2558

วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะของการเป็นเกษตรกรที่ดี มีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

ผลที่ได้ คือ ในปี 2562 ที่ผ่านมา โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ให้เป็นกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด อันดับที่ 1 ครูที่ปรึกษาและนักเรียนได้รับรางวัลสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด อันดับที่ 1 ด้วยเช่นกัน

กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย ได้­เข้­าร่วมอบรมโครงการของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งได้­ไปศึกษาดูงานกิจกรรมด้­านการเกษตร ทั้งการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ต่อมาเริ่มทดลองการปลูกผัก การเพาะเห็ดนางฟ้า จนปัจจุบันแบ่งเป็น 8 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่ การปลูกผักปลอดสารพิษ ธนาคารจุลินทรีย์ การขยายพันธุ์พืช การปลูกกล้­วย และการแปรรูปอาหาร กิจกรรมต่างๆ ของฐานเรียนรู้เป็นกิจกรรมสร้­างสรรค์ ดังนี้

– การเลี้ยงปลา ปลาที่เลี้ยงคือ ปลาดุก โดยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ น้ำในบ่อเลี้ยงส่งกลิ่นเหม็น จำเป็นต้­องล้างบ่อเพื่อเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ กลุ่มยุวเกษตรกร แก้ปัญหาโดยใส่น้ำหมักชีวภาพซึ่งได้­จากฐานธนาคารจุลินทรีย์ใส่ลงในน้ำเพื่อแก้­ปัญหา และให้­อาหารปลาอย่างพอดี ไม่ให้­เหลือซึ่งเป็นเหตุทำให้­น้ำเน่าเสีย

– การเลี้ยงกบ กบที่เลี้ยงคือ กบนา และกบบูลฟร็อก พบปัญหาเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลาดุก ดังนั้น จึงใช้วิธีแก้เช่นเดียวกัน และทำบ่อทรายสำหรับปล่อยน้ำเสียซึ่งไม่ทำให้­ดินเกิดมลพิษได้

– การเลี้ยงไก่ ไก่ที่เลี้ยงเป็นไก่ไข่และไก่เนื้อ ซึ่งไก่กินอาหารมาก และอาหารไก่มีราคาสูง กลุ่มยุวเกษตรกรได้­นำเศษอาหารจากโครงการอาหารกลางวันนักเรียนมาเลี้ยงไก่ และนำหยวกกล้วยจากฐานการปลูกกล้วยมาเป็นอาหารเสริมสำหรับไก่ ทำให้­ประหยัดค่าอาหารไก่ได้

– การปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มยุวเกษตรกรได้ดำเนินกิจกรรมการปลูกผักกางมุ้ง ที่ไม่ต้องใช้­สารเคมีในการฆ่าแมลง ทำให้­ผักเป็นที่ต้องการของตลาด

– ธนาคารจุลินทรีย์ เป็นกิจกรรมที่เกษตรกรในชุมชนชื่นชอบ มีการแจกจ่ายและจำหน่ายในราคาถูก เป็นการลดสารพิษต่างๆ ที่มี ทำให้­สุขภาพดีขึ้น

กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้­านไผ่ย้­อย ได้­เข้­ารับการอบรม การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้­วนำความรู้­ที่ได้­มาฝึกปฏิบัติโดยใช้­แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำอย่างมั่นใจ ไม่ประมาท ค่อยเป็นค่อยไป ลดต้นทุนและพึ่งพาตนเองได้ มีเหตุมีผล มีความพยายามในการปฏิบัติตนให้­อยู่ในสายกลาง และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

  1. ฐานเรียนรูการเลี้ยงปลา (Fish Farming Center

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย มีลำห้วยแม่กำปองไหลผ่าน โรงเรียนได้­มีการนำน้ำในลำห้วยมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ รดสนามหญ้าให้­เขียวตลอด ใช้รดพืชผักในสวนเกษตร และสำหรับใส่ในท่อเพื่อเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์และบ่อพลาสติก โดยครั้งแรกโรงเรียนได้­รับอนุเคราะห์พันธุ์ปลาจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้­วยฮ่องไคร้­อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 500 ตัว จึงมีการเลี้ยงปลาดุกต่อเนื่องกันมาทุกๆ ปี นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการดูแลปลา การเปลี่ยนน้ำทำความสะอาดบ่อปลา การให้อาหารปลา และการจำหน่าย ได้ใช้­เวลาว่างให้­เกิดประโยชน์มีประสบการณ์ตรง สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้­ในชีวิตประจำวันได้

  1. ฐานเรียนรู้การเลี้ยงกบ (Frog Farming Center)

สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้­เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำ สูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้­บริโภค กบนาตัวผู้­มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้­คางแถวมุมปาก ส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง

  1. ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่ (Chicken Farming Center)

ปี พ.ศ. 2560 โรงเรียนได้­ดำเนินการทดลองให้นักเรียนได้­เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ เพื่อให้­นักเรียนมีความรู้­เรื่องในการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และมีรายได้­ระหว่างเรียน โดยส่งจำหน่ายให้­กับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนผู้ปกครองและตลอดในชุมชนพร้­อมทั้งปลูกฝังให้­นักเรียนได้­มีความรับผิดชอบสร้­างประสบการณ์ และทักษะให้­แก่นักเรียนในระดับหนึ่ง พ.ศ.  2561 โรงเรียนได้­ริเริ่มโครงการทดลองและสาธิตการเลี้ยงไก่อย่างถาวร โดยรวมกับเกษตรอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ได้­มาให้­ความรู้­กลุ่มการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โดยมีคณะกรรมการดำเนินการในปี พ.ศ. 2560-2562 ดำเนินการเลี้ยงไก่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

  1. ฐานเรียนรู้การเพาะเห็ด (Mushroom Farming Center)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สนับสนุนให้­ผู้­สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้­อม สื่อการเรียนการสอนให้­นักเรียนเกิดการเรียนรู้­ ผู้­สอนและผู้­เรียนอาจเรียนรู้­ไปด้­วยกันจากสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้­นักเรียนได้­เรียนรู้­จากประสบการณ์จริง สามารถนำความรู้­ที่ได้­ไปใช้­ในชีวิตประจำวันได้ ­และสามารถนำผลผลิตไปจำหน่าย เพื่อนำเงินสนับสนุน โครงการอาหารกลางวันทำให้­นักเรียนมีอาหารที่มีประโยชน์รับประทาน

  1. ฐานเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ (Organic Vegetable Farming Center)

พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมา­รับประทานกันมาก เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้­เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้­องใช้­สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง ฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้­ได้­ผักที่สวยงามตามความต้­องการของตลาด เมื่อผู้­ซื้อนำมาบริโภคแล้­วอาจได้­รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้­างอยูในผักนั้นได้­ เพื่อเป็นการแก้­ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมาทำการปลูกผักปลอดจากสารพิษ โดยนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูหลายวิธีมาประยุกต์ใช้­รวมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้­สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรผู้­บริโภค และสิ่งแวดล้­อม

  1. ฐานเรียนรู้การขยายพันธุ์พืช (Plant Propagation Farming Center)

มีการระดมความคิดเห็นจาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู คณะกรรมการสภานักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ปราชญ์ชาวบ้­านภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรตำบลน้ำเลา เกษตรอำเภอร้­องกวาง ชุมชน นักเรียน เพื่อรวมกันขยายพันธุ์พืชด้­วยวิธีการต่างๆ นอกจากนี้ มีการจัดกิจกรรมฐานการเรียนการขยายพันธุ์พืช โดยการจัดให­เยาวชนเกษตรผู้­เข้­าร่วมโครงการเป็นผู้­ดำเนินการรับผิดชอบ นอกจากนี้ โรงเรียนได้­พยายามฝึกให้­นักเรียนได้­ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่างๆ

  1. ฐานเรียนรู้การปลูกกล้วย (Banana Farming Center)

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้สมัครเข้าร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ “สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน” และได้มีการปลูกพรรณพืชเพิ่มหลายชนิด รวมทั้งการปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วยแก่ผู้เรียน การฝึกทำอาหารจากกล้วย เช่น กล้วยบวชชี รวมถึงการแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ผู้เรียนได้เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ อีกทั้งกล้วยน้ำว้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และสามารถส่งเข้าฐานเรียนรู้เคหะกิจ หรือส่งเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนต่อไป โดยปลูกไว้ในบริเวณพื้นที่หลังอาคารอนุบาล และด้านข้างโรงยิม จำนวน 100 ต้น

ประโยชน์หลักและวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานการเรียนรู้การปลูกกล้วย

  1. เพื่อนำผลผลิตที่ได้จากการปลูกกล้วยน้ำว้า มาช่วยสนับสนุนอาหารกลางวันให้กับนักเรียนทุกคนในสถานศึกษาได้รับประทานอยางยั่งยืน โดยนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับประทานกล้­วยน้ำว้­าเป็นอาหารว่างกลางวัน
  2. นักเรียนได้­ศึกษาเรียนรู้­จากต้­นกล้­วย เช่น ทำขนมกล้วย ทำกล้­วยฉาบ ทำกล้­วยตาก ทำกล้­วยทอด เป็นต้­น
  1. นักเรียนได้­ใช้­ประโยชน์จากต้­นกล้­วยมาจัดทำกิจกรรมลอยกระทงจากต้­นกล้­วย และใบตอง
  2. นักเรียนใช้­ประโยชน์จากต้­นกล้­วยมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ของใช้­ต่างๆ
  3. การฝึกฝนการปลูก การดูแล และกิจกรรมการเกษตรอื่นๆ ในสวนกล้­วย
  4. สวนกล้­วยให้­ร่มเงา และความร่มรื่นในโรงเรียน
  5. ฐานเรียนรู้ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbial Bank Center)

ฐานนี้มีขึ้นเพื่อใช้­ในการบำบัดน้ำเสียในฐานเรียนรู้­การเลี้ยงปลา เพื่อช่วยในการกำจัดกลิ่นขยะมูลฝอยที่มีในโรงเรียน เพื่อใช้­ปรับสภาพดินในการเพาะปลูกผัก ของฐานเรียนรู้­การปลูกผักปลอดสารพิษ ให้นักเรียนมีทักษะและประสบการณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถนำประสบการณ์ไปใช้­ในการเผยแพร่ความรู้­ให้กับผู้­ปกครอง ตลอดจนคนในชุมชนของตนเอง นอกจากนี้ ยังนำผลผลิตที่ได้­แจกจ่ายให้กับผู้­ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนในเครือข่ายได้นำไปใช้­

8.ฐานเรียนรู้เคหะกิจเกษตร (Agricultural Housing Center)

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้­านไผ่ย้­อย ดำเนินงานด้­านเกษตรอย่างหลายรูปแบบ คือ

การจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม การจัดเป็นชุมนุม กลุ่มสนใจ ให้­นักเรียนเลือก จนกระทั่งพัฒนามาเป็นกลุ่มยุว

เกษตรกรในโรงเรียน ประกอบด้­วยฐานเรียนรู้ ­จำนวน 8 ฐาน ซึ่งในฐานที่ 1 ถึงฐานที่ 8 เป็นฐานเรียนรู้­เพื่อ

ผลิตอาหารและส่งเสริมด้­านการเกษตร ที่ต้­องอาศัยระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน รวมถึงการ

ถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร การสำรองอาหาร และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้­จากกิจกรรมของยุวเกษตรทั้ง 8 ฐานเรียนรู้­ ซึ่งนำมาสู่ฐานเรียนรู้­เคหกิจเกษตรให้­นักเรียนได้­ฝึกการปฏิบัติจริง เพื่อการบริโภคและส่งขายในร้­านค้­าสหกรณ์โรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนถึงการมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง ครบถ้­วน ตามหลักโภชนาการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกสถานการณ์