3 ประสานจับมือหารือร่วมแนวทางพัฒนาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ จับมือบูรณาการหาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 – 2579 เน้นการเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ไม่น้อยกว่า 18% (OER ไม่น้อยกว่า 18%) และราคาจำหน่ายตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมกำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดปาล์มให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้าร่วมประชุมเพื่อบูรณาการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันขณะนี้ว่ายังมีปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ในโรงงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาผลผลิตปาล์มดิบของเกษตรกรลดลง ประกอบกับเกษตรกรตัดทะลายปาล์มที่ยังไม่สุกไปจำหน่าย ทำให้อัตราการสกัดปาล์มน้ำมันดิบต่ำ จึงได้เร่งหาแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเน้นเรื่องการกำหนดอัตราการสกัดขั้นต่ำของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้อยู่ที่ 18% และราคาที่โรงงานรับซื้อเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้พิจารณาแนวทางการกำหนดราคาวัตถุดิบ การกำกับควบคุมลานเท และการบริหารสต๊อกน้ำมันปาล์ม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและให้ราคาเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการส่งออกเพื่อระบายสต๊อกออกไป และจัดทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด

ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดทะลายปาล์มคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งกำหนดคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มตามที่เก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย ดังนี้ 1. ทะลายปาล์มต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ 2. เป็นทะลายปาล์มสุก (ripe bunch) ซึ่งผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์ม (mesocarp) มีสีส้ม มีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผลต่อทะลาย หรือทะลายปาล์มกึ่งสุก (underripe bunch) เป็นผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มแดงหรือสีแดงม่วง มีผลร่วงน้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย 3. มีความสด โดยไม่ผ่านการรดน้ำหรือมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือผลร่วง เช่น บ่มแก๊ส (ทะลายปาล์มน้ำมันจะคงความสดเมื่อขนส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเก็บเกี่ยว) 4. สะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ 5. ไม่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตผล และ 6. ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร รวมทั้งการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มสุกออกเป็น ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาเหตุที่ชาวสวนไม่เก็บเกี่ยวปาล์มสุก (ปาล์มไม่ได้คุณภาพ) เป็นเพราะเกษตรกรเจ้าของสวนไม่ได้ตัดปาล์มน้ำมันเอง หรือไม่ได้ควบคุมคุณภาพในการตัดของผู้รับเหมา รวมทั้งความเข้าใจในการเก็บเกี่ยวปาล์มสุกของแต่ละคนไม่ตรงกัน แนวทางแก้ไข คือ การส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันรวมกลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน สอดคล้องความต้องการของตลาด และเพิ่มศักยภาพการบริหารการจัดการ โดยในกลุ่มสินค้าปาล์มน้ำมัน ได้นำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันเลือกใช้ทีมตัดปาล์มน้ำมันของสมาชิกที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยจัดทีมตัดและให้จัดคิวให้กับสมาชิกในกลุ่มก่อน รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร/ทีมตัดปาล์มน้ำมันของบริษัท /ลานเท/ ทีมตัดปาล์มน้ำมันอิสระ โดยใช้แนวทางของมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) พร้อมทั้งแจ้งให้เกษตรกรชาวสวนขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจะได้ทราบข้อมูลจำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงให้การส่งเสริมในด้านต่างๆ ต่อไป

สำหรับวิธีจัดการปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพ ในการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ได้เน้นให้มีการนำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาใช้ ในการควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยให้จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่ม ตามแนวทางมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องมีการปฏิบัติตาม หากเกษตรกรรายใดไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีบทลงโทษตามข้อตกลงของแต่ละกลุ่ม การดำเนินการดังกล่าวจะได้รับความร่วมมือจากการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร ลานเท/โรงงานสกัด ในการคัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพส่งคืนเกษตรกร

***********************

อัจฉรา สุขสมบูรณ์/รายงาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ จับมือบูรณาการหาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 – 2579 เน้นการเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ไม่น้อยกว่า 18% (OER ไม่น้อยกว่า 18%) และราคาจำหน่ายตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมกำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดปาล์มให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้าร่วมประชุมเพื่อบูรณาการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันขณะนี้ว่ายังมีปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ในโรงงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาผลผลิตปาล์มดิบของเกษตรกรลดลง ประกอบกับเกษตรกรตัดทะลายปาล์มที่ยังไม่สุกไปจำหน่าย ทำให้อัตราการสกัดปาล์มน้ำมันดิบต่ำ จึงได้เร่งหาแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเน้นเรื่องการกำหนดอัตราการสกัดขั้นต่ำของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้อยู่ที่ 18% และราคาที่โรงงานรับซื้อเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้พิจารณาแนวทางการกำหนดราคาวัตถุดิบ การกำกับควบคุมลานเท และการบริหารสต๊อกน้ำมันปาล์ม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและให้ราคาเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการส่งออกเพื่อระบายสต๊อกออกไป และจัดทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด

ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดทะลายปาล์มคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งกำหนดคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มตามที่เก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย ดังนี้ 1. ทะลายปาล์มต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ 2. เป็นทะลายปาล์มสุก (ripe bunch) ซึ่งผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์ม (mesocarp) มีสีส้ม มีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผลต่อทะลาย หรือทะลายปาล์มกึ่งสุก (underripe bunch) เป็นผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มแดงหรือสีแดงม่วง มีผลร่วงน้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย 3. มีความสด โดยไม่ผ่านการรดน้ำหรือมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือผลร่วง เช่น บ่มแก๊ส (ทะลายปาล์มน้ำมันจะคงความสดเมื่อขนส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเก็บเกี่ยว) 4. สะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ 5. ไม่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตผล และ 6. ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร รวมทั้งการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มสุกออกเป็น ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง

 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาเหตุที่ชาวสวนไม่เก็บเกี่ยวปาล์มสุก (ปาล์มไม่ได้คุณภาพ) เป็นเพราะเกษตรกรเจ้าของสวนไม่ได้ตัดปาล์มน้ำมันเอง หรือไม่ได้ควบคุมคุณภาพในการตัดของผู้รับเหมา รวมทั้งความเข้าใจในการเก็บเกี่ยวปาล์มสุกของแต่ละคนไม่ตรงกัน แนวทางแก้ไข คือ การส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันรวมกลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน สอดคล้องความต้องการของตลาด และเพิ่มศักยภาพการบริหารการจัดการ โดยในกลุ่มสินค้าปาล์มน้ำมัน ได้นำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันเลือกใช้ทีมตัดปาล์มน้ำมันของสมาชิกที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยจัดทีมตัดและให้จัดคิวให้กับสมาชิกในกลุ่มก่อน รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร/ทีมตัดปาล์มน้ำมันของบริษัท /ลานเท/ ทีมตัดปาล์มน้ำมันอิสระ โดยใช้แนวทางของมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) พร้อมทั้งแจ้งให้เกษตรกรชาวสวนขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจะได้ทราบข้อมูลจำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงให้การส่งเสริมในด้านต่างๆ ต่อไป

สำหรับวิธีจัดการปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพ ในการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ได้เน้นให้มีการนำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาใช้ ในการควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยให้จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่ม ตามแนวทางมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องมีการปฏิบัติตาม หากเกษตรกรรายใดไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีบทลงโทษตามข้อตกลงของแต่ละกลุ่ม การดำเนินการดังกล่าวจะได้รับความร่วมมือจากการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร ลานเท/โรงงานสกัด ในการคัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพส่งคืนเกษตรกร

 

อัจฉรา สุขสมบูรณ์/รายงาน