ธุรกิจสตาร์ทอัพ “คราฟต์ มิลค์” กินนมให้เป็นศิลปะ-รักษ์โลกไร้วัตถุดิบจากสัตว์

พาไปรู้จักกับบริษัทสตาร์ทอัพต่างแดนที่ชื่อว่า Perfect Day ซึ่งมากับคอนเซ็ปต์ขายไอเดียคนรุ่นใหม่ใส่ใจโลก มีความเป็นอิโค่รักษ์สิ่งแวดล้อมกับการผลิตน้ำนมโดยไม่ใช้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อันเกี่ยวเนื่องจากสัตว์ พร้อมกับการมุ่งไปที่เทรนด์สุขภาพ ด้วยการพยายามสร้างน้ำนมที่มีโภชนาการ ปลอดภัย และยั่งยืนมากกว่าฟาร์มปศุสัตว์ที่ด้านหนึ่งก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการพยายามขายไอเดียว่า น้ำนมคราฟต์ของเขาจะมีรสชาติไม่ต่างจากนมวัว

สำหรับ Perfect Day เป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกันอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งออกมาประกาศจะผลิตน้ำนมในกระบวนการปราณีตระดับที่เขาบอกว่า เหมือนการผลิตคราฟต์เบียร์ ซึ่งต้องการทำการตลาดผลิต คราฟต์ มิลค์ ออกมาให้ได้ในปลายปี 2017 นี้

โดยวิธีผลิตเขาอธิบายว่าใช้กรรมวิธีแบบทำมือทีละขั้นละตอนให้เหมือนการผลิตคราฟต์เบียร์ที่มีความปราณีตในรสชาติ โดยยืนยันว่าผลทดสอบออกมานั้นให้รสชาติไม่ต่างจากดื่มนมวัว โดยใช้ยีสต์จากนมธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการหล่อเลี้ยงทางวิทยาศาสตร์ และลงลึกระดับอีโค่ด้วยการหล่อเลี้ยงยีสต์นั้นด้วยน้ำตาล ซึ่งที่มาผ่านกระบวนการพลังงานทดแทนที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม

โดยทางผู้ผลิตระบุว่าน้ำนมแบบ คราฟต์ มิลค์ จะมีการเติมโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุให้ได้รับสารอาหารเช่นเดียวกับนมวัว

และตั้งใจว่าผลิตภัณฑ์นี้จะทำให้ใช้ได้ไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัวอาทิชีสโยเกิร์ตโกโก้ ไอศครีม และพิซซ่า

แนวคิดของสตาร์ทอัพรายนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2014 จากสองหนุ่มที่อยากจะแบ่งปันความชอบกินชีส แต่พวกเขาคิดว่าทุกวันนี้ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารจากนมที่เติบโตขึ้นล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบของสัตว์และเห็นว่าอยากจะมีทางเลือกใหม่ๆจึงได้นำไอเดียไปหารือกับทีมกับเชฟนักออกแบบอาหารนักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ในการสร้าง “อาหารที่ผลิตจากนม” โดยไม่ใช้วัตถุดิบจากสัตว์

ส่วนชื่อสตาร์ทอัพ Perfect Day นั้น มาจากนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ที่ค้นพบฟาร์มปศุสัตว์ และกำลังฟังดนตรีสบายอารมณ์เหมือนอย่างเพลงดัง Perfect Day ของศิลปินผู้ล่วงลับระดับตำนานลู รีด นั่นเอง

ขณะที่อ่านมาถึงตรงนี้แนวคิดผลิต คราฟต์ มิลค์ จะช่วยด้านสิ่งแวดล้อมแค่ไหน เขาแจกแจงว่า จะช่วยลดการใช้พลังงานได้ 65 % ลดการใช้พื้นที่ทำปศุสัตว์ได้ 91% ลดการปล่อยมลภาวะและช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกได้ 84% และลดการใช้น้ำ 98%

เหล่าบรรดานักคิดนักวิทย์เหล่านี้มีความฝันให้การผลิตน้ำนมสุดธรรมชาตินี้เข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกไม่เพียงแต่แค่วังวนในอุตสาหกรรมปศุสัตว์เท่านั้น

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์